ภาพรวมของ Safety Instrumented System (SIS) ที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงในโรงงานอุตสาหกรรม

0
refinery plant explosion fire case
refinery plant explosion fire case

จากกรณีเพลิงลุกไหม้สารเคมีในพื้นที่ท่าเรือมาบตาพุด ระยอง ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงของบริษัท ความเสี่ยงในกระบวนการผลิตมีกลยุทธในการจัดการตั้งแต่การออกแบบ Plant โดยหนึ่งในวิธีการบริหารความเสี่ยงคือการออกแบบระบบวัดคุมนิรภัย หรือ Safety Instrumented System (SIS) ให้ได้มาตรฐานอ้างอิง Standard IEC 61508 ผู้ผลิตและ IEC61511 ทางตัวโรงงานอุตสาหกรรมเอง

Safety Instrumented System (SIS) คืออะไร ??

Architecture ของระบบ Safety Instrumented System (SIS) ประกอบด้วย Sensor / Logic Solver / Final Element ไม่ต่างจาก Instrument ที่ใช้ควบคุมกระบวนการผลิต แต่ Function การทำงานของสองระบบแตกต่างกัน

Basic Process Control System (BPCS) ทำงานตลอดเวลา เพื่อควบคุมพารามิเตอร์ในการผลิต เมื่อไหร่ก็ตามที่ Instrument ของระบบ BPCS ทำงานผิดพลาด ไม่สามารถควบคุมพารามิเตอร์ในการผลิตได้ ส่งผลให้เกิด Hazard ขึ้น เช่น High High Pressure ในระบบ

Safety Instrumented System (SIS) เฝ้าระวังและ Shutdown ระบบต่อเนื่องทันที เสมือนเป็น Last Line of Defense จัดการ Plant ให้อยู่ในสภาวะ Safe State อีกครั้ง

องค์ประกอบของระบบ Safety Instrumented System (SIS)

ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี IEC 61508/IEC61511  จึงแนะนำให้ระบบ Safety Instrumented System (SIS) และ Basic Process Control System (BPCS) แยกเป็นอิสระจากกันโดยสิ้นเชิง

นอกจากความเสี่ยงในกระบวนการผลิตแล้ว อีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาถัดมา คือ “ความเสี่ยงในกรณีที่อุปกรณ์วัดคุมนิรภัยไม่ทำงาน” หรือ “Safety Instrumented Function (SIF)” ที่อยู่บน Logic Solver ของระบบ Safety Instrumented System (SIS) ทำงานผิดพลาดหรือไม่สามารถ Action ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์อันตราย เรียกว่า ความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์วัดคุมนิรภัย Safety Integrity Level (SIL)

บทสรุป

SIL Engineer จึงเข้ามามีบทบาทในการออกแบบ Safety Instrumented Function (SIF) ประกอบไปด้วย Sensor, Logic Solver, และ Final Element หรือ Safety Shutoff Valve โดยจะแนะนำตั้งแต่พื้นฐานจำนวนอุปกรณ์ที่ติดตั้ง ลักษณะ Voting Logic ไปจนถึงคำนวณ Allowance Failure Rate ของอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการจัดการความเสี่ยงทั้งสองแบบที่กล่าวมาข้างต้น

เพื่อความสมเหตุสมผลในการลงทุน ก่อนที่จะออกแบบ SIL Engineer พิจารณาสองตัวแปรหลัก คือ โอกาสการเกิดเหตุการณ์อันตราย ร่วมกับ การคำนวณโอกาสความผิดพลาดของอุปกรณ์ โดยประเมินความเสี่ยงร่วมกันกับคนที่ทำงานใน Plant 

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าความเสี่ยงที่เหลือจากกระบวนการผลิต ได้ถูกฝากไว้กับอุปกรณ์เหล่านี้

บทความโดย คุณธนานุช รัตนจรัสโรจน์ (Certified Functional Safety Professional – CFSP)

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #Instrument #Control #SIS #SIF #SIL

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่