Pump [EP.7] : Vertical Sump Pump ปั๊มชนิดจุ่มแบบครึ่งตัว

0
Vertical sump pump wallpaper
Vertical sump pump wallpaper

สวัสดีครับเพื่อนๆกลับมากับซีรี่ย์ที่ยาววววววววว….ที่สุดในเพจของเราอีกครั้งนะครับ นั้นคือซีรี่ย์เรื่องราวของปั้มนั้นเอง ตอนนี้เดินทางได้มาถึงตอนที่ 7 แล้วนะครับ (อาจจะด้วยปั้มในอุตสาห์กรรมมีมากมายหลายรูปแบบมากๆเลย) ซึ่งวันนี้เราจะพามาดูปั้มอีกชนิดนึงที่ทีความยาววววววว และเป็นที่นิยมมากในโรงงานขนาดกลางถึงใหญ่ นั้นคือ Vertical Sump Pump แต่เจ้าปั้มจุ่มชนิดนี้เค้าจะไม่ได้จุ่มลงไปหมดทั้งตัวนะครับ แต่จะจุ่มแค่เฉพาะตัวปั้มที่ยื่นยาวลงไปในบ่อหรือถังพักต่างๆ

ส่วนอีกครึ่งหนึ่งที่เป็นส่วน motor และ accessory ต่างๆจะอยู่ด้านบนทั้งหมดครับ ซึ่งก็จะง่ายต่อการบำรุงรักษา ปั้มชนิดนี้บางชื่ออาจจะเรียกว่า vertical turbine pump ซึ่งก็อาจจะแล้วแต่มาตราฐานนั้นๆในการเรียกนะครับ ซึ่งข้อดีคือ เจ้าปั้มตัวนี้จะจุ่มลงไปในบ่อเลย ซึ่งเป็นการประหยัดพื้นที่การติดตั้งและใช้งานได้มากเลยครับ และยังสามารถสร้างอัตราการไหล (Capacity) และแรงดันความสูง (Head) ได้ค่อนข้างมาก แต่ก็แลกมาด้วยการ overhaul ที่อาจจะลำบากหน่อยนะครับ

เพื่อนๆสามารถกลับไปดูบทความเกี่ยวกับปั้มได้ตามลิ้งค์นี้เลยนะครับ > บทความต่างๆเกี่ยวกับปั้ม

งั้นเราลองมาดูรายละเอียดต่างๆในบทความกันเลยนะครับ

มาทำความรู้จัก Vertical Sump Pump กัน

ปั้มจุ่มชนิดนี้ชื่อที่เรียกกันในโรงงานเราจะใช้คำว่า Vertical Sump Pump (อันนี้ของอ้างอิงมาตราฐาน API610 นะครับ) หรือบางที่ที่เป็นมาตราฐานทั่วไปพวก ISO13709 จะใช้คำว่า Vertical Turbine Pump นะครับ

โดยหลักการออกแบบและการทำงานของปั้มตัวนี้คือ จะเป็นปั้มยาวติดตั้งอยู่บนบ่อ หรือถังพัก โดยตัวปั้มจะถูกออกแบบให้มีความยาวและจุ่มลงไปในน้ำให้ท่วม และในส่วนของตัวขับและอุปกรณ์เสริมต่างๆจะอยู่ด้านบนนะครับ (ซึ่งถ้าอยู่หน้างานเราจะเห็นแค่ส่วนด้านบนนะครับ ส่วนด้านล่างคืออยู่ใต้น้ำหมดเลยครับผม)

ภาพ Vertical Sump Pump หน้างาน
ภาพด้านในของ Vertical sump pump เมื่อถูกติดตั้งอยู่บนถัง หรือบ่อพัก

เจ้าปั้มตัวนี้อาจจะมีใช้มากมายหลากหลายชนิดอุตสาหกรรมเลยทีเดียวครับ ไม่ว่าจะเป็นฝั่ง Oil and Gas, โรงปูน, โรงกระดาษ, หรือ การส่งน้ำต่างๆ โดยความสามารถของเค้าสามารถสร้าง Flow ได้ถึง 1000 m3/hr, Head ได้ถึง 150 m และ Operating temperature 350 องศาเซลเซียส เลยทีเดียวครับผม

ย่านการใช้งานของ vertical sump pump ที่ค่อยข้างสูง และครอบคลุม
Banner_SupremeServ_1532x329px_NEU

หลักการทำงานของ Vertical Sump Pump

หลักการทำงานของปั้มชนิดนี้ตัวใบพัดจะจุ่มอยู่ใต้ของเหลว และเมื่อทำงานของเหลวจะถูกดูดเข้าทางจาดูดด้านล่างสุดของปั้ม และของเหลวจะถูกส่งออกไปทางด้านขาออกและเอาไปใช้ในระบบต่อไป

โดยกำลังขับจะถูกส่งผ่าน motor ไฟฟ้า (หรือต้นกำลังแบบอื่นๆ) และกำลังถูกส่งผ่านเพลาที่เป็นท่อนยาวผ่านลงมาจนถึงใบพัด (impeller) โดยมีระบบ Seal Flushing ไปหล่อเลี้ยง Bush bearing ที่ทำหน้าที่รับภาระ load ของปั้ม และมี Mechanical seal หรือ Gland packing กันรั่วที่คอเพลา

ลองชมวีดีโอแสดงการทำงานและส่วนประกอบต่างๆของปั้มชนิดนี้กันนะครับ

วีดีโอแสดงการทำงานของ Vertical Sump Pump

ส่วนประกอบต่างๆของ Vertical Sump Pump

โดยจะมีหน้าตาและส่วนประกอบตามรูปต่างๆดังนี้นะครับ

  1. ท่อขาดูด (Suction Side) ตรงบริเวณตะแกรงด้านล่างนะครับ, จะทำหน้าที่เป็นส่วนที่ดูดน้ำขึ้นมา ด้วยแรงดูดจากใบพัด หรือ impeller
  2. ใบพัด (Impeller) ทำหน้าที่ในการดูดและส่งของเหลวจากขาดูด ออกไปทางด้านขาส่ง (Discharge side) ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 ใบ เป็น 2 ใบ หรือ 3 ใบก็ได้นะครับ ขึ้นอยู่กับการออกแบบไปใช้งานครับผม
  3. เสื้อปั้ม (Casing) ทำหน้าที่ในการรองรับ (Contain) และออกแบบในลักษณะเป็น Volute ที่เปลี่ยน่ความเร็วของของเหลวที่ถูกใบพัดสร้างมา ให้กลายเป็นแรงดันออกไปทางขาส่ง
  4. เพลา (Shaft) ทำหน้าที่ถ่ายและส่งกำลังจากตัวขับมาถึงด้านล่างที่แสนยาวของเราครับ
  5. แบรรี่ชนิดบูช (Bush bearing) ทำหน้าที่รับภารระ load ของปั้มไม่ว่าจะเป็นแรง และโมเมนต์ ต่างๆนะครับ
  6. ระบบหล่อลื่น (Self flushing) ระบบหล่อเลี้ยง หรือ หล่อลื่น เจ้าปั้มตัวนี้จะใช้วิธีการดึงน้ำจากขาส่งที่มีความดันสูง ไปส่งต่อให้ bush bearing และ mechanical seal ใช้งานในการ flushing อุปกรณ์ต่อไป ; แต่เจ้าระบบนี้ถ้าเจอพวกเศษอะไรไปอุตตันละก็ อายุการใช้งานตัวนี้จะมีปัญหาตามมาแน่นอนนะครับผม อันนี้เป็นจุดตายอีกจุดนึงของปั้มชนิดนี้
  7. แม็คแคนิคอลซีล (Mechanical seal) ทำหน้าที่กันรั่วคอเพลานะครับ แต่บางรุ่นอาจจะใช้เป็น gland packing ก็ได้นะครับผมรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความ >>> PUMP [EP.3] : Mechanical Seal อุปกรณ์กันรั่วที่สำคัญที่สุดในปั้มแบบหมุนเหวี่ยง
  8. ตัวส่งกำลัง (Driver) ซึ่งเป็นตัวต้นกำลังขับให้กับปั้มชนิดนี้เลยนะครับ ส่วนใหญ่ (เรียกว่าเห็นแต่แบบนี้) จะใช้เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังขับนะครับ

ลองไปชมวีดีโอแสดงส่วนประกอบและการถอดแต่ละชิ้นๆตามวีดีโอด้านล่างกันนะครับ

วีดีโอแสดงส่วนประกอบต่างๆของ Vertical Sump pump
Banner_SupremeServ_1532x329px_NEU

จุดดี-จุดด้อย ของปั้มชนิดนี้

ข้อดี

  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย (แต่ก็ใช้พื้นที่ในในแนว vertical ที่เยอะมาก)
  • มีย่านการใช้งานครอบคลุม และสามารถจุ่มลงในบ่อได้เลย
  • ไม่จำเป็นต้องสร้างถัง หรือ Tank เพื่อเพิ่ม head สูงๆ
  • อายุการใช้งานยาวนานมากๆ (ถ้า line flushing ไม่ตันอ่ะนะครับ)
  • ใช้งานได้หลากหลาย application มากๆ ตั้งแต่ น้ำคลอง น้ำปลา น้ำยาสารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และอื่นๆอีกมากมายนะครับ
  • ครอบคลุมหลากหลายมาตราฐาน

ข้อเสีย

  • ถ้าสำหรับงานยกไป overhaul หรือติดตั้งทำได้ลำบาก เรียก crane มายกลูกเดียว ทำ lifting plan บลาๆๆ
  • ค่า overhaul แพง ยิ่งถ้าได้เปลี่ยน casing ด้วยแล้วนั้นปาดเหงื่อเลยครับ
  • ใช้เวลาซ่อมนาน หลายๆ part ดึงไม่ค่อยออก (ใช้หินเจียลงบ่อยๆ)
  • เราไม่สามารถรู้ condition ด้านล่างได้เลย ต้องทำนายจากผล vibration อย่างเดียว
  • ต้นทุนปั้มที่สูง เนื่องจาก dimension ที่มีขนาดใหญ่

ซึ่งเจ้า vertical sump pump ก็มักจะเป็น pain point ของวิศวกรหลายๆโรงงานนะครับ แต่ถ้ามีแผน PM และ Reliability ที่ดีแล้วรับรองได้ว่า เพื่อนๆอาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นด้านล่างที่จุ่มในน้ำของปั้มชนิดนี้เลยทีเดียวนะค้าบบบบบ ^^

แล้วพบกับสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับงานช่าง และงานวิศวกรรม กับเพจนายช่างมาแชร์นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่