สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ จากที่ทราบกันแล้วว่าสาเหตุรอยร้าวของโครงสร้างคอนกรีตได้แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 4 ประเภท ซึ่งใน EP.1 ได้อธิบายเกี่ยวกับรอยร้าว 2 ประเภทแรกไปแล้ว ได้แก่ 1.รอยร้าวเกิดจากคุณภาพวัสดุและฝีมือการทำงานที่ไม่ดี และ 2.รอยร้าวเกิดจากเสื่อมสภาพของวัสดุ ดังนั้นวันนี้จะมาแชร์เนื้อหาความรู้รอยร้าวอีก 2 ประเภทที่เหลืออยู่ ไปติดตามกันเลยค่ะ
กลับไปอ่าน >> การตรวจสอบรอยร้าวของโครสร้างคอนกรีต [EP.1]
สาเหตุรอยร้าวของโครงสร้างคอนกรีต แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
ประเภทที่ 1 และ 2 สามารถติดตามได้ใน [EP.1] ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนใน [EP.2] นี้กล่าวถึงรอยร้าวของ 2 ประเภทสุดท้าย ได้แก่ 3.รอยร้าวเกิดจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง และ 4.รอยร้าวเกิดจากฐานรากทรุดตัว
3. รอยร้าวเกิดจากโครงสร้างรบน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง
โครงสร้างจะแอ่นตัวและส่งผลให้เกิดรอยร้าว การที่โครงสร้างรับน้ำหนักไม่ได้นั้นเกิดจากสาเหตุดังนี้
1.หน้าตัดของโครงสร้างที่มีขนาดเล็กเกินไป
2.เหล็กเสริมในโครงสร้างผิดทิศทางจากที่ควรจะเป็น 3.การใช้งานที่ผิดประเภท หรือใช้งานจนน้ำหนักบรรทุกมากเกินกว่าที่ออกแบบไว้
3.การใช้งานที่ผิดประเภท หรือใช้งานจนน้ำหนักบรรทุกมากเกินกว่าที่ออกแบบไว้
3.1 รอยแตกพื้น
พื้นที่รับน้ำหนักไม่ได้จะเกิดการแอ่นตัว ตำแหน่งที่พบร้อยร้าวจะเป็นที่ขอบพื้นใกล้คานหรือเหนือคาน ลักษณะของรอยแตกจะเป็นเส้นยาวขนานกับความยาวของคาน เมื่อพื้นแอ่นตัวมากจะทำให้พบรอยแตกโดยรอบทั้ง 4 ด้าน นอกนั้นอาจพบเห็นรอยแตกทแยงใต้ท้องพื้นจากมุมเสาวิ่งเข้าหากลางพื้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่มุมใดมุมหนึ่ง
ส่วนในกรณีพื้นสำเร็จรูปที่วางพาดปลายบนคานแล้วเทคอนกรีตปิดผิวบนนั้น หากไม่วางเหล็กรับแรงดึงที่ด้านบนของคานตรงตำแหน่งที่นำพื้นสำเร็จรูปมาวางพาด จะเกิดรอยแตกยาวที่คอนกรีตปิดผิวบริดวณเหนือคาน รอยแตกจะวิ่งยาวขนานความยาวคานในลักษณะเช่นเดียวกัน และเมื่อโครงสร้างรับน้ำหนักไม่ไหวจะส่งผลกระทบต่อผนังทำให้ผนังเกิดรอยร้าวได้ค่ะ
– รอยแตกที่ผนังใต้ท้องคานบน
เป็นรอยแตกแนวนอนที่ผนังบริเวณใต้ท้องคานเหนือผนัง ความกว้างของรอยแตกจะอยู่บริเวณช่วงกลางของความยาว รอยแตกอาจมีหลายรอยขนานกัน
สาเหตุ เกิดจากคานใต้ผนังแอ่นตัวมากเกินไปทำให้ผนังที่วางอยู่ถูกดึงลง
– รอยแตกแนวดิ่งกลางผนัง
- ลักษณะของรอยแตกอยู่ในแนวดิ่งแตกยาวจากบนลงล่าง
สาเหตุ รอยแตกประเภทนี้เกิดจากคานเหนือผนังแอ่นตัวลงมากดทับจนแตกร้าว
3.2 เสา
เมื่อเสารับน้ำหนักไม่ได้จะเกิดการโก่งตัวรอยแตกร้าวจะเกิดเพียงด้านใดด้านหนึ่งหรือสองด้านที่ติดกัน ด้านของเสาที่โก่งออกจะเกิดรอยแตกร้าวขณะที่ด้านของเสาโก่งเข้าจะไม่มีรอยแตกเพราะเป็นด้านที่รับแรงอัดซึ่งคอนกรีตสามารถรับแรงอัดได้ดีอยู่แล้ว รอยแตกมีลักษณะคล้ายตัวยูวางนอนในแนวราบ มีลักษณะเป็นปล้องๆขนาน
3.3 คาน
เมื่อรับน้ำหนักไม่ได้จะเกิดการแอ่นตัว รอยแตกที่พบเห็นคือ รอยแตกที่ตำแหน่งกลางคาน จะเริ่มจากใต้ท้องคานและแตกลามออกด้าข้างทั้งสองของคานลักษะเป็นรูปตัวยูเพียงเส้นเดียว เมื่อคายนแอ่นตัวมากขึ้นจะเกิดรอยแตกขึ้นที่ละคู่ขนาบสองฝั่งของรอยแตกเดิม รอยแตกเหล่านี้เริ่มเป็นตัวยูเอียงเข้ากลางคาน นอกจากนี้ยังพบรอยแตกเฉียงที่ปลายคานห่างจากขอบเสามาช่วงหนึ่ง ซึ่งรอยแตกนี้เกิดจากแรงเฉือน
4. รอยร้าวเกิดจากฐานรากทรุดตัว
เมื่อฐานรากใต้โครงสร้างทรุดตัวไม่เท่ากันจะทำให้ส่วนประกอบของอาคารเกิดการแตกร้าว โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเป็นลำดับจากผนัง คาน พื้น และเสา ผนังก่ออิฐฉาบปูนจะเป็นส่วนแรกที่แสดงให้เห็นก่อน และผนังชั้นล่างจะแตกก่อนผนังชั้นบน เพราะอยู่ใกล้ฐานรากมากกว่า ส่วนอาคารที่มีความต่อเนื่องกันอาจเริ่มแตกร้าวจากชั้นบนไล่ลงมาเพราะเกิดจากห้องข้างเคียงที่อยู่ห่างออกไปเกิดการทรุดตัวและดึงให้แตกร้าว
รอยแตกร้าวของผนังและโครงสร้างเองจากอาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน มีลักษณะดังนี้
4.1 ผนัง
รอยแตกร้าวเกิดที่กลางผนังเป็นรอยแตกเฉียงและแตกตะลุความหนาของผนัง รอยแตกมักจะกว้างมากบริเวณช่วงกลางเพราะเป็นตำแหน่งที่เริ่มแตก เมื่อพบเห็นรอยแตกร้าวแบบให้ขีดเส้นตั้งฉากกับรอยร้าวปลายเส้นที่ชี้ลงดินจะบ่งบอกตำแหน่งของฐานรากที่มีปัญหาทรุดตัว การพิจารณาว่าฐานรากตำแหน่งใดบ้างมีการทรุดตัวตวรพิจารณาผนังของอาคารทีละแผง
4.2 คาน
รอยแตกร้าวจะพบเห็นได้ที่ปลายคานทั้งสองข้าง และส่วนมากจะเป็นรอยร้าวดิ่ง ปลายคานด้านที่ฐานรากทรุดตัวรอยแตกจะเกิดจากด้านล่างและแตกขึ้นด้านบน ส่วนปลายคานด้านที่ฐานรากไม่ทรุดตัวหรือทรุดตัวน้อยกว่าจะแตกร้าวจากบนลงล่าง
หมายเหตุ ข้อสังเกตว่ารอยร้าวเริ่มเกิดจากตำแหน่งไหน ตำแหน่งนั้นจะมีขนาดอ้ากว้างมากกว่าตำแหน่งอื่น
4.3 พื้น
รอยแตกที่พื้นจะเกิดบริเวณใกล้ขอบคานเกิดเพียงด้านใดด้านหนึ่งหรือสองด้าน ไม่เกิดขึ้นโดยรอบเหมือนกรณีพื้นรับน้ำหนักไม่ไหว และที่พบเห็นส่วนมากจะเป็นพื้นที่มีความกว้างมากๆ เช่น พื้นในโรงงาน เมื่อพบเห็นรอยแตกแบบนี้ให้สังเกตว่าพื้นเอียงลาดไปทางใดด้านนั้นจะเป็นตำแหน่งที่ฐานรากทรุดตัว
4.4 เสา
ปกติเมื่อฐานรากทรุดตัวเสาตันที่วางอยู่บนฐานรากนั้นจะไม่แตกร้าวทุดตัวตามกัน แต่เสาตำแหน่งอื่นจะถูกดึงรั้งให้โก่งงอ เมื่อเสาโก่งงอจะเกิดรอยแตกร้าว ลักษณะของรอยแตกร้าวจะเหมือนกับนำไม้บรรทัดพลาสติกมางอโค้งจะเกิดรอยแตกเป็นปล้องๆ รอยแตกที่เสามีลักษณะเป็นตัวยูนอนและเกิดเฉพาะด้านที่โก่งออก ด้านที่งอเข้าจะไม่พบรอยแตกร้าว รอยแตกอาจมีหลายเส้นเป็นปล้องๆ ปลายของรอยร้าวจะชี้ไปในทิศทางที่มีฐานรากทรุดตัว
กรณีพิเศษ อาคารที่มีปัญกาทรุดเอียงทั้งหลังมักจะไม่มีรอยร้าว ที่เป็นเช่นนี้เพราะฐานรากทรุดตัวตามกันหรือฐานรากพลิกตัวไปในทิศทางเดียวกันทำให้ไม่เกิดแรงดึงรั้งในโครงสร้าง การสำรวจตรวจสอบอาคารประเภทนี้ต้องใช้ข้อสังเกต เช่น
1.สภาพการไหลของวัตถุลมบนพื้นว่าเป็นไปในทิศทางเดียวเสมอหรือไม่
2.ประตูที่เปิดไว้อ้ากว้างเพิ่มขึ้นหรือปิดกลับเองได้
3.ดูรูปทรงภายนอกว่าเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่แล้วจึงสรุปผลการสำรวจได้ ตัวอย่างข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจอาคารเบื้องต้น รอยร้าวจึงเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่ควรเฝ้าระมัดระวัง หากพบเห็นอาคารมีปัญหาแล้วรีบแก้ไข อาคารจะยังคงมีความมั่นคงและใช้งานต่อไปได้
องค์ประกอบหลักในการพิจารณาทางด้านวิศวกรรม ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้าง รอยร้าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่บอกถึงว่าโครงสร้างเรานั้นมีปัญหา ให้ทำการแก้ไข้ให้ตรงกับปัญหานั้น เพื่อเป็นการบำรุงรักษาอาคาร เว้นเสียแต่ว่ามีความชำรุดเสียหายมากจนเกินไปซ่อมแซมแล้วไม่คุ้มกับการทุบทิ้งสร้างใหม่ นี้ก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างที่ผู้เกี่ยวข้องควรนำมาพิจารณากันด้วยนะคะ
ขอขอบคุณเนื้อหาแหล่งที่มา “บทความพิเศษ รอยร้าว…สัญญาณเตือนภัย”
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit : https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g