Heat Pump ส่งผลอย่างไรกับ Decarbonization

0

กลับมาอีกครั้งหนึ่งครับ สำหรับบทความสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าสอดคล้องกับเทรนด์ Decarbonization บทความนี้เป็นอีกหนึ่งบทความในการเป็นแนวคิดอีกแนวคิดหนึ่งในการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังสนับสนุนแนวทาง Decarbonization อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโลกร้อน 

เอาละครับ เข้าเรื่องกันดีกว่า ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนครับ ว่า Heat pump หรือ ปั๊มความร้อนมันคืออะไร ปั๊มความร้อนคือเครื่องจักรชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผลิตน้ำร้อนหรือเครื่องทำความร้อน นิยมใช้กันกับโรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรม โดยอาศัยการถ่ายเทความร้อนนั่นแหละครับ 

หน้าที่หลักของ Heat Pump

หน้าที่สำคัญๆ ของ Heat pump หลักๆเหมือนกับ Air conditioner เรานี่แหละครับเพียงแต่แทนที่จะเอาความร้อนไปทิ้งโดยการระบายความร้อนอย่างเสียประโยชน์ จะความร้อนนั้นนำมาใช้อุ่นน้ำให้ร้อนขึ้นครับ ในส่วน coil เย็นก็สามารถนำไปปรับอาคารภายในอาคาร หรือโรงเรื่อนเพาะปลูกได้ครับ ซึ่งถ้าหากเป็นอาคารหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ปริมาณความร้อนที่ได้ยิ่งมีมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้งาน Air conditioner ทั่วไปอย่างแน่นอนครับ

ส่วนประกอบสำคัญของ Heat pump

ส่วนประกอบที่สำคัญของ heat pump คือ

1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบ heat pump ใช้ในการส่งต่อสารทำความเย็นผ่าน ชุดคอยล์เย็น (Evaporator )และ ชุดคอยล์ร้อน (Condenser)  เพื่อถายเทความร้อน ซึ่งโดยปกติแล้ว สารทำความเย็นจะถูกบีบอัดเพิ่มความดันและอุณหภูมิ ก่อนส่งต่อเข้าสู่ ชุดคอยล์ร้อน (Condenser)

2. ชุดคอยล์ร้อน (Condenser)

ชุดคอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้ารับสารทำความเย็นที่ถูกบีบอัดแล้วมาถ่ายเทความร้อนออก ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนสำคัญครับ สำหรับระบบแอร์ ทั่วๆไป เราจะทิ้งความร้อนที่ได้มาสู่อากาศภายนอกใช่ไหมครับ แต่สำหรับ ระบบ heat pump เราเอาความร้อนที่ได้นี่แหละครับมาใช้งานอีกซึ่งในส่วนนี้แหละครับที่เป็นพระเอกและแตกต่างจาก Air conditioner ทั่วๆไป ซึ่งการระบายความร้อนจะมีตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) โดยนิยมนำน้ำมาเป็นตัวระบายความร้อนจาก coil และเมื่อน้ำได้รับความร้อน ก็จะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นครับ

3. ชุดคอยล์เย็น (Evaporator)

ชุดคอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ระบายความเย็นออกมาจากสารทำความเย็น ทำให้เราได้อากาศเย็นออกมาครับซึ่งก็จะคล้ายๆกันกับ Air conditioner ทั่วไป

4. วาล์วขยายตัว ( Expansion valve)

วาล์วขยายตัว ( Expansion valve) ทำหน้าที่ในการรักษาแรงดันของสารทำความเย็น

5.เทอร์โมสตัด (Thermostat)

Thermostat เป็น sensor ที่ใช้ในการต่อต่อวงจรเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ได้ตามต้องการ บางผู้ผลิตอาจใช้ Temperature ที่เป็น sensor วัดต่อเนื่องมาควบคุมเพื่อให้อุณหภูมิมีความคงที่มากขึ้นก็เป็นได้ครับ

Credit: https://www.en-former.com/en/energy-from-the-rhine-sustainable-heat-from-river-heat-pump/

ข้อดี ข้อเสียของ Heat pump มีอะไรบ้าง

ข้อดี :

1.สามารถลดการใช้พลังงานในการเพิ่มอุณหภูมิของตัวกลางบางอย่างได้ผ่าน ชุด ชุดคอยล์ร้อน (Condenser) ซึ่งทำให้ต้นทุนพลังงานถูกลง

2.ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ เรียกได้ว่ารักษ์โลกเลยทีเดียวครับ

ข้อเสีย :

มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้นหลักๆ จะเป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchanger) ซึ่งต้องมีการดูแลมากขึ้น ซึ่งหลักๆจะเกิดตะกรันภายในท่อครับ แต่สามารถจัดการตระกรันดังกล่าวได้ไม่ยากเท่าไร และสามารถดูได้จาก Performance ของการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ครับ

อุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่น่าจะนำ Heat Pump ไปใช้งาน

1.โรงแรม ที่มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ และต้องการใช้ความร้อนในซาว์น่า ห้องครัว ห้องซักรีด หรือ สระว่ายน้ำ

2.โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ความร้อนหรือน้ำร้อน และเครื่องปรับอากาศเพื่อรักษาอุณหภูมิให้แก่พนักงาน

3.โรงพยาบาล ซึ่งมีการใฃ้เครื่องปรับอากาศและน้ำร้อนเป็นต้น

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่