ท่อ fiberglass กับการใช้งานในระบบดับเพลิง

0

ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานปิโตรเคมี โรงงานเคมี รวมถึงโรงกลั่นน้ำมัน เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ รวมถึงเหตุการณ์ระเบิดดังได้เห็นในข่าวต่างประเทศ แม้ว่าโรงงานจะป้องกันเหตุการณ์และอุบัติเหตุต่างๆไม่ให้เกิดขึ้น ตามมาตรฐานต่างๆแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า Human error (ความผิดพลาดของคนทำงาน) System error (ความผิดพลาดจากระบบรักษาความปลอดภัย) ก็ยังมีให้เห็นเรื่อยๆ ในต่างประเทศจะมีคำว่า “Hand of God” หรือมือพระเจ้า ถ้าในไทยอาจเรียกว่า ความซวย ก็ได้ ดังนั้น ถึงแม้จะมีระบบป้องกันการเกิด Case ต่างๆ ในโณงงานทุกโรงงานจะมีระบบที่เรียกว่า Emergency response เช่น Gas detector, Fire detector, Automatic water spray (Spray น้ำดับไฟอัตโนมัติ), Foam injection และอื่นๆอีกมากมาย และด่านสุดท้าย Fire water system (ระบบน้ำดับเพลิง)

วันนี้นายช่างจะพาไปลงลึกที่ระบบน้ำดับเพลิงและการเลือกใช้วัสดุ FRP กับระบบดับเพลิง

อุปกรณ์หลักของระบบน้ำดับเพลิง (Fire water system) 

  • แหล่งเก็บน้ำดับเพลิง ในแต่ละโรงงาน จะมีการออกแบบแหล่งเก็บน้ำดับเพลิงที่แตกต่างกัน เช่น เก็บน้ำดับเพลิงในอ่างขนาดใหญ่ (Fire water pond) อันนี้โรงงานจะขุดบ่อขนาดใหญ่ อาจเป็น Concrete หรือใช้ผ้าใบพิเศษคลุมลงบ่อไม่ให้ซึมลงดิน บางโรงงานพื้นที่น้อย ก็จะเก็บในถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ (Fire water tank) เป็นถังที่บรรจุน้ำดับเพลิงจำนวนมาก และมีการเติมน้ำเข้ามาเพื่อรักษาระดับตลอดเวลา
  • แหล่งน้ำที่เติม (Make up water) อันนี้คือน้ำที่มาเติม Fire water pond/Tank ในกรณี Level ลดลง เพื่อการันตีว่าน้ำจะไม่หมดขณะใช้งาน เพราะน้ำหมดระบบนี้จะไม่มีน้ำดับไฟนั่นเอง น้ำ Make up นี้ สามารถใช้จากภายในโรงงาน หรือ ซื้อเข้ามาเติมทางท่อส่งน้ำของโรงงานที่ขายน้ำให้
  • Fire water pump หรือบางที่เรียก Fire pump เป็นปั๊มที่สูบน้ำจากแหล่งเก็บน้ำดับเพลิงเข้าท่อเฮดเดอร์หลัก แล้วแบ่งย่อยไปทั่วโรงงาน จะเป็นปั๊มที่มีขนาดใหญ่ มีความเสถียรมาก (Reliability สูง) บริษัทประกันโรงงานชอบมาตรวจ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากๆ ถ้าปั๊มพังขนาดไฟไหม้ คือ ไม่มีน้ำดับเพลิงใช้ครับ 
  • ท่อน้ำดับเพลิง (Fire water pipe) อันนี้จะเป็นส่วนที่สังเกตุได้ง่ายจากโรงงาน คือท่อสีแดงที่วิ่งทั่วโรงงาน เป็นท่อที่ส่งน้ำดับเพลิงไปยังอุปกรณ์ดับเพลิง ไม่ว่าจะเป็น Spray หรือ หัวฉีดดับเพลิงทั่วโรงงาน (Hydrant nozzle) ดังนั้น ต้องมีการดูแลสม่ำเสมอ เพราะถ้าท่อแตกก็จะทำให้แรงดันน้ำตกได้

อุปกรณ์ดับเพลิง เช่น หัวฉีดดับเพลิง ระบบฉีดน้ำอัตโนมัติ และอื่นๆ

ระบบ Fire water system จาก Fire fighting curse  ของ AMJ engineering

วัสดุ FRP กับระบบดับเพลิง

ระบบดับเพลิงในโรงงานจะเป็นระบบที่ใช้น้ำดิบเป็นส่วนใหญ่ แร่ธาตุจะเยอะ และ แม้ว่าจะอัดน้ำเต็มตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน เช่น โรงงานซ้อมดับเพลิงแค่เดือนละครั้ง ดังนั้น น้ำที่อยู่นิ่งในท่อ(Stagnant) มีโอกาสเกิดการกัดกร่อนสูงมาก ซึ่งอุปกรณ์หลักของระบบดับเพลิง ได้แก่ ถังเก็บน้ำดับเพลิง (Fire Water Tank)  และ ท่อดับเพลิง มักจะใช้เป็น Carbon steel และทำการเคลือบ (lining) ด้วย Polymer (Vinyl ester และอื่นๆ) ซึ่งมีมาตรฐานของท่อน้ำดับเพลิง ทำให้สามารถใช้กับน้ำดับเพลิงได้ยาวนาน แต่สำหรับโรงงานอีกหลายโรงงานเลือกถออกแบบโดยการใช้วัสดุ FRP เป็นหลัก

ข้อดีของวัสดุ FRP เปรียบเทียบกับ Carbon steel with lining 

  • FRP สามารถทนกับปัญหา Corrosion ของน้ำดับเพลิงได้มากกว่า 
  • FRP มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่า Support ค้ำยัน มีต้นทุนตำกว่าใช้ เหล็ก Carbon steel ที่ Size เดียวกัน
  • FRP สามารถออกแบบให้ทนแรงดันสูงๆได้  
  • ถังน้ำดับเพลิงที่ทำจาก FRP ทนทานมากๆ น้ำหนักเบา ค่า Foundation จะต่ำกว่า 
  • การที่ FRP ไม่ Corrosion จึงทำให้ตะกรันเกิดขึ้นน้อยกว่าใช้ถังเหล็ก
naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่