ถัง FRP Tank – ประหยัดเวลาก่อสร้าง เบากว่าโครงสร้างเหล็ก และไม่เป็นสนิม

0

ในโรงงานอุตสาหกรรมจะเก็บสารเคมีต่างๆในถัง (Tank) ซึ่งถังมีหลายขนาด ตั้งแต่ถังขนาดเล็กเหมือน Tank น้ำในบ้านเรา จนไปถึงขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เมตร สูงมากกว่า 10 เมตร เราจึงเห็นถังในโรงงานเต็มไปหมด แต่ถังที่ใช้ในโรงงานที่เราเห็นมีหลายประเภท ต้องใช้ให้เหมาะกับ Conditions ของกระบวนการ เช่น ความดัน อุณหภูมิ ประเภทของสารเคมี เป็นต้น

คนส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับถังเหล็ก เช่น Carbon steel หรือ Stainless steel แต่ถังเหล่านี้แม้จะหนา หรือแข็งเพียงใดก็ไม่สามารถใช้เก็บสารเคมีได้ทุกชนิด หากใช้กับสารเคมีที่มีฤทธิกัดกร่อนสูงๆจะถูกกัดกร่อนอย่างรวดเร็วและทำให้ถังรั่ว ถังแตกได้

แน่นอนว่าโรงงานทุกๆที่จะเน้นเรื่องการป้องกันการรั่วไหลมาก เพราะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของคนงาน สารเคมีติดไฟ ในโรงงานบางที่จะเรียกอุบัติภัยการรั่วไหลของสารเคมีว่า “LOPC หรือ Loss of Primary Containment” ดังนั้นในการเลือกใช้ถัง (Tank) ในการเลือกใช้ในมุมของทางวิศวกรรม จะต้องเลือกวัสดุให้ถูกต้องเหมาะสมกับสารเคมีที่ใช้ (Material compatibility) ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ

ตัวอย่างสารเคมีที่ไม่สามารถใช้ถังเหล็กธรรมดาได้คือ กรดแก่ (Strong acid) ด่างแก่ (Strong base) เช่น Sulfuric acid 98%, Hydrochloric acid, กรดไนตริก โซดาไฟ (Sodium hydroxide) โซเดียมไฮโปคลอไร หรือแม้แต่น้ำเสียบางโรงงานไม่เหมาะสมกับการเก็บในถังโลหะ  

รูปถังเหล็กโดนกัดกร่อนจากการใช้กับสารเคมีไม่เหมาะสม 

ถ้าวัสดุที่เป็นโลหะไม่เหมาะสมกับสารเคมี อาจจะต้องใช้ถังพลาสติกธรรมดามีความแข็งแรงค่อนข้างน้อย รองรับความดันได้ต่ำมาก แต่มีก็ท่อพลาสติกบางชนิดที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโรงงานที่มีความคงทนสูง และทนยูวีได้ดี นั้นก็คือท่อ “FRP Tank” 

ทบทวนนิดนึงครับ ว่า FRP คือวัสดุอะไร ทำไมมันสามารถเป็นวัสดุทางเลือกใช้ทำถังแทนวัสดุโลหะได้

คำว่านั้น FRP ย่อมาจาก (Fiberglass Reinforced Plastic) หรือแปลตรงตัวว่า “พลาสติกเสริมเส้นใยแก้ว” หรืออาจจะเป็นที่รู้จักในชื่อ “GRVE pipe” (Glass-fiber reinforced vinyl ester) หรือ “GRE pipe” (Glass reinforced epoxy) ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดจากการผสมกัน 2 phases (Composite material) ทำให้มีสมบัติของวัสดุทั้งสองประเภทรวมกัน

1. Thermoset plastics

Thermoset plastics เป็นวัสดุประเภทพอลิเมอร์ เช่น Vinyl ester และ Epoxy ที่มีจุดเด่นทำหน้าที่ต้านทานการกัดกร่อนของสารเคมี (Corrosion) ได้ 100% เชื่อมให้เส้นใยแก้วติดกัน และยังมีคุณสมบัติเชิงกลมีความเหนียวและคงทน

2. เส้นใยแก้ว (Fiberglass)

เส้นใยแก้ว (Fiberglass) เป็นวัสดุประเภทเซรามิกส์จะทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงให้กับตัววัสดุ (Fiber glass reinforcement) มีสมบัติเชิงกลที่แข็งแต่ไม่เปราะ ทำให้สามารถรับแรงรับน้ำหนักได้มาก ทนความดันได้สูง 

นั่นคือ วัสดุ FRP เป็นวัสดุทางเลือกสำหรับใช้กับสารเคมีที่มีความกัดกร่อนรุนแรง ไว้ใช้เก็บสารเคมีอันตรายหลายชนิด 

ข้อดีของ “FRP Tank” คือถังที่ทำมาจากวัสดุ FRP

FRP Tank จะมีจุดเด่น และข้อได้เปรียบมากกว่าวัสดุอื่นๆหลายอย่างเช่น มีอายุใช้งานยืนยาวโดยไม่รั่ว แรงยึดเกาะ และความยืดหยุ่นของเรซินสามารถช่วยดูดซับแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกได้ดี อีกทั้งยังทนทานต่อสารเคมีเกือบทุกชนิด จากคุณสมบัติทุกด้านทำให้ FRP Tank สามารถถูกออกแบบตามความต้องการใช้งานของลูกค้า หรือโรงงานได้ (Customization) เพื่อให้เหมาะกับทุก Process Conditions ในโรงงานต่างๆได้อย่างครอบคลุม

คุณสมบัติเด่นของ FRP tank สามารถสรุปได้ดังนี้

  • น้ำหนักเบา (เบากว่าถังเหล็กในการใช้งานประเภทเดียวกัน 4 เท่า) สามารถติดตั้งใหม่ หรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย
  • Strength to weigh ratio สูง คือ FRP tank จะมี Tensile strength หรือ ความสามารถใช้งานรับ Load หนักๆได้ ทนทานต่อความดัน และสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนได้
  • อึด ทน ใช้งานได้นาน โดยไม่ต้อง Maintenance บ่อย
  • ไม่เกิดสนิม และทนสารเคมีกัดกร่อน สามารถปรับแต่ง หรือเลือกใช้ชนิดเรซินได้หลายแบบเช่น ใช้กับสภาพแวดล้อมแบบต่างๆ indoor/outdoor อยู่ใกล้ทะเล โดยไม่ต้องทาสี หรือทำ Cladding ใหม่
  • ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ ทน UV ได้
  • ไม่มีปัญหาเรื่องประกายไฟ ในกรณีต้องซ่อมแซม (No hot work require)
  • ราคาไม่แพง ลดต้นทุนซ่อมบำรุงได้มาก
  • สามารถออกแบบกับโรงงานอาหาร เพื่อรองรับการอนุมัติ FDA
  • สามารถออกแบบให้มีขนาดใหญ่ได้ (>1000 m3) และสามารถออกแบบให้ถังมีความสูง อ้วน เตี้ย สูงได้ทั้งหมดเพื่อให้เหมาะสมกับ Layout ของโรงงานต่างๆ

สุดท้ายนี้นายช่างอยากฝากให้เลือกวัสดุใช้ถังดีๆ โดยเฉพาะสารเคมีอันตรายต่างๆ เราต้องใส่ใจกับคือที่ทำงานหน้างาน ถ้ามีงบเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความปลอดภัย หรือเพิ่ม Reliability ก็แนะนำให้เลือก FRP tank ครับ และออกแบบให้ (Material compatibility) และเหมาะสมกับ Process Conditions ครับ

============================================

และขอขอบคุณข้อมูล FRP Tank อย่างละเอียดจาก GRE Composite ถ้าใครมีโครงการจะติดตั้งถังใหม่ๆ หรือจะเปลี่ยนถัง หรือเจอถังรั่วบ่อยๆ สามารถให้ทีมช่วยออกแบบได้ครับ 

============================================

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่