โซลูชันพลังงานแบบบูรณาการ เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด 21% ขับเคลื่อน ‘รังสิต’ สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว

0
โซลูชันพลังงานแบบบูรณาการ เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด 21% ขับเคลื่อน ‘รังสิต’ สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว
โซลูชันพลังงานแบบบูรณาการ เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด 21% ขับเคลื่อน ‘รังสิต’ สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว

โซลูชันพลังงานแบบบูรณาการ เอสพี กรุ๊ป ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงานอัจฉริยะ ‘ม.รังสิต’ สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มสัดส่วนใช้พลังงานสะอาดร้อยละ 21

  • การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงานจะช่วยให้มหาวิทยาลัยมุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวที่ใช้พลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้ถึงร้อยละ 21 ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2567
  • มีการปรับใช้ GETTM Control ซึ่งเป็นระบบควบคุมคุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคารอัจฉริยะเพิ่มเติม หลังประสบความสำเร็จในโครงการนำร่องที่มีการติดตั้งระบบดังกล่าวกับอาคารนำร่องของมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ร้อยละ 40 พร้อมยกระดับความสะดวกสบายให้ผู้ใช้อาคารได้ร้อยละ 14

วันที่ 15 พ.ย.2566 มหาวิทยาลัยรังสิต เดินหน้าเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเอสพี กรุ๊ป (เอสพี) กลุ่มสาธารณูปโภคชั้นนำและผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืนในสิงคโปร์และเอเชียแปซิฟิก ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงานอัจฉริยะสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว

โดยเอสพี เป็นผู้นำโซลูชันพลังงานแบบบูรณาการที่ยั่งยืนมาปรับใช้ให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย ตลอดจนให้คำแนะนำเพื่อไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ่งประกอบไปด้วยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) พร้อมระบบการจัดการและจัดเก็บพลังงานแบบรวมศูนย์

รวมทั้งโซลูชัน GETTM (Green Energy Tech) ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะสำหรับอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้อาคาร โดยหากดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2567 โซลูชันเหล่านี้จะช่วยให้มหาวิทยาลัยมีสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดถึงร้อยละ 21 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 1,400 ตันต่อปี

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เอสพีและมหาวิทยาลัยรังสิต ยังร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับใช้โซลูชันพลังงานแบบบูรณาการที่ยั่งยืนให้มากขึ้นทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงระบบการทำความเย็นแบบศูนย์รวม (district cooling) เพื่อให้ระบบปรับอากาศสามารถประหยัดพลังงานมากขึ้น

การเพิ่มพื้นที่การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน รวมทั้งต่อยอดการปรับใช้ชุดระบบการจัดการพลังงานแบบดิจิทัลอัจฉริยะของ GETTM ซึ่งใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการดำเนินการอย่างยั่งยืน รวมถึงยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้อาคาร

ภายใต้โครงการนี้ เอสพีจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (PV) บนหลังคาขนาด 2 เมกะวัตต์ (MWp) บนอาคารจำนวน 9 หลัง และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำบริเวณสระน้ำ อาคาร 7 รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั่วทุกอาคารของมหาวิทยาลัย

โดยในโครงการนี้จะมีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งช่วยให้สามารถจ่ายพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตามความต้องการ โดยคาดว่าระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งเพิ่มจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2,749 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

เมื่อดำเนินการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ อาคารที่ตั้งของสำนักงานอาคารและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต (อาคาร 13) จะเป็นอาคารต้นแบบที่ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 100 เปอร์เซ็นต์ และจะเป็นอาคารแห่งแรกของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่มุ่งหวังจะได้รับสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

นอกจากนี้เอสพียังนำระบบ GETTM Control ซึ่งเป็นระบบร่วมศึกษาควบคุมคุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคารอัจฉริยะมาใช้ศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศในอาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาคารนำร่อง ได้แก่ พื้นที่ชั้น 2 อาคาร 12/1 และพื้นที่ชั้น 10 อาคาร 11 โดยใช้ระยะเวลาทดลองและสำรวจประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานให้ได้ร้อยละ 40 และยกระดับความสะดวกสบายให้ผู้อาศัยในอาคารได้ร้อยละ 14

โดยโซลูชันดังกล่าวได้ผสานความสามารถของ AI และ IoT เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและควบคุมเครื่องปรับอากาศผ่านการคำนวณจากปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนผู้ใช้อาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพื่อปรับปรุงการไหลเวียนของอากาศให้เหมาะสมและกระจายความเย็นทั่วทั้งพื้นที่

เมื่อเร็วๆ นี้ เอสพี กรุ๊ป ได้ประกาศติดตั้งระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางแห่งแรกในประเทศไทยให้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนซี ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกับ บ้านปู เน็กซ์ โดยเมื่อติดตั้งระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลางเสร็จสิ้นในปี 2567 จะสามารถทำความเย็นสูงสุดถึง 14,000 ตันความเย็น (RT)

และทำให้โครงการฯ สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 40 ล้านบาท (1.12 ล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปี พร้อมบรรลุเป้าหมายในการประหยัดพลังงานได้ร้อยละ 20 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 3,000 ตันต่อปี

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่