อาการ Soft Foot คืออะไรและจะแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ?

0
Soft Foot Alignment Wallpaper
Soft Foot Alignment Wallpaper

ปัญหา Soft foot หรืออาการขาอ่อน (หรือขาไม่ได้ระดับ) เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยๆ เมื่อทำการ Alignment เครื่องจักร ซึ่งอาการ Soft Foot เป็นปัญหาที่สำคัญและควรกำจัดออกไปในช่วงทำ Alignment ไม่เช่นนั้นแล้ว จะส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของเครื่องจักร เช่น ทำให้เครื่องจักรเกิดการสั่นสะเทือนที่มากเกินไป (Excessive Vibration) โดยเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้า (Electrical Motor) ที่ทำให้ Casing ของเค้าบิดเบี้ยว และเกิด Uneven Air Gap นั่นเองครับ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราสามารถวัดค่า Soft Foot และสามารถควบคุมหรือกำจัดอาการเหล่านี้ได้ระหว่างช่วงทำ Alignment ครับ

แล้ว Soft Foot คืออะไรกัน ?

คำว่า “Soft Foot” เป็นคำทั่วไปที่ใช้สำหรับระหว่างขาของเครื่องจักร (ในที่นี้อาจจะหมายถึงฐานก็ได้นะครับ) ซึ่งจะวางไปที่พื้น หรือ Base plate ที่เราจะวางเครื่องจักร ไม่เหมาะสม (ให้เข้าใจง่ายๆคือ วางไม่เต็มหน้านั่นเองครับ) ซึ่งการวางไม่เต็มหน้านี้เอง มันก็เปรียบเสมือนเราเดินเขย่งเท้าถูกไหมครับ ถ้าเกิดมีใครมาผลักเรา หรือแค่เราเดินตรงๆก็จะยากแล้วใช่มั้ยครับ โดยเครื่องจักรก็เหมือนกันครับ

สาเหตุในการเกิด Soft Foot

  • Foundation หรือ Baseplate ของฐานเครื่องจักรบิดเบี้ยว
  • ขาของเครื่องจักรไม่เรียบตรง
  • ใส่แผ่น Shim plate มากเกินไป
  • มีเศษหรือสิ่งสกปรกอยู่ระหว่างฐาน และขาของเครื่องจักร
  • รูใส่ Bolt ล๊อคใหญ่เกินไป หรือ ค่าทอร์คเยอะเกินไป

ประเภทของ Soft Foot มีอะไรบ้าง ?

โดยทางนายช่างมาแชร์ขอแบ่งประเภท Soft foot เป็น 4 ประเภทนะครับ ตามลักษณะของการจัดวางนะครับ (แต่ขอทับศัพท์ละกันนะครับ)

  1. Parallel ลักษณะจะขาเครื่องจักรจะลอยจากฐานตรงๆครับ (Highest values diagonally opposed.)
  2. Angled ลักษณะจะขาเครื่องจักรจะเอียงจากฐานนะครับ (Bent foot; bowed baseplate,angled soleplate.)
  3. Squishy คล้ายๆกับ เครื่องจักรวางบนฐานที่นุ่มเกินไป เช่น มีแผ่น shim เยอะไป, dirt สิ่งสกปรก , ฐานไม่แน่น etc.)
  4. Induced กรณีเกิดแรงรั้งภายนอก External force เช่น Pipe strain เป็นต้น

วิธีในการตรวจจับความผิดปกติของ Soft Foot

อาการผิดปกติของ Soft Foot สามารถตรวจจับได้หลายวิธีดังนี้นะครับ

  • Feeler gauges
  • Dial indicators
  • Laser alignment tools
  • Vibration analysis

สาเหตุของ Soft Foot ก็เป็นได้มากมายหลายรูปแบบนะครับ ถ้าหากเจอแล้วก็ควรจัดการปัญหาให้เรียบร้อยนะครับ อาจจะเป็นวิธีการปาดขา, ลดจำนวน Shim (ด้วยการเพิ่มความหนา Shim), แม้กระทั่งสายมอเตอร์ที่รั้งอยู่ หรือท่อทางต่างๆที่มีการฝืนและประกอบเยอะเกินไป พอปัญหา soft foot หมดไปเท่านี้เครื่องจักรเราก็จะกลับมาเดินเงียบเป็นปกติและอายุการใช้งานยาวนานเลยนะครับ

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่