ถ้าให้เรานึกภาพของปั้มตัวนึง เชื่อว่าทุกๆคน รวมถึงผมด้วย เราจะนึกถึง “ปั้มหอยโข่งเป็นอันดับแรก” แน่นอนครับ เพราะว่าเจ้าปั้มหอยโข่งเป็นปั้มที่มีการนิยมใช้กันมากที่สุดทั้งในภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเจ้าปั้มหอยโข่ง มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Centrifugal Pump” หรือ “ปั้มที่ใช้หลักการเหวี่ยงหนีศูนย์” โดยถ้าเอาตามหลักการ Centrifugal pump ยังถูกจำแนกได้อีกประมาณมากกว่า 10 ประเภทเลยครับ
แต่ประเภทที่เราคุ้นเคย และเห็นบ่อยๆเลยเนี่ย จริงๆเค้าจะชื่อ Overhung Pump (โอ-เวอร์-ฮัง-ปั้ม) หรือ แปลแบบตรงๆตัวคือ ปั้มแบบแขวน เพราะว่า ปั้มชนิดนี้ลักษณะการออกแบบจะเป็นคล้ายๆการแขวนชุด Rotor ไว้กับชุด Bearing ด้านเดียวนะครับ ซึ่งจะเป็นลักษณะตามภาพด้านล่างเลยนะครับ
การออกแบบและส่วนประกอบของ Overhung Pump
อย่างที่เกริ่นๆไว้ช่วงแรกครับ ด้วยการออกแบบในแง่ของความแข็งแรง (โดยที่องค์ประกอบในการออกแบบคือ แรงในการสั่นสะเทือน และความแข็งเกร็งในตัวอุปกรณ์) ที่มีภาระ (Load) ในการใช้งานไม่มากนะ สามารถที่จะออกแบบให้ตัวปั้มสามารถแขวนได้ฝั่งเดียว ซึ่งส่งผลให้การใช้วัสดุอุปกรณ์ลดลงครึ่งหนึ่งเลย
*ถ้าแขวนสองด้านจะของเปรียบเทียบกับแบบ Between Bearing ตัววัสดุก็แทบจะเพิ่มสองเท่าทั้ง mechanical seal และ bearing เป็นต้นครับ
ดังนั้น Configuration ของตัวปั้มจะเป็นดังรูปข้างล่างนะครับ จะมีส่วนประกอบดังนี้
- ใบพัดของปั้ม (Pump impeller)
- เสื้อปั้ม (Pump Casing)
- เพลา (Pump shaft)
- ชุดตลับลูกปืน ฝั่งเดียว (Bearing)
- แม็คแคนิคอลซีล (Mechanical Seal)
เหตุผลที่ Overhung pump ถูกใช้มากที่สุด
เหตุผลง่ายๆที่ปั้มชนิดนี้นิยมใช้มากที่สุดจะเป็นเรื่อง “ราคาที่ถูก” และ “ย่านการใช้ที่กว้าง” โดยเรามาเจาะทีละด้านกันนะครับ
- ราคาที่ถูกทั้งในแง่ตอนซื้อใหม่ และการดูแลรักษา (Low maintenance and project cost) – ด้วยการออกแบบด้วยการแขวนชุด Rotor ไว้บน Bearing ส่วนเดียวทำให้เวลาการซ่อม เราสามารถถอดชุด Rotor และทำการ slide ออกได้เลย และจำนวนชุด Bearing และ Mechanical Seal ก็จะมีอยู่แค่ด้านเดียวด้วยครับ ทำให้ราคาค่า part และค่าแรงจะถูกลง และในแง่ของจำนวน Material ที่ใช้ในการสร้างทั้งในส่วนของ impeller และ Casing ก็จะมีขนาดไม่ใหญ่มากครับ ทำให้ราคาออกมาไม่แพงด้วยครับ
- ย่านการใช้ที่กว้าง (High operating range) – ด้านการออกแบบในการเข้าแนวนอนและออกแนวตั้ง ทำให้ย่านการใช้งานของปั้มชนิดนี้จะครอบคลุม โซนกลางๆ ของ Head และ Flow และเป็นย่านที่เป็นที่นิยมในการนำปั้มเหล่านี้ไปใช้งานครับ หลายๆ project เวลาทำ EPC (Engineering Procurement and Construction) ปั้มชนิด overhung เรียกว่าแทบจะมีปริมาณ 90% ของงานนั้นๆเลยครับ
วีดีโอแสดงการทำงานของ Overhung Pump
เราลองมาดู animation แสดงหลักการทำงานด้านใน Overhung pump ด้านในกันนะครับ
บทความปั้มที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
Pump [EP.1] : ประวัติ และชนิดของปั้มแต่ละประเภท
Pump [EP.2] : Centrifugal pump หรือ ปั้มหอยโข่ง ฉบับพื้นฐาน
PUMP [EP.3] : Mechanical Seal อุปกรณ์กันรั่วที่สำคัญที่สุดในปั้มแบบหมุนเหวี่ยง
Pump [EP.4] : Flushing Piping Plan ของ Mechanical seal ในตัวปั้ม
Pump [EP.5] : หลักการทำงานของ Diaphragm pump (ชนิด API)
Pump [EP.6] : การ Recondition ของอุปกรณ์ Mechanical Seal
Pump [EP.7] : Vertical Sump Pump ปั้มชนิดจุ่มแบบครึ่งตัว
Pump [EP.8] : Rotary Screw Pump ปั้มเกลียวสกรูสำหรับของหนืด
โดยสรุปนี้ก็เป็นเหตุผลหลักๆที่ Overhung pump ถูกนิยมใช้มากที่สุดกันนะครับ รวมถึงด้านการออกแบบ และหลักการทำงานต่างๆของปั้มครับผม
แล้วพบกับสาระความรู้ทางด้านงานช่าง และงานวิศวกรรมได้ในโพสต์ถัดๆไปนะครับ หรือสามารถตามสื่อตามๆของเราด้านล่างเลยนะครับ
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit : https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
#นายช่างมาแชร์