การปรับเยื้องศูนย์ของเพลา “Shaft Alignment” ในเครื่องจักรกลหมุน

0
Shaft Alignment EP.1
Shaft Alignment EP.1

ในเครื่องจักรกลหมุนที่มีขนาดเริ่มใหญ่ขึ้นมา เช่น ปั้ม (Pump), พัดลมอุตสาหกรรม (Fan, Blower) หรือคอมเพลสเซอร์ (Compressor) จะมีส่วนของตัวขับ (Driver) เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า และตัวที่ถูกขับ (Driven) ชุดใบพัดหรือเพลาแยกกัน ซึ่งการที่จะทำให้เพลาสองชิ้นระหว่างตัวขับและตัวตามตรงกันเป๊ะๆ ก่อนที่จะใส่ Coupling ตัวนี้เราจะเรียกวิธีการนี้ว่า “การปรับเยื้องศูนย์ของเพลา” หรือ “Shaft Alignment” นั่นเองครับ

การปรับเยื้องศูนย์ของเพลา (Shaft Alignment) คืออะไร ?

“การปรับเยื้องศูนย์ของเพลา” หรือ “Shaft Alignment” คือ กระบวนการจัดแนวเส้นกึ่งกลางการหมุนของเพลาตั้งแต่ 2 เพลาขึ้นไปในเครื่องจักร หรือระบบกลไก โดยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออายุการใช้งานของเครื่องจักรหมุน หากเมื่อเพลาของทั้งสองฝั่งมีความเยื้องศูนย์ หรือไม่ตรงกัน อาจจะทำให้เกิดเสียหายต่อเครื่องจักร หรือ คัปปลิ้งได้ (Coupling) และมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรลดลง โดยอาจจะมีการให้เห็นดังนี้ เช่น มีการสั่นสะเทือน (Vibration) เสียงรบกวน (Noise) เกิดความร้อน (Heat) และการรั่ว (Leak) ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะมีผลให้ต้องหยุดเครื่องจักร และทางโรงงานอาจจะต้องสูญเสียกำลังการผลิตนั่นเองครับ

วิธีการทำการปรับเยื้องศูนย์ของเพลา

ปัจจุบันมีวิธีการทำการปรับเยื้องศูนย์ของเพลา หรือ Shaft alignment หลายวิธีด้วยกันได้แก่

1. วิธี Straightedge และ Feeler gauge

วิธีการแบบดั้งเดิม (Traditional Method) นี้ เป็นการวิธีการที่มีความแม่นยำน้อยที่สุด แต่ในทางกลับกันก็ง่ายที่สุดเช่นกัน ซึ่งจะเหมาะกับเครื่องจักรที่ไม่ได้มีความสำคัญต่อโรงงานมากนัก (Low Priority Machine) โดยวิธีการคือใช้ไม้บรรทัดขอบตรง (Straightedge) และเกจฟิลเลอร์ (Feeler gauge) เพื่อวัดค่า Offset และมุมระหว่างเพลา (Angular) ตามจุดต่างๆรอบการหมุนของเพลา และทำการขยับเพลาทั้งสองให้ตรงกันตามระยะที่วัดได้

2. วิธี Dial Indicator

การใช้ Dial Indicator คือการใช้อุปกรณ์ Dial Guage ในการจัดวัดระยะเยื้องศูนย์ของเพลา ซึ่งจะมีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูง โดยจะมีการติดตั้ง Dial Guage บนเพลา และทำการวัดค่าในขณะที่หมุนเพลาหนึ่งโดยสัมพันธ์กับอีกเพลาหนึ่งเพื่อกำหนดแนวที่ไม่ตรง

แต่ก็มีข้อระวัง คือ ค่า Bar Sag หรือ ค่าการตกท้องช้างของก้านที่จับ Dial Guage และต้องการความเชี่ยวชาญของผู้ที่ทำการทำ Alignment ด้วยการคำนวณที่แม่นยำ

3. วิธี Laser Alignment

เป็นวิธีการที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง และไม่ต้องการความสามารถของผู้ทำการ alignment สูงมากนัก ด้วยระบบการวัดตำแหน่งด้วยเลเซอร์ (Laser) การใช้เลเซอร์เพื่อวัดการเยื้องศูนย์ของเพลาสามารถทำได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ ทำให้เป็นที่นิยมมากที่สุดในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท

สรุป

การทำ Alignment ของเพลาที่ถูกต้องแม่นยำ โดยทั่วไปจะเป็นการเข้าไปปรับตำแหน่งของเพลาหนึ่ง หรือทั้งสองโดยใช้แผ่นรอง (Shim plate) และเครื่องมือจัดตำแหน่งอื่นๆ จนกว่าจะได้ค่าความคลาดเคลื่อนในการจัดตำแหน่งตามที่ต้องการ ดังนั้นในด้านของงานบำรุงรักษาควรดำเนินการทำ Shaft alignment ให้ได้คุณภาพและสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพสูงสุดและความน่าเชื่อถือของเครื่องจักรหมุนนะครับ

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่