ทฤษฎีความชื้นในอากาศ [EP.1] : ความชื้นและความดันไอน้ำ (Humidity & Vapor Pressure)

0
Skyview wallpaper
Skyview wallpaper

สำหรับบทความนี้นายช่างมาแชร์ขอมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ “ความชื้นในอากาศกันนะครับ” ซึ่งความชื้นเนี่ยก็มีผลกระทบต่อการทำงานอุตสาหกรรมโดยตรง และหลายๆงานจะต้องใช้ ซึ่งซีรี่ย์ของทฤษฎีความชื้นนั้นก็มุ่งเน้นให้ความรู้แบบเข้าใจง่ายๆกันนะครับ เพื่อที่เพื่อนๆจะได้นำเรื่องเหล่านี้ไปใช้ได้ในโรงงานของเพื่อนๆได้จริงๆ

โดย EP.1 ขอมาปูพื้นฐานเรื่องความชื้นและความกดไอน้ำที่เป็นพื้นฐานของทุกอย่างกันก่อนเลยนะครับ

ความชื้นในอากาศ (Humidity)

ความชื้น หรือ Humidity ตามทฤษฎีแล้วจะหมายถึง “ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ” ใน 1 โมเลกุลของอากาศ ณ​ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเพื่อนๆรู้มั้ยครับว่า อากาศที่เราหายใจอยู่ทุกวันนี้ทุกๆ โมเลกุลจะมีไอน้ำแฝงตัวอยู่ไม่มากก็น้อย ซึ่งจะมากจะน้อยนี่แหละครับที่เราเรียกว่า “ความชื้น”

โดยวงจรของไอน้ำก็จะเกิดจากแหล่งต่างๆบนผิวโลก เช่น การคายน้ำของพืช แหล่งน้ำบนผิวโลก และไอน้ำจากมหาสมุทร

ภาพแสดงวัฏจักรของน้ำและอากาศ Credited by www.worldatlas.com

เมื่อแหล่งน้ำพวกนี้ได้รับความร้อน น้ำก็จะเปลี่ยนสถานะจากของเหลว (Liquid) กลายเป็นก๊าซ ( Gas หรือ ไอน้ำนั่นเองครับ) ซึ่งกระบวนการนี้เราจะเรียกว่า “การระเหย (Evaporation)” ; โดยพลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำกลายสถานะเราจะเรียกความร้อนนั้นว่า Latent Heat นะครับ

แต่ในทางกลับกัน หากไอน้ำ หรือ น้ำในสถานก๊าซ มีการลดอุณหภูมิลง หรือคายความร้อนออกไป ก็จะเกิดการกลายสถานะ จากไอน้ำ กลับมาเป็น ของเหลว อีกครั้ง ซึ่งกระบวนการนี้เราจะเรียกว่า “การควบแน่น (Condensation)”

ในชั้นบรรยากาศโดยปกติทั่วๆไป จะมีไอน้ำในสัดส่วนประมาณ 0-5% โดยปริมาตร ซึ่งค่าตรงนี้ก็จะเปลี่ยนไปตามเจ้าตัวไอน้ำที่ระเหย หรือ การควบแน่นตามวัฏจักร (Cycle) นั่นเองครับ

รูปภาพแสดงการเปลี่ยนสถานะของน้ำ Credited by www.worldatlas.com

ความดันไอน้ำ (Vapor Pressure) และความดันบรรยากาศ (Atmospheric pressure)

นอกเหลือจากการเปลี่ยนสถานะของอุณหภูมิแล้วนั้น น้ำก็ยังที่จะสามารถเดือด หรือ ควบแน่น จากผลของ “ความดัน” ได้อีกด้วยนะครับ เช่น ปกติน้ำเราจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 oC ใช่มั้ยครับ ? แต่ว่าถ้าเกิดห้องนี้มีความดันลดลงมากๆ เช่น การไปสร้างห้องน้ำบนภูเขาสูงๆ ทำให้ความกดอากาศน้อยๆ หรือ ห้องนี้ถูกควบคุมความดันให้น้อยลง น้ำ ณ ​จุดๆนี้ ก็อาจจะเดือนที่ 80-90 oC นะครับ

ในทางกลับกันหากห้องนี้มีความดันมากขึ้น น้ำก็จะเดือดที่อุณหภูมิ 100-120 oC นะครับ ตัวอย่างเช่น หม้อต้มความดัน

โดยที่สาเหตุเป็นเช่นนั้นเพราะว่า “ความดันไอ (Vapor Pressure)” ของเหลว ถ้ามากกว่า “ความดันบรรยากาศ (Atmospheric pressure)” จะทำให้ของเหลวระเหยนั้นเองครับ ซึ่งคล้ายๆกับ โมเลกุลที่ผิวน้ำชนะความดันที่กดเค้าอยู่ เลยสามารถลอยขึ้นไปได้นั่นเองครับ

การวัดค่าความดันไอ (Vapor Pressure) จากการที่ของเหลวระเหยจนถึงจุดอิ่มตัว (Saturation)
โดยแต่ละสารจะไม่เท่ากันและยิ่งอุณหภูมิเพิ่มความดันพวกนี้ก็จะเพิ่มตาม)
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มความดันไอของเหลวจะเพิ่มตามกราฟนะครับ

“ดังนั้นในการควบคุมความชื้นในอากาศปัจจัยหลัก คือ อุณหภูมิ และ ความดัน นะครับ”

หมายเหตุนะครับ ตัวบทความนี้อาจจะขอย่อยรายละเอียดเพื่อความเข้าใจของเพื่อนๆให้ง่ายที่สุดนะครับ

เทคโนโลยีการวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นด้วย Temperature & Humidity Sensor

หนึ่งในวิธีควบคุมความชื้นในโรงงานก็คือเราจะต้องมองให้เห็น (Monitoring) ว่าตอนนี้ความชื้น ณ จุดๆ นี้เป็นเท่าไหร่ ???

นายช่างมาแชร์ขอแนะนำเทคโนโลยี Wireless Humidity & Temperature Sensor ที่สามารถวัดความชื้นและอุณหภูมิได้แบบ Real-Time และเป็นเทคโนโลยีแบบ IoT (Internet of Thing อีกด้วย)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม การตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Temperature & Humidity Sensor)

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจสามารถติดต่อโดยตรงกับ Murata เพื่อขอข้อมูล หรือขอทดลองตัว Demo ได้ฟรีที่โรงงานของเพื่อนๆเลยนะครับ

ติดต่อ 

ณพงศ์พัศ ธงชัย (เมฆ)
• วิศวกรฝ่ายขาย
• โทร: 081-132-4462
• อีเมล: [email protected]

คุณธนพร คุณากรเรืองกิจ (พลอย)
• เจ้าหน้าที่บริหารงานขายและการตลาด
• โทร: 063-125-6151
• อีเมล: [email protected]

หรือทาง Line Official Account: @thaimurata

#นายช่างมาแชร์ #Murata #Sensor #ความชื้น #Humidity #Technology #IoT #

Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่