โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะเตรียมปล่อย “น้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี” รอบ 2 ในวันที่ 5 ต.ค.

0
โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะเตรียมปล่อย “น้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี” รอบ 2 ในวันที่ 5 ต.ค.
โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะเตรียมปล่อย “น้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี” รอบ 2 ในวันที่ 5 ต.ค.

โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะเตรียมปล่อย – วันที่ 29 ก.ย. เอเอฟพี รายงานว่า ญี่ปุ่นเตรียมระบายน้ำเสียปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผ่านการบำบัดจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 ต.ค.ที่จะถึงนี้ ภายหลังการปล่อยน้ำเสียครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา สร้างกระแสหวาดวิตกไปทั่วภูมิภาคและเกิดการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ภายหลังทางการจีนระงับการนำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่น

แม้ทางการญี่ปุ่นยืนยันว่าดำเนินการอย่างโปร่งใส รวมถึงเปิดเผยข้อมูลตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เก็บจากตัวอย่างน้ำและปลาในมหาสมุทรพบว่าระดับกัมมันตภาพรังสีอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เทปโก) บริษัทดูแลโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ ระบุว่า “การตรวจสอบหลังการระบายน้ำครั้งแรกเสร็จสิ้นแล้ว และการระบาย (ครั้งที่สอง) จะเริ่มในวันที่ 5 ต.ค.” เทปโกยังกล่าวอีกว่าน้ำเสียที่ปล่อยครั้งแรกมีปริมาณราว 7,800 ตัน จากน้ำเสียที่บำบัดแล้วทั้งหมดและรอการระบายรวม 1.34 ล้านตัน หรือเทียบเท่าน้ำในสระว่ายน้ำมาตรฐานโอลิมปิกมากกว่า 500 สระ

ทั้งนี้ การปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะซึ่งได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิซัดถล่มเมื่อปี 2554 คาดว่าจะใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะแล้วเสร็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับเริ่มกำจัดเชื้อเพลิงกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายสูงออกจากเครื่องปฏิกรณ์ที่พังเสียหาย

“เช่นเดียวกับการระบายน้ำเสียครั้งแรก เราจะติดตามระดับไอโซโทปต่อไป และจะแจ้งให้สาธารณชนรับทราบในรูปแบบที่เข้าใจง่ายตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์” นายอากิระ โอโนะ เจ้าหน้าที่ของเทปโกกล่าวกับผู้สื่อข่าว 

ขณะเดียวกันแม้ว่าจีนจะสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่น แต่กลับมีรายงานว่าเรือของจีนยังเดินหน้าจับปลานอกชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับที่เรือของญี่ปุ่นทำการประมง

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่