มารู้จักกับ Fiberglass Air Duct หรือ ท่อลมที่ไม่ต้องหุ้มฉนวน (Non-insulated duct)

0
เทคโนโลยี Fiber Glass Air Duct ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ต้องหุ้มฉนวน
เทคโนโลยี Fiber Glass Air Duct ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ต้องหุ้มฉนวน

ในตึก อาคารพาณิชย์ ห้างขนาดใหญ่ โรงงานเก็บสารเคมีอันตราย ตึกควบคุมในโรงงาน หรือโรงพยาบาลต่างๆจะต้องใช้ระบบ H-VAC (Heating Ventilation and Air Conditioning ) คือระบบปรับอากาศใน Indoor ขนาดใหญ่ ซึ่งพี่ๆ น้องๆ สามารถเปิดอ่านความรู้ H-VAC อย่างละเอียดได้จากบทความของนายช่างเรื่อง HVAC ([ระบบ HVAC คืออะไร ? ] หลักการทำงาน และอุปกรณ์ต่างๆในระบบ – นายช่างมาแชร์ (naichangmashare.com)

วันนี้นายช่างจะพาไปลงลึกที่ระบบท่อลม Air duct ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบ H-VAC  (Air duct ซึ่งพวกเราอาจนึกถึงท่อสี่เหลี่ยมใหญ่ๆ ที่ในหนังชอบมุดคลานเข้าไป) ตามความจริงจะค่อนข้างสกปรกไม่ควรมุดมั่วนะครับ อาจถึงแก่ชีวิตได้

ระบบท่อลม หรือ Air duct

ในส่วนของท่อลม จะมีส่วนที่เป็น Air supply ถ้าเป็นประเทศอากาศหนาวจะผลิตเป็นลมร้อน แต่ถ้าเป็นประเทศไทย หรือเมืองร้อนจะผลิตเป็นลมเย็นส่งไปทั่วอาคาร เพื่อป้องกันการสูญเสียการแลกเปลี่ยนความร้อนของส่วนที่เป็นอากาศ ท่อ Air duct แบบเก่าที่เราเห็นมักจะมีฉนวนกันความร้อน (Insulation) อีกรอบนึงด้วยซึ่งเป็นชนิดใยหินเหมือนที่ใช้ในฝ้าบ้าน

สาเหตุที่ Air duct ที่ใช้ทั่วๆไปต้องหุ้มฉนวน คือ วัสดุที่ใช้ทำ Air duct จะใช้เหล็กกัลวาไนซ์ หรือ บางครั้งจะใช้เป็นโลหะอลูมิเนียม ซึ่งข้อดีคือเป็นโลหะน้ำหนักเบา แต่มีข้อเสียคือ มีค่าการนำความร้อนสูง (Heat conductivity) จึงมีการถ่ายเทความร้อนระหว่าง Air duct กับบรรยากาศภายนอก ทำให้ Air ที่ผลิตไม่สามารถทำความเย็นได้จึงต้องหุ้มฉนวนอีกที

ข้อจำกัดของระบบ Air duct ทั่วๆไปที่วัสดุเป็น Sheet Metal

  • ค่าติดตั้ง และค่าลงทุนสูง
  • ใช้เวลาติดตั้งนาน 
  • ในอนาคตเมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งฉนวนจะชื้น เนื่องจากความชื้นในอากาศ จะทำให้เกิดเชื้อราสะสมในระบบได้ ซึ่งจะจะมีค่าซ่อมบำรุงแฝงอีกมาก
  • น้ำและความชื้นจะทำให้ท่อ Air Duct เกิดการกัดกร่อน (Corrosion) ทำให้ท่อผุพังได้
  • การรื้อฉนวน จะทำให้ใยหินฟุ้ง และเป็นอันตรายต่อปอดคนรื้อได้

ดังนั้นทางนายช่างมาแชร์ขอสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ระหว่าง FRP Air Duct กับ ท่อ Sheet Metal Air duct แบบทั่วๆไปกันนะครับ

คุณสมบัติ FRP Air duct เทียบกับ Steel Air duct

“ปัจจุบัน มี Air duct รุ่นใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องหุ้มฉนวน เพราะตัววัสดุเป็นฉนวนในตัว (Non-insulated air duct)” 

เทคโนโลยีทางเลือก FRP Air Duct ไม่จำเป็นต้องหุ้มฉนวน

คุณสมบัติเด่นของวัสดุ FRP (Fiberglass Reinforced Plastic) มาจัดทำระบบ FRP Ducting system หรือ ระบบระบายอากาศเสีย (Air Ventilation System) คือ ระบบท่อที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการดูดกลิ่น ควันไอกรด ไอสารเคมี หรือ ก๊าซเสีย จากจุดกำเนิด โดยการใช้พัดลมดูดอากาศเสียออกไปผ่านท่อไฟเบอร์กลาส หรือผ่านทางปล่องอากาศ (FRP stack)  เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดแล้วปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดกับสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้อากาศภายในโรงงานมีความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน 

FRP Duct system สามารถออกแบบได้ทั้ง ทรงเหลี่ยม และ ทรงกลม (Filament Winding) หรือ ปรับรูปร่างไปตามสภาพหน้างาน (Custom -designed) มีสามารถทนต่อความกัดกร่อน (Corrosion) จากสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดหรือด่าง และสารเคมีได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน คุ้มค่าในการลงทุนเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ มีขนาดตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว จนถึงขนาด 40 นิ้ว หรือมากกว่า 

ด้วยจุดเด่น FRP Duct ในเรื่อง มีความทนทานต่อการสึกหรอความคงทนน้ำหนักเบาสามารถออกแบบในรูปแบบที่แตกต่างได้โดยใช้อุปกรณ์หลายๆชิ้นมาดัดแปลงเป็นชิ้นเดียวกันด้วยการทำแม่พิมพ์ (Mold) หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ได้ทุกรูปแบบ ดังนั้น FRP Duct นอกจากจะเหมาะกับ ระบบ HVAC แล้ว ยังเหมาะสำหรับการการออกแบบระบบบำบัดอากาศเสียใน ห้องแล๊บในโรงพยาบาล อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยา ห้องควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น 

=====================================

หากเพื่อนๆสนใจเทคโนโลยีของวัสดุ FRP Air Duct คุณภาพสูง ที่มีคุณสมบัติ ไม่ต้องหุ้มฉนวน ทนทาน ไม่จุกจิก และสามารถลดต้นทุนให้กับโรงงาน
สามารถติดต่อทาง GRE Composite Co.,Ltd ได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะครับ

=====================================

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่