Overall Equipment Effectiveness (OEE) มุ่งเน้นประสิทธิภาพในปี 2024

0

ค้นพบวิธีที่ Overall Equipment Effectiveness (OEE) มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นท่ามกลางสภาวะการขาดแคลนแรงงาน การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และเป้าหมายด้านความยั่งยืนในปี 2024

ในโลกที่ความไม่แน่นอนกลายเป็นเรื่องปกติ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจที่ชัดเจนว่าอะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ สะท้อนถึงความท้าทายต่อธุรกิจ แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่ยังคงชัดเจน คือ ความยืดหยุ่นทางธุรกิจ นี่เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องหา Solution เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ใช้งานสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลายเป็นสิ่งที่ชัดเจนในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจจากการหยุดชะงักที่คาดไม่ถึง ไม่ว่าจะต้องต่อสู้กับการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ความผันผวนของตลาด หรือวิกฤตการณ์ทั่วโลก ความยืดหยุ่นของธุรกิจอาจมีอิทธิพลอย่างมากในความยั่งยืนกับความไม่แน่นอนในอนาคต

การเตรียมธุรกิจของคุณให้พร้อมสำหรับอนาคตมักจะรู้สึกเหมือนเป็นการไขปริศนาที่ซับซ้อน ด้วยการรวบรวมข้อมูลไว้ในแพลตฟอร์มแบบครบวงจร ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถลดความซับซ้อนของกระบวนการตัดสินใจลงได้ และได้รับมุมมองที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับวิธีเพิ่ม ROI (Return on investment) ของตนให้สูงสุด

ชิ้นส่วนปริศนาที่หายไป

หัวใจสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจ คือ ข้อมูล ข้อมูลดิบที่รวบรวมจากกระบวนการผลิตมักเป็นทรัพยากรที่ยังไม่ได้รับการจัดการและนำมาวิเคราะห์ ผู้ผลิตหลายรายพบว่าตนมีขุมทรัพย์ของข้อมูลแต่ขาดกระบวนการในการดึงศักยภาพสูงสุดออกมา ช่องว่างระหว่างการเก็บข้อมูลและการใช้งานอย่างมีประสิทธิผลเป็นจุดที่ธุรกิจต่างๆ มักจะพลาดไป

การปรับตัวทางธุรกิจสู่ความยืดหยุ่น การยอมรับว่าข้อมูลเป็นรากฐานที่สำคัญและเป็นสิ่งที่สำคัญในการประกอบการตัดสินใจต่างๆ หลัก Overall Equipment Effectiveness (OEE) คือการวัดที่ใช้ข้อมูล โดยนำเสนอความสามารถในการระบุผลกระทบสูงสุดสำหรับการเพิ่มผลผลิตในสายการผลิต

OEE ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักในการวัดประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงความพร้อมใช้งาน ประสิทธิภาพ และคุณภาพของเครื่องจักร เพื่อให้เห็นภาพประสิทธิภาพของการผลิตแบบองค์รวม ด้วยการพิจารณาประสิทธิภาพเทียบกับความสามารถของอุปกรณ์ การติดตาม OEE สามารถช่วยธุรกิจต่างๆ ให้เตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายที่อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต้องเผชิญ เราสำรวจความท้าทายหลักสามประการด้านล่าง

การขาดแคลนแรงงาน

ภายหลังเหตุการณ์ Brexit และการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในปี 2020 อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะอย่างมาก

ในสถานการณ์เช่นนี้ การเพิ่มเวลาของทีมให้สูงสุดเป็นความจำเป็นเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรยังคงมีบทบาทที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการผลิต ด้วยการใช้การตรวจสอบ OEE ไม่เพียงแต่การปฏิบัติงานสามารถบรรลุประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับการใช้แรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการใช้กระบวนการที่มีความคล่องตัว แนวทางนี้ช่วยลดเวลาหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผน และลดความจำเป็นในการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานโดยรวมผ่านขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ และขั้นตอนการทำงานที่ได้รับการปรับปรุง อุตสาหกรรมจึงสามารถรับมือกับความท้าทายด้านแรงงานได้ มั่นใจได้ว่าสมาชิกในทีมทุกคนมีส่วนสนับสนุนกระบวนการผลิตโดยรวม ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนจาก ROI ที่เป็นบวก

การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

การเผชิญกับการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกและสภาวะวิกฤตอาหารทั่วโลก ด้วยการขาดแคลนวัตถุดิบทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นทั่วทั้งภาคส่วน การใช้ประโยชน์สูงสุดจากสินทรัพย์ทุกชิ้นกลายเป็นลำดับความสำคัญ ขณะนี้ทุกธุรกิจอยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ให้เร็วขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น แต่ใช้ทรัพยากรน้อยลง บ่อยครั้งการทำงานจะมีอัตรากำไรที่ต่ำ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มการใช้สินทรัพย์ให้สูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ลดเวลาหยุดทำงาน และลดของเสีย ด้วยการตรวจสอบ OEE ธุรกิจต่างๆ จะสามารถระบุสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว การหยุดทำงานและการบำรุงรักษาที่ไม่ได้วางแผนไว้ ขณะเดียวกันก็มั่นใจได้ว่าทรัพยากรทั้งหมดจะถูกนำไปใช้อย่างเต็มศักยภาพเพื่อการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่นและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปฏิบัติงาน

เมื่อเผชิญกับต้นทุนพลังงานและแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การดำเนินงานที่ยั่งยืนมากขึ้นจึงมีความจำเป็น นอกจากผลิตสินค้าได้แล้ว จะต้องไม่ลืมวิธีการในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิต สำหรับบางคนให้ความสำคัญกับการลดของเสีย เช่น น้ำ และพัฒนาระบบการผลิตให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการลดพลังงานที่ต้องใช้ อาจรู้สึกเหมือนเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน แต่มักถูกมองข้าม สายการผลิตที่ไม่ได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถเห็นวัสดุที่สูญเปล่าจากการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำ สายการผลิตที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสามารถลดการสิ้นเปลืองวัสดุและใช้ทรัพยากรน้อยลง การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นยังหมายความว่าการผลิตไม่จำเป็นต้องดำเนินการเป็นเวลานาน ส่งผลให้ใช้พลังงานน้อยลงและกระบวนการผลิตทมีความยั่งยืน ในที่สุดสิ่งนี้ก็สนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมต่อหน่วยต่ำกว่าที่สามารถทำได้ ด้วยการมุ่งมั่นเพื่อให้ได้ OEE สูงสุด ธุรกิจต่างๆ สามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การดำเนินงานที่ยั่งยืนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มอบโอกาสที่สำคัญในการสนับสนุนความยืดหยุ่นของธุรกิจลด CAPEX เพิ่มเติม

นำทุกปัจจัยมารวมกัน

ภาคการผลิตอาหารและเครื่องดื่มเผชิญกับความท้าทาย โดยพบว่าตัวเองอยู่ตรงจุดของการขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น และสภาวะจากวิกฤตอาหารทั่วโลก ไม่ต้องพูดถึงอัตรากำไรที่ต่ำในสภาพแวดล้อมการดำเนินงานอยู่แล้ว การทำงานเพื่อปรับปรุง OEE ไม่ใช่เรื่องง่าย ระบบตรวจสอบและวิเคราะห์แบบครบวงจร เช่น LineView เป็นตัวช่วยในการบรรลุเป้าหมายนี้ โดยทำหน้าตั้งแต่การตรวจสอบสายการผลิตไปจนถึงการติดตามเวลาหยุดทำงานของเครื่องจักร ก่อนที่จะระบุสิ่งที่ต้องการปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เหมาะสมที่สุดและลดทรัพยากรที่สูญเปล่า ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและบ่งชี้สิ่งที่ต้องการปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ท้ายที่สุดแล้วการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการโซลูชันโรงงานอัจฉริยะ เช่น LineView สามารถช่วยไขปริศนาข้อมูลให้กับผู้ผลิตและจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเพิ่ม ROI สูงสุดและสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

Credit : https://industrytoday.com/the-oee-puzzle-a-focus-on-efficiency-in-2024/

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่