ปั๊มและวาล์ว “โรงงาน” กับ “ที่บ้าน” เหมือนหรือต่าง?

0
Pump Valve EP.2 Home vs Industry grade FB Wallpaper
Pump Valve EP.2 Home vs Industry grade FB Wallpaper

ต่อจาก EP.1 ในเรื่องของ ทำความรู้จัก Pumps และ Valves ในอุตสาหกรรมกันเถอะ เรามาแนะนำหลักการทำงานเบื้องต้นของปั๊มและวาล์วกันแล้วนะครับ แต่เพื่อความเข้าใจมากขึ้น เด่วเราจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบ “ปั้มและวาล์วที่บ้าน กับ ที่โรงงานอุตสาหกรรม” แบบหมัดต่อหมัด กันนะครับว่าจะแตกต่างกัน และเหมือนกันอย่างไรบ้าง? ถ้าพร้อมแล้วไปรับชมกันนะครับผม.

(1) ปั๊มที่บ้าน VS ปั๊มโรงงาน

สำหรับปั๊มที่บ้าน หากเทียบกับปั๊มที่โรงงาน ผมขอยกตัวที่เป็นรุ่นยอดนิยมทั้งสองฝั่งเลยนะครับ ซึ่งทั้งสองตัวทั้งฝั่งบ้านและโรงงานจะทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าระบบเพื่อนำไปใช้งานเหมือนกันเป๊ะ โดยมีการควบคุมแรงดันให้คงที่เช่นกัน

  • ปั๊มที่บ้าน : Hitashi WM-P 150
  • ปั๊มโรงงาน : Goulds 3196 i-Frame

งั้นขอมาเล่ารายละเอียดแบบพื้นฐานกันก่อนนะครับ โดยเริ่มจาก

1. ปั๊มที่บ้านยอดนิยม Hitashi WM-P 150

โดยขอเล่า Spec คร่าวๆนะครับ Hitashi WM-P 150 เป็นปั๊มน้ำแบบอัตโนมัติแรงดันคงที่
– อัตราการไหล (Capacities) : 30 ลิตร/นาที (1.8 m3 /h)
– ความดัน (Head) : 30 เมตร
– อุณหภูมิ (Temperature) : อุณหภูมิทั่วไป
– กำลัง (Power) : 150 Watt
– ประเภทปั๊ม (Type) : Centrifugal
– ขนาด (Size) : 312 x 348 x 322 mm
– มีสวิตซ์อัตโนมัติ, ถังดูดซับแรงดัน, Water-Timing Deley
– ของไหลด้านใน (Process Liquid) : น้ำเท่านั้น

2. ปั๊มที่โรงงานยอดนิยม Goulds 3196

โดยขอเล่า Spec คร่าวๆนะครับ Hitashi WM-P 150 เป็นปั๊มน้ำแบบอัตโนมัติแรงดันคงที่
– อัตราการไหล (Capacities) : 1,590 m3 /h
– ความดัน (Head) : 223 เมตร
– อุณหภูมิ (Temperature) : 371 oC
– กำลัง (Power) : 2400 Watt (ขึ้นอยู่กับการ Design)
– ประเภทปั๊ม (Type) : Centrifugal
– ขนาด (Size) : 1,400 x 500 x 550 mm
– อุปกรณ์เสริมต้องติดตั้งเพิ่ม
– ของไหลด้านใน (Process Liquid) : สารเคมีตามมาตรฐาน ANSI Standard

*ขนาดและคุณสมบัติเป็นตัวเลขประมาณการเพื่อความเข้าใจง่ายเท่านั้น*

โดยหากเทียบขนาดจากของอัตราการไหลได้โดยคร่าวๆ คือปั้มโรงงานจะมีขนาดใหญ่กว่าปั๊มที่บ้านถึง 800 เท่า!!! ถ้านึกให้เห็นภาพคือ ปั๊มโรงงาน 1 ตัว จะเทียบเท่าปั๊มน้ำที่บ้าน 800 ตัว (อันนี้เปรียบเทียบคร่าวๆให้เห็นภาพนะครับ) และนอกเหนือจากนั้นความดันและอุณหภูมิที่ใช้จะสูงมากๆ ในทางกลับกันความอันตรายและความต้องการความแข็งแรงของปั๊มโรงงานก็มากกว่ามากๆเลยครับ และปั๊มโรงงานก็สามารถใช้กับสารเคมีต่างๆได้มากมายหลายชนิดตามมาตรฐานการออกแบบนั้นๆนะครับ

ดังนั้นการใช้งานที่มี Load หรือ ภาระของปั๊มโรงงานถือว่าสูงกว่าปั๊มที่บ้านมากๆเลยนะครับ ส่งผลให้การออกแบบทั้งในเรื่องของขนาดจึงมีความใหญ่มากๆ, และความหนาก็จะมีความหนาที่มากกว่ามากๆเลยนะครับ ส่วนเรื่องชนิดของปั๊มก็มีมากมาย หลายสิบๆแบบเลยครับซึ่งก็จะมีการออกแบบตามหลักของวิศวกรรม (Engineering) ที่น่าสนใจมากๆเลยนะครับ

หากสนใจชนิดต่างๆของปั๊มอุตสาหกรรมสามารถอ่านบทความ
Pump [EP.9] – OVERHUNG PUMP ปั้มพิมพ์นิยมใช้มากที่สุดในโลก
Pump [EP.10] : ปั๊มแบบปริมาตรแทนที่ Positive Displacement Pump

(2) วาล์วที่บ้าน VS วาล์วโรงงาน

สำหรับวาล์วทางนายช่างขอยกตัวอย่างวาล์วเปิด-ปิด ละกันนะครับ (โดยวาล์วบางประเภทสามารถเปิด-ปิด ได้อย่างเดียวนะครับ หากนำไปหรี่ หรือนำไปควบคุมอัตราการไหล จะทำให้เกิดความเสียหายได้ครับผม) โดยขอเปรียบเทียบไซด์ท่อมาตราฐานที่นิยมออกแบบในโรงงานละกันนะครับ

  • โดยวาล์วน้ำที่บ้าน ขนาด 1/2 นิ้วนะครับ, ใช้เปิด-ปิด น้ำเท่านั้น ,ชนิด Ball Valve ขนาด 11.00 cm L x 5.00 cm, น้ำหนัก 0.25kg, อัตราการไหล 1.5 GPM
  • สำหรับวาล์ว ขนาด 16 นิ้ว คลาส 150 นะครับ ใช้เปิด-ปิด ของไหลตามมาตรฐานเท่านั้น ชนิด Gate Valve, ขนาด 174.00 cm L x 40.6 cm, น้ำหนัก 456 kg , อัตราการไหล 6,600 GPM

สำหรับวาล์วบ้าน เมื่อเทียบวาล์วโรงงานจะเห็นได้ว่าตัวอัตราการไหลของวาล์วโรงงานมากกว่าวาล์วบ้านถึง 4,400 เท่า และความดัน อุณหภูมิที่สูงกว่ามากๆเลยนะครับ ถ้าเปรียบให้เห็นภาพอาจจะประมาณจักรยานกับรถถังละกันนะครับ ซึ่งแน่นอนว่าภาระการใช้งาน (Load) ของฝั่งวาล์วโรงงานจะเยอะมาก ดังนั้นการออกแบบจึงมีความหลากหลายและหลายประเภทมากๆเลยครับ

หากเพื่อนสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Basic of Valve [EP.01] : วาล์วประเภทต่างๆในอุตสาหกรรม

จบไปแล้วสำหรับ EP นี้นะครับ จะเห็นได้ว่าปั๊มและวาล์วในโรงงานอุตสาหกรรมมีความอลังการในการใช้งานมากกว่าวาล์วบ้านเยอะมากๆเลยนะครับ และสำหรับเพื่อนๆที่มีคำถามสามารถทักเข้ามาพูดคุยใน เพจนายช่างมาแชร์ ได้เลยนะครับผม

=======================================================================

เทคโนโลยีปั้มและวาล์วอุตสาหกรรมมีความสำคัญและเป็นหัวใจของการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว หากเพื่อนคนไหนสนใจ ไม่อยากให้พลาดกับงาน PUMPS AND VALVES ASIA 2023 (PVA) ครั้งที่ 24 เป็นงานสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืนผ่านอุตสาหกรรมสีเขียว” เป็นงานแสดงเฉพาะทางหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่รวมเทคโนโลยีด้านปั๊ม วาล์ว ท่อ และอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ จากบริษัทชั้นนำของโลก เป็นโซลูชันสำหรับการประหยัดพลังงาน การลดต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาที่สำคัญของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในหัวข้อ “ยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรมสีเขียวอย่างปลอดภัยและยั่งยืน” และพื้นที่บูธให้คำปรึกษาจากกรมโรงงานฯ เรื่องความปลอดภัยในโรงงานและการขอใบอนุญาตต่างๆ .งานจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน2566 ที่ ฮอลล์ 1-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เปิดลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ววันนี้! เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าชมงาน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pumpsandvalves-asia.com

PV_THW_23_Banner_Barter1450x180 (1)

=======================================================================

#นายช่างมาแชร์ #ปั๊ม #วาล์ว #PVA

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่