ไฟเบอร์รีบาร์ (Fibre rebar) นวัตกรรมใหม่แทนเหล็กเส้น

0
Fiber rebar wall

จากอดีตปัจจุบันในงานก่อสร้างในการหล่อคอนกรีดขึ้นมา การใช้เหล็กเส้นมาถักเป็นโครงในการ “นำมาเสริมคอนกรีตในบริเวณที่รับแรงดึงหรือต้านทานการแตกร้าวในคอนกรีต” และยังถือว่าเป็นวิธีที่แพร่หลายและใช่งานมากที่สุด สำหรับเหล็กเส้น อาจจะมีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น “Reinforced Steel Bar” หรือ เหล็กข้ออ้อย (Deform Bar; DB), เหล็กเส้นกลม (Round Bar; RB)

แต่ในปัจจุบันมีอีกนวัตกรรมใหม่ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในงานก่อสร้างยุคใหม่นั้นคือ “ไฟเบอร์รีบาร์ (Fibre rebar) นวัตกรรมทดแทนเหล็กเส้นในหลายๆงานเลยนะครับ

ไฟเบอร์รีบาร์ (FIBRE REBAR) นวัตกรรมใหม่ ?

“ไฟเบอร์รีบาร์ (Fibre rebar)” ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งเข้ามาทดแทนเหล็กเส้นแบบดั้งเดิม ในบางลักษณะงาน โดยเจ้าตัวไฟเบอร์รีบาร์ได้มีการผลิตจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส หรือ Glass Fibre Reinforced Polymers (GFRP) เฉพาะทางที่ทนต่อแรงดึงสูง และอีพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy resin) มีการขึ้นรูปด้วยวิธีตีเกลียวจนมีรูปร่างเป็นเหล็กเส้น ใช้ยึดเหนี่ยวกับคอนกรีต ในการวางฐานรากพื้นอาคาร ตลอดจนใช้เป็นโครงแนวกันคลื่นตามแนวชายฝั่งทะเลอีกด้วย”

โดยคุณสมบัติของวัสดุชนิดนี้ถือว่ามีจุดเด่นในด้านการทนต่อสารเคมีทั้งในแง่ของการทดต่อกรดและด่าง (Acid and alkaline bases), คุณสมบัติ anti-shrink additives , คุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนที่มากกว่า (anti-corrosion) ทีเป็นปัญหาหลักในปัจจุบันทำให้สามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า

ทำไมต้องใช้ไฟเบอร์รีบาร์แทนที่เหล็กเส้นแบบดั้งเดิม

  1. Glass Fibre Rebar Polymers (GFRP) เบากว่าเหล็ก 4 เท่า ทำให้ต้นทุนในการขนส่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่เพียงแค่นั้นยังช่วยลดค่าความถี่ธรรมชาติของชิ้นงานที่ถูกประกอบลงอีกด้วย
  2. มีคุณสมบัติต้านทานความกัดกร่อนได้ 100% (Corrosion Resistant) ทั้งในสภาวะด่าง และกรด​ (Corrosion resistance to alkalis and acidic environment) ในขณะที่เหล็กเส้นไม่สามรถทนประเภทที่รุนแรงมากๆได้ เช่น กรดคาร์บอนิก (Carbonic Acid) หรือ คลอไรน์ไออน (Chloride ions)
  3. มีคุณสมบัติไม่นำไฟฟ้า และเป็นฉนวนความร้อน (Thermal and Electrical Isolatation) ในทางกลับกันเหล็กเส้นนำไฟฟ้าและนำความร้อน
  4. แต่ความแข็งเกร็ง (Stiffness) ของ GFRP จะน้อยกว่าเหล็กซักครึ่งนึง ทำให้งานโครงสร้างเรามีความแข็ง (Rigid) ที่น้อยกว่า
  5. เหล็กมีต้นทุนงานซ่อมบำรุงที่สูงกว่า ในขณะที่ GFRP ไม่ต้องการบำรุงรักษาเลย (100 years zero maintenance of GFRP)
วีดีโอตัวอย่างการนำเอา Fibre Rebar ไปใช้ในงานก่อสร้าง

จากที่มีข่าวให้เห็นก็เริ่มมีการนำไฟเบอร์รีบาร์มาประยุกต์ใช้ในหลายๆงาน โดยเฉพาะงานชายฝั่งที่มีความกัดกร่อนสูงนะครับ เพราะฉะนั้นลองจับตาเทคโนโลยีนี้ดีๆนะครับว่าจะมีการนำไปใช้ประโยชน์ หรือพลิกโฉมวงการงานก่อสร้างเราได้แค่ไหนครับผม

reference : https://maxiswood.com/th/products/glass-fibre-rebar/

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่