Safety Fence รั้วนิรภัยป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร 

0
Safety Fence รั้วป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล 
Safety Fence รั้วป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล 

การติดตั้งอุปกรณ์ “Safety Fance” หรือ “รั้วนิรภัย” ถือเป็นการคิดออกแบบทางด้านวิศวกรรมเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องจักร หรือ หุ่นยนต์ ที่อยู่ในกระบวนการผลิต โดยรั้วนิรภัย Safety fence จะถูกออกแบบ และติดตั้งตามมาตรฐานสากล ISO13857 โดยส่วนประกอบของ Safety Fence จะประกอบด้วย แผงกัน (Panel Standard), เสา (Pole) , ประตู (Door), และระบบความปลอดภัยอัติโนมัติ (Automate safety system) ซึ่งการออกแบบและติดตั้งสามารถปรับขนาดให้เข้ากับความต้องการในการใช้งานของลูกค้า

โดยผลประโยชน์ที่ทางโรงงานได้รับ คือ จะทำให้การทำงานในกระบวนการผลิตมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตในการทำงาน  และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะระบบบริหารจัดการ และการใช้ PPE ได้อย่างมากเลยนะครับ

ทำไมต้องใช้รั้วนิรภัย Safety Fence ด้วยหละ ?

หน้าที่หลักของรั้วนิรภัย Safety Fence คือ “ป้องกันพื้นที่หวงห้าม หรือ อันตราย จากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง” โดยในงานอุตสาหกรรมส่วนมากจะใช้ป้องกันคนทำงานจากการทำงานของเครื่องจักรที่กำลังทำงาน หรือผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาใกล้ในส่วนของพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่หวงห้ามครับ  และรั้วนิรภัย Safety Fence เองจะไม่สร้างความรำคาญ หรือก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการทำงานต่อผู้ใช้เครื่องจักร หรือกระบวนการผลิต ,ระบบอัตโนมัติ และไม่เป็นอุปสรรคในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน คงทน และที่สำคัญต้องไม่เพิ่มอันตรายให้กับผู้ปฏิบัติงาน

เมื่อเราพูดถึงลักษณะของเซฟการ์ดของรั้วนิรภัย Safety Fence วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันว่าลักษณะของเซฟการ์ด หรือ ตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรมของ ILO (International Labour Organization) ว่ามีอะไรบ้าง

1. มีลักษณะการทำงาน เพื่อป้องกันอันตรายที่เชื่อถือ และไว้วางใจได้
2. สามารถป้องกันผู้ใช้เครื่องจักร หรือผู้อื่นที่เข้าใกล้ส่วนอันตรายขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงาน
3. ไม่สร้างความรำคาญ หรือก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการทำงานต่อผู้ใช้เครื่องจักร
4. ไม่เป็นที่กีดขวางต่กขบวนการผลิต หรือกระบวนการทำงาน
5. ทำงานได้โดยอัตโนมัติ หรือต้องใช้แรง หรือความพยายามน้อยที่สุด
6. สามารถปรับดัดแปลงให้เข้ากับลักษณะแรง และลักษณะของเครื่องจักรได้
7. ควรจะถูกติดตั้งอยู่บนเครื่องจักร คือ มีส่วนที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องจักรให้มากที่สุด
8. ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน การตรวจสอบการปรับเปลี่ยน และการซ่อมแซม
9. มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยที่ไม่ต้องทำการซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาบ่อยครั้ง
10. ทนทานต่อการทำงานตามปกติ และต่อการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงได้
11. มีประสิทธิภาพในการใช้งานยาวนาน
12. ไม่มีการเพิ่มจุดอันตรายให้แก่ผู้ใช้งานขึ้นอีก (โดยที่จะต้องไม่มีมุมแหลม ไม่มีคม จุดหนีบ จุดยืน หรือสิ่งอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้)
13. ต้องป้องกันอันตรายได้ไม่เฉพาะแต่อันตรายทั่วๆ ไป ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่รวมถึงอุบัติเหตุที่ไม่คาดว่าจะเกิดในขณะปฏิบัติงานด้วยถ้าทราบกันอย่างนี้แล้ว เรามาป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรด้วยรั้วเซฟตี้กันดีกว่าครับ (Safety First) ความปลอดภัยต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก และเป็นสิ่งที่สำคัญตัวรั้วเซฟตี้ที่ดี ระบบเซฟตี้ล็อค และการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน

ส่วนประกอบของระบบ Safety Fence

1. แผงกัน (Panel Standard)

แผงกัน (Panel Standard) ต้องเป็นแผงกั้นที่ได้ขนาดตามมาตรฐานกำหนด ขนาดช่องต้องเหมาะสม และกรอบลวดแนวนอน และลวดแนวตั้งเชื่อมเข้ากับโครงสร้าง ซึ่งจะทำให้เกิดแผงที่มั่นคง แข็งแรง และทนต่อแรงกระแทก โดยขนาดในการเลือกใช้ต้องเหมาะสมกับลักษณะอันตรายและพื้นที่ปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถสอบถามผู้ผลิตได้เพื่อให้สามารถออกแบบและกำหนดแผงกั้นที่ได้มาตรฐานได้ และที่สำคัญคือ สีต้องเด่น เห็นชัด โดยสีที่นิยมตามมาตรฐานคือ สี เหลือง-ดำ ทั้งนี้ผู้ใช้งานสามารถเลือกสีได้ตามความต้องการ  

ภาพตัวอย่างของแผงกัน (Panel Standard)

2. เสา (Pole) 

เสา (Pole)  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงแข็งแรง มีความสูงมาตรฐานให้เลือกได้หลายระดับ เช่น  1.50 เมตร 1.80 เมตร หรือ 2 เมตร หรือ สูงตามความเหมาะสมของพื้นที่ปฏิบัติงาน เสาจะมีขายึดพื้น ยึดเชื่อมส่วนต่อขยาย ฐานเชื่อมทำให้โครงสร้างมีความมั่นคงและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

ภาพตัวอย่างของเสา (Pole)

3. ประตู (Door)

ประตู (Door)ประตูทางเข้าจะเป็นประตูแบบสวิงมาตรฐานหรือประตูแบบสไลด์ด้านข้างก็ได้โดยสามารถเลือกขาดได้ตามความเหมาะสมนอกจากนี้ และยังมีน้ำหนักเบาสามารถใช้งายได้สะดวก และยังสามารถออกแบบให้ประตูมีระบบล็อคและสวิตช์นิรภัยได้ 

ภาพตัวอย่างของประตู (Door) ของ Safety Fence
ภาพตัวอย่างการติดตั้งของประตู Safety Fence

4. ระบบความปลอดภัยอัติโนมัติ (Automate safety system)

ระบบความปลอดภัยอัติโนมัติ (Automate safety system) ของรั้วนิรภัย สามารถออกแบบให้มีระบบ Safety interlock ในพื้นที่เขตอันตรายได้ เมื่อมีผู้ปฏิบัติงานผ่านเข้าไปในรั้ว ระบบการทำงานของเครื่องจักรจะหยุดลงทันที รวมถึงระบบล็อคหรือสวิตซ์นิรภัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน ตามความต้องการของทางโรงงาน หรือพื้นที่ ได้เลยครับ

ภาพตัวอย่างของประตูระบบความปลอดภัยอัติโนมัติ (Automate safety system)

หลักการป้องกันและควบคุมอันตราย (Hazard Prevention and Control) มีประสิทธิภาพ

ที่มา The National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH): USA

การป้องกันและควบคุมอันตราย (Hazard Prevention and Control)  ที่เป็นที่นิยมและพิสูจน์มาแล้วว่าเป็นแนวทางที่ดีและมีประสิทธิภาพ คือ การควบคุมตามหลักการ Hierarchy of Control ซึ่งแบ่งกันตามลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย โดยเรียงตามลำดับจากประสิทธิภาพการควบคุมที่ดีที่สุดมากจนถึงน้อยที่สุด  คือ 

  • การขจัดอันตราย (Elimination) ซึ่งการควบคุมอันตรายที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการกำจัดความเสี่ยงนั้นโดยสิ้นเชิง โดยการออกแบบ การวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพโดยการมุ่งเน้นให้กำจัดอันตรายหรือความเสี่ยงได้มากที่สุด 
  • การแทนที่ (Substitution) เมื่อไม่สามารถกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ ก็ทำการ แทนที่อันตรายด้วยสิ่งที่ปลอดภัยกว่า ด้วยวัสดุ กระบวนการ ปฏิบัติการ สารเคมี หรืออุปกรณ์ที่มีอันตรายน้อยกว่า   เช่น การเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและพื้นที่การทำงาน หรือการเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือที่มีความเสี่ยงและอันตรายน้อยกว่าแทน
  • การควบคุมทางวิศวกรรม (Engineering Controls) ถือเป็นหลักการการควบคุมอันตรายที่มีประสิทธิภาพและทำได้ง่ายด้วยการออกแบบทางด้านวิศวกรรมเพื่อ การปิดคลุมอันตราย (Enclosure of Hazards)  เช่น การปิดคลุมอย่างสมบูรณ์ของชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวของเครื่องจักร  หรือการออกแบบเพื่อกั้นการสัมผัสกับอันตราย (Barriers of Hazards)  เช่นรั้วกั้น การใช้เครื่องมือมาช่วยในการทำงาน หรือการทำการระบายอากาศ  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร ท่อดูดสารเคมีและเสียง เป็นต้น
  • การควบคุมทางการบริหารจัดการ (Administrative Controls) การควบคุมทางการบริหารจัดการ หรือการควบคุมการปฏิบัติงาน โดยเปลี่ยนวิธีการทำงาน มีแนวทางและขั้นตอนที่เหมาะสม เช่น การฝึกอบรม การวางแผนงาน การสับเปลี่ยนตารางเวลาทำงาน เปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงาน หรือดำเนินการป้องกันอันตรายในเขตพื้นที่งาน 
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) เพื่อลดความรุนแรงในการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง เช่น การใส่หมวกนิรภัย การใส่รองเท้านิรภัย ใส่ถุงมือ เพื่อลดการสัมผัสโดยตรงกับสารเคมี ความร้อน ความเย็น สิ่งมีคม แหลม

    จะเห็นได้ว่าการ หากจะป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือประเภทแขนกล หรือหุ่นยนต์ต่าง ๆ ควรเริ่มจากการออกแบบเพื่อกำจัดอันตรายหรือลดความรุนแรงของอันตรายที่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการทำงานจากเครื่องจักรยังมีอันตรายอื่น ๆ ที่การออกแบบตั้งแต่ต้นไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจากหากจะลดความเสี่ยงได้ทั้งหมดต้องมีการลงทุนที่สูงมาก ซึ่งไม่คุ้มค่า และไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง  ดังนั้นการดำเนินการป้องกันทางด้าน Engineering  หรือการควบคุมทางด้านวิศวกรรม ถือว่าเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากเมือเทียบกับวิธีการอื่น ๆ 

============================================

“อันตรายในการทำงานเราสามารถควบคุมและป้องกันได้
ให้คำปรึกษาและออกแบบรั้วป้องกัน
รั้วกั้นเพื่อความปลอดภัย ราวกั้นทางเดิน ราวกันตก เสากั้นกันชน
สามารถออกแบบปรับขนาดให้เข้ากับความต้องการในการใช้งานของท่านลูกค้า”

ช่องทางติดต่อ :
Tel: 02-101 9602
lineOA: @thaisupport
www.thaisupport.co.th

============================================

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #SafetyFence #รั้วนิรภัย

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่