ทำความรู้จัก Pump และ Valve ในอุตสาหกรรมกันเถอะ

หากพูดถึงโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว การใช้งานหลักๆที่จะขาดไม่ได้ คือ การส่งถ่ายของไหล (Liquid Transfer) ไม่ว่าจะเป็น การส่งน้ำ, ไอน้ำ (Steam), น้ำยาเคมี (Chemical Process), น้ำมันและสารไฟไวไฟต่างๆ (Oil & Gas), หรือ พวกสารตั้งต้น หรือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆในโรงงานที่เป็นสถานะทั้งของเหลว​ (Liquid) และก๊าซ (Gas) เพื่อนๆรู้ไหมว่าอุปกรณ์ที่เป็นตัวหลักที่ใช้ในการควบคุมการส่งถ่าย นั่นคือ “ปั้มและวาล์ว” (Pump & Valve) นั่นเองคับผม ; ขอไม่นับรวมพวกงานท่อ Piping นะครับ

โดยในบทความนี้ทางนายช่างมาแชร์จะขอนำพาไปสู่โลกของปั้ม และวาล์วในอุตสาหกรรม กันครับว่าจะมีความอลังการและยิ่งใหญ่แค่ไหนกันครับผม

Pump และ Valve ในโรงงานอุตสาหกรรม

หากพูดถึงปั๊มและวาล์วในอุตสาหกรรมแล้ว จะมีมากมายหลากหลายรูปแบบ หลายวัสดุ และมาตรฐานมากๆเลยครับ โดยในฝั่งอุตสาหกรรมจะมี “ขนาดที่ใหญ่กว่าที่เราใช้ในบ้านมากๆเลยครับ” ซึ่งบางชิ้นนั้น “ใหญ่เท่าบ้านเรากันเลย” ทีเดียวเลยด้วยแหละครับ ก็ด้วยความที่โรงงานอุตสาหกรรมเค้าต้องการกำลังผลิตที่มากกว่าดังนั้นแล้ว อัตราการไหล (Flow rate), ความดัน (Pressure) หรือ อุณหภูมิ (Temperature) จะมากกว่าการใช้งานทั่วๆไป เป็น สิบๆร้อยๆ เท่าเลยครับ

Largest Pump and Valve Photos
ภาพตัวอย่างของ Pump และ Valve ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ Credited by pressurewashr.com, nasa.gov

ดังนั้นด้วยความเยอะของโรงงาน…จึงส่งผลให้ ความหนา และความใหญ่โตของอุปกรณ์พวกนี้จะมีความอลังการกว่าที่เราเคยเห็นที่บ้าน อาคาร หรือตามสวนแน่นอนครับผม

แต่ก่อนอื่นทางนายช่างขอมาเล่าถึงหน้าที่การทำงานของปั๊มและวาล์วกันก่อนนะครับ

Banner_SupremeServ_1532x329px_NEU

หน้าที่ของปั๊ม (Pump) ในโรงงานอุตสาหกรรม

โดยหน้าที่หลักของปั๊ม คือ “ส่งของไหลจากจุดๆหนึ่งไปยังอีกจุดๆหนึ่ง” ด้วยวิธีการควบคุมแรงดันและอัตราการไหลให้เหมาะสมนั้นเองครับ โดยขอให้นึกภาพว่าสมัยก่อนตอนไม่มีปั๊มถ้าเราจะเอาน้ำจากบนภูเขามาที่บ้านนั้น เราจะทำยังไงครับ ? คำตอบที่ง่ายที่สุดคงจะเป็นการนำน้ำใส่ถังและแบกไปถูกมั้ยครับ ถ้าปริมาณน้ำเยอะหน่อยก็ใช้คนเยอะ และถ้าไกลหน่อยก็เดินไกลและลำบากหน่อย ซึ่งนั่นแหละครับปั๊มคือทำหน้าที่แทนกลุ่มคนเหล่านั้นนั่นเอง ถ้าปริมาณน้ำเยอะหน่อยก็ใช้อัตราการไหลที่เยอะส่วนถ้าไกลหน่อยก็ต้องใช้แรงดันที่เยอะนั่นเองครับผม

โดยถ้าเป็นปั๊มอุตสาหกรรมก็จะมีมากมายหลายชนิดมากๆเลยนะครับ แต่จะขอแบ่งเป็นแบบปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) และปั๊มแบบลูกสูบ (Reciprocating Pump) นะครับ ซึ่งขนาดก็จะมีตั้งแต่ตัวเท่าลูกแมว จนไปถึงตัวเท่าห้องหนึ่งห้องกันเลยทีเดียวนะครับ

pump ep.1 wallpaper
ภาพตัวอย่างปั๊มในอุตสาหกรรม

หน้าที่ของวาล์ว (Valve) ในโรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับวาล์วหน้าที่ของวาล์วคือ “ควบคุมการไหลในการส่งถ่าย” ไม่ว่าจะเป็นท่อทางหรือดัก (Duct) แบบต่างๆนะครับ โดยการควบคุมก็จะมีตั้งแต่ ทิศทางการไหล (Direction), การเปิด-ปิด (On-Off, Shutoff), การควบคุมอัตราการไหล (Flow rate control), การควบคุมแรงดัน (Pressure Regulation) รวมถึงด้านความปลอดภัยต่างๆ จำพวก Safety Valve ด้วยนะครับ

แต่สำหรับพื้นฐานขอยกวาล์ว เปิด-ปิด และควบคุม อัตราการไหล ที่เหมือนก๊อกน้ำในอ่างล้างมือที่บ้านนะครับ เวลาเราเปิด-ปิด หรือ หรี่วาล์ว สำหรับ วาล์วอุตสาหกรรมก็จะทำงานแบบนั้นเช่นกัน

แต่ทว่าขนาดของวาล์วและวิธีการเปิดจะยิ่งใหญ่และใช้แรงเยอะกว่ามาก เนื่องจากอัตราการไหลมีปริมาณเยอะมากๆเลยนะครับ

วาล์ว อุตสาหกรรม Valve Industry
ภาพตัวอย่างของวาล์วในอุตสาหกรรม

สำหรับ EP.1 เรื่องปั๊มและวาล์วในอุตสาหกรรมก็จบเพียงเท่านี้นะครับ สำหรับตอนถัดไปจะพาเพื่อนๆไปดูการเปรียบเทียบระหว่าง ปั๊มวาล์วที่บ้าน และ ปั๊มวาล์ว ที่โรงงานว่าแตกต่างกันแค่ไหนและเพราะอะไรกันนะครับผม

Banner_SupremeServ_1532x329px_NEU

#นายช่างมาแชร์ #ปั๊ม #วาล์ว #PVA

นายช่างมาแชร์
นายช่างมาแชร์
ขอมาแชร์ความรู้ "งานช่าง เครื่องจักรกล และงานวิศวกรรม"ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

Related

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

228ผู้ติดตามติดตาม
1,580ผู้ติดตามติดตาม
356ผู้ติดตามติดตาม

Thanks Sponsor

Latest Articles

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ยินยอมใช้ Cookie สำหรับการติดตามการใช้งานเวปไซท์ นายช่างมาแชร์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหาและบริการ

บันทึกการตั้งค่า
×