อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Heat detector ทำงานอย่างไร

0

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบป้องกันอัคคีภัยจะมีอุปกรณ์หนึ่งที่เรามักจะพบเจอ หนึ่งในนั้นก็คือ Heat detector หรืออุปกรณ์ตรวจจับความร้อนนั่นเอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในหมวดแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm system) โดยที่ Heat detector จะจับความร้อนจากเปลวเพลิงแล้วผ่านกระบวนการของระบบการวัดเพื่อแจ้งเหตุให้กับผู้ใช้งาน หลายๆคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ ในเมื่อเรามี Smoke detector (ตัวจับควัน) แล้วทำไมเราต้องติดตั้ง Heat detector ด้วยละ คำตอบของเรื่องนี้คือการเผาไหม้บางชนิดจะมีควันที่น้อยบางครั้งทำให้เราต้องพิจารณาการใช้งาน Heat detector มาตรวจจับความร้อนแทน หรือในกรณีหนึ่งคือห้องครัว ซึ่งปกติมีควันจากการทำอาหารจะทำให้ระบบที่ใช้ Smoke detector แจ้งเหตุโดยที่ปราศจากไฟไหม้ได้

Heat detector มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?

เท่าที่อ่านจากตำราหลายๆเล่ม บางครั้งจะมีการแบ่ง 2 ชนิดตามลักษณะการทำงาน คือ แบบ Mechanical และ แบบ electronics ซึ่ง ณ ที่นี้แอดขอแบ่งตามลักษณะการตรวจจับแล้วกันครับ เพื่อให้เห็นถึงการใช้หลักการในการตรวจจับความร้อนและสอดคล้องกับทางผู้ผลิตเมื่อเราทำการสั่งซื้ออุปกรณ์มาครับ

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector) 

Heat Detector ชนิดตรวจจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector) อุปกรณ์จะทำงานเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 10 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 1 นาที โดยการทำงานของ Heat Detector ชนิดตรวจจับอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector) จะมีการทำงานเมื่อความร้อนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีผลให้ส่วนรับความร้อนของ HeatDetector ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนไปดันกลไกที่อยู่ภายในและส่งสัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้ออกมา

รูปแสดง Heat dtector ชนิด Rate-of-Rise Heat Detector Credit:https://santofire.co.th/

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature Heat Detector)

Heat Detector ชนิดการตรวจจับอุณหภูมิคงที่ จะเปแ็นอุปกรณ์ที่จะแจ้งเหตุไฟไหม้เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่กำหนดไว้ ซึ่งทางผู้ผลิตจะมีย่านอุณหภูมิให้เลือกใช้ หลักการทำงานจะคล้ายๆกับ Thermostat คือประกอบด้วยโลหะ 2 ชนิดที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวต่อความร้อนที่ต่างกันซึ่งเมื่อถูกความร้อนจะเกิดการโก่งตัวขึ้นไปเตะกลไกภายในและส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ออกมา

รูปแสดง Heat detector ชนิด Fixed temperature Credit:https://santofire.co.th/

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector)

Heat Detector แบบตรวจจับความร้อนชนิดรวม เป็นการนำเอาคุณสมบัติของ Heat Detector แบบตรวจจับอุณหภูมิคงที่ และ แบบตรวจอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น(Rate-of-Rise Heat Detector) มาไว้ในอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนตัวเดียว ทำให้ Heat Detector ชนิดนี้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นสามารถตรวจจับความอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

รูปแสดง Heat detector ชนิด Combination Heat Detector Credit: https://santofire.co.th/

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนที่เพิ่มขึ้น จนถึงจุดที่ ตั้งไว้ (Rate Compensate Heat Detector)

Heat Detector จะทำงาน ตรวจจับอัคคีภัยเมื่ออุณหภูมิภายในพื้นที่ที่ติดตั้งสูงขึ้นถึงจุดที่ตั้งไว้ล่วงหน้า(Compensate) ซึ่งอุปกรณ์สามารถตรวจจับความร้อนบริเวณรอบๆจุดที่ติดตั้งห่าง ออกไปได้ในระยะที่กำหนดไว้ได้

รูปแสดง Heat detector แบบ Rate Compensate Heat Detector Credit:https://rybbfirealarm.com/

การเลือกใช้ Heat detector ให้เหมาะสม

สำหรับการเลือกใช้ Heat detector ไปติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ สิ่งแวดล้อมของบริเวณที่เราจะทำการติดตั้งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการเลือกใช้ชนิดของ Heat detector และที่สำคัญระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้มีคำแนะนำในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆไว้ ซึ่งเราจะต้องทำตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดนั้นๆ ด้วยครับ

Heat detector ชนิดตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature Heat Detector)

Heat detector ชนิดตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature Heat Detector) เหมาะสำหรับบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่นมากๆ หรือบริเวณที่เกิดควันไฟได้ เช่นบริเวณเครื่องจักร ห้องเก็บของ

Heat Detector ชนิดตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector)

Heat Detector ชนิดตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector) เหมาะสำหรับสถาณที่ซึ่งโดยปกติแล้วอุณหภูมิไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่มีความเย็นและความชื้น เช่น บริเวณทางเดิน

Heat Detector ชนิดตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector) 

Heat Detector ชนิดตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนามาให้สามารถติดตั้งได้กับทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นห้องที่มีอุณหภูมิคงที่หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงก็ตาม  

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่