Pump [EP.6] : การ Recondition ของอุปกรณ์ Mechanical Seal

0

สวัสดีครับเพื่อนๆ คอยสงสัยไหมว่าเจ้าตัวแม็คแคนิคอลซีลที่อยู่ที่คอปั้มปกติแล้วเค้าซ่อมกันไหม ? ถ้าเป็นเจ้าตัวอันเล็กๆ เช่น ในปั้มน้ำตามบ้านต่างๆ อาจจะแค่ หลับตาเปลี่ยนไปเลย…..แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่า ในโลกงานอุตสาหกรรมหนัก ปั้มมีตัวขนาดใหญ่มากๆ บางตัว impeller เค้าใหญ่เป็น หลายๆเมตรเลยครับ

ซึ่งสิ่งที่ใหญ่ตามมาคือขนาดเพลา และขนาด Mechanical Seal ซึ่งราคาของเจ้า Mechanical seal เนี่ยก็ไม่ใช่ถูกๆนะครับ (ราคาหลักหลายล้านเลยนะครับ) ครั้นอยากไปเปลี่ยนก็ดูเหมือนจะรวยเกินไปอีก ดังนั้นคำตอบคือ ซ่อม ครับผม ซึ่งรู้ไหมครับว่า การซ่อม ของ Mechanical seal ก็คือการ Recondition หรือ การคืนสภาพกลับมาเหมือนเก่านั้นเอง

วันนี้ทางนายช่างก็ขอมาแชร์เรื่องงราวของงานซ่อม หรือ Recondition ของ Mechanical seal กันนะครับผม

กลับไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง PUMP Principle 3: Mechanical Seal หน้าที่และส่วนประกอบ

ทำไมถึงต้อง Recondition Seal

Mechanical Seal เป็นอุปกรณ์ที่เป็น Rotating Part ชนิดหนึ่ง (และเป็นส่วนที่เปราะบางมากๆด้วย แค่น้ำไม่มาหล่อเลี้ยงก็พังแล้วครับ) ดังนั้นชิ้นส่วนภายใน Mechanical Seal ทุกชิ้นจึงมีการ เสียดสี และเกิดความร้อน อยู่ตลอดระยะเวลาการทำงาน และด้วยหลักการทำงานในลักษณะนี้เอง ชิ้นส่วนต่างๆ ภายใน Mechanical Seal จึงเกิดการสึกหรอไปตามกาลเวลา ซึ่งชิ้นส่วนที่มักพบการสึกหรอบ่อยที่สุด คือ หน้า Face, O-ring และ Rotating Parts ต่างๆ

mechanical seal ปั้ม ซีล API
ส่วนประกอบด้านใน Mechanical Seal

โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิต หรือ (Plant Owner) จะส่ง Mechanical Seal ไปทำการ Recondition กับทางผู้ค้า หรือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านงาน Re-condition เหตุผลคือ เนื่องจากงาน Re-condition seal เป็นงานที่ละเอียดมากถึงมากที่สุด ระดับ 0.01 mm เลยทีเดียวครับ

ดังนั้นเพื่อให้ Mechanical Seal มี Condition ที่สมบูรณ์ที่สุด และเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านการผลิตในแต่ละโรงงานอีกด้วยครับผม

รูปแบบการเสียหาย (Failure Mechanism)

เพื่อนๆรู้มั้ยว่า การเสียหายของ Mechanical seal เราสามารถนำไปวิเคราะห์ถึงต้นต่อของปัญหาที่เกิดขึ้นมาได้ด้วยนะครับ ว่าจริงๆแล้วสาเหตุมาจาก เรื่องของเวลา อายุการใช้งาน, การใช้งานไม่เหมาะสมตามการออกแบบ (Over design) หรือแม้กระทั่งการใช้งานที่ผิดพลาด (Miss operating) เราตามไปดูความเสียหายเบื้องต้นกันนะครับ

1. การเสื่อมตามอายุการใช้งาน (Material Deterioration)

ส่วนมากถ้าเป็นที่อายุการใช้งานเราจะพบความเสียหายที่ O-ring เป็นอันดับแรกเลยครับ (O-ring deflect)

การเสียหายที่ O-ring ของ Mechanical seal

ต่อมาเป็น การเสียหายบริเวณหน้า Seal (Seal Face) จากตัว Process ภายในอุปกรณ์ (ในกรณีที่ Process มีคุณสมบัติการกัดกร่อน)

ความเสียหายที่หน้า face จาก Corrosion

การเปลี่ยนรูปแบบถาวร Plastic Deformation ที่ชิ้นส่วนที่เป็น Rotating Part เช่น Spring

Spring mechanical seal

2.  รูปแบบการเสียหายที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม (Improper operating)

–  การเดินเครื่องจักรแบบ Over Load ทำให้หน้า Seal เกิดความเสียหาย

–  การประกอบชิ้นส่วนที่ไม่ถูกต้อง

–  การปนเปื้อนจาก ฝุ่น หรือ ละอองความชื้น ที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมในขณะติดตั้ง

–  การที่ไม่มีของเหลวมาหล่อลื่นหน้า Seal face จนการการ Run dry ขึ้น

หน้า Seal face หลังจากการใช้งาน Overload

หลักการ Recondition Mechanical Seal

เมื่อทาง ผู้ที่ได้รับมอบหมายที่จะทำการซ่อม ได้รับ Mechanical Seal จากทาง End user แล้วนั้น จะดำเนินการถอดชิ้นส่วนต่างๆ ภายใน Mechanical Seal เพื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับตัว Drawing และ Check Sheet ของ Mechanical Seal นั้นๆตั้งแต่

1. แหวนหลัก (Primary ring)
2. แหวนรอง (Mating ring)
3. ชุดกันรั่วรอง,โอริง (Secondary seal, O-ring & gasket)
4. ชุดสปริง (Spring mechanism) ; test ด้วยการดูค่า k (Spring constant)
5. ชุดขับเคลื่อน (Drive mechanism)

การ Test spring load เพื่อดูค่า k ของ Spring

เพื่อทำการ Check Condition ณ ปัจจุบัน ของแต่ละชิ้นส่วนของ Mechanical Seal โดยจะพิจารณาว่า “มีชิ้นส่วนได้บ้างที่ต้องมีการเปลี่ยน หรือบางชิ้นส่วนแค่ทำการล้างหรือปรับสภาพเล็กน้อย” ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

ซึ่งในการซ่อมหน้า face ทั้งในส่วนของแหวนหลัก และแหวนรองให้เรียบ (ระดับ 0.01 mm) เราจะใช้วิธีการ Lapping และการตรวจสอบด้วยระบบ Light band

การ Lapping หน้า face ของ Mechanical seal
การดูความเรียบของหน้า face ด้วยวิธี light band

ซึ่งหลังจากนั้นจะทำการตรวจสอบการรั่ว (Test Leak) ร่วมด้วยเพื่อทำให้มั่นใจถึงคุณภาพงานซ่อมด้วยครับ

การทดสอบด้วย Air leak test

นอกจากนั้นหากมีเคสกรณีแปลกๆ อาจจะมีการขอทำการ test แบบพิเศษ เช่น Seal dynamics testing , Seal run dry test การดูรูพรุนของหน้า face ที่เป็น carbon ว่าได้ตามมาตราฐานไหมอีกด้วยนะครับ, หรือแม้กระการวิเคราะห์ทาง Microstructure เพื่อดู failure mode อีกด้วยครับ

ซึ่งหากเพื่อนๆสนใจเจ้าทำ Recondition mechanical seal ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆในไทย ที่สามารถทำงานได้ตามที่เราพูดมา

อันนี้แนะนำ “บริษัท Thai carbon & graphite “เลยครับ สำหรับคนที่แก้ปัญหา seal ไม่จบ ชอบกลับมารั่วบ่อยๆ

รับบริการ mechanical seal ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นงาน reconditon, testing และ design and engineering

ติดต่อได้ทาง
e-mail : [email protected]
Fax : 028130847
โทร : 096-8814208, 02420-4434 ต่อ 43

สุดท้ายนี้หากเพื่อนๆมีคำถามสงสัยเกี่ยวกับปั้มหรือแม็คซีลสามารถ inbox มาถามใน facebook นายช่างมาแชร์ได้เลยนะครับ แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #mechanicalseal

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่