ความผิดพลาดในการซ่อมบำรุง Gear Box ใน Cooling Tower

0
CoolingTower top view
CoolingTower top view

Gearbox หรือ ชุดอัตราทดเกียร์ เป็นส่วนประกอบหนึ่งภายในคูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Tower) ทำหน้าที่ในการทดรอบของมอเตอร์ โดยการเปลี่ยนทิศทางแนวการหมุนของแกนมอเตอร์ และทำหน้าที่ขับใบพัดลม (Cooling Tower Fan) โดยบทความนี้จะขอมาแชร์ “กรณีศึกษา” ที่พบเจอมาในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเคสเรียนรู้เอาไว้ศึกษาเป็นแนวทางในการป้องกันในโรงงานของเพื่อนๆกันนะครับ

โดยเหตุการณ์กรณีศึกษาครั้งนี้ที่จะนำมาคุยกันในวันนี้เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้าแห่งหนึ่ง โดยมี Gearbox ของคูลลิ่งทาวเวอร์ยี่ห้อนึงที่ใช้อยู่ เพิ่ง overhaul (การซ่อมแซมเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ทั้งหมด) มาได้ 3 เดือน โดยความเสียหายคือ “ฟันเฟืองเสียหายหมด” ส่งผลให้ตอนนี้โรงงานหยุดผลิตทั้งโรงงาน และมีความต้องการให้ซ่อมชุดเกียร์ชุดนี้ให้กลับมาใช้งานได้เร็วที่สุด  

และที่แย่คือ “ไม่สามารถติดต่อบริษัทผู้รับผิดชอบงานนี้ได้เลย” เป็นเวลาเกือบๆ 2 เดือน ซึ่งเมื่อติดต่อได้แล้วก็ได้รู้ว่าบริษัทผู้รับผิดชอบงาน ได้ส่งเกียร์บ็อกซ์ไป Overhaul กับร้านที่ไม่ได้มาตรฐาน ก่อนที่จะนำไปติดตั้งและเดินเครื่อง

อาการความเสียหายของ Gear Box เมื่อซ่อมมาไม่ได้มาตรฐาน

อาการของชุด Gear box พัง โดยปกติถ้ามีความเสียหายที่เยอะระดับนึงเราสามารถสังเกตเห็นเองได้เบื้องต้น โดยอาการผิดปกติ คือ เสียงดังผิดปกติ (Abnormal Noise), มีความสั่นสะเทือน (Vibration) มากผิดปกติ , ความร้อนที่เสื้อของชุด Gear box มีอุณหภูมิสูง และน้ำมันเกียร์บ็อกซ์เปลี่ยนสีจากการเสื่อมคุณภาพ (จากความร้อนที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติ)

****ขอภาพ Gear box , Cooling tower , service ****

และจากข้อมูลเชิงสถิติที่ทางผู้เชี่ยวชาญด้านคูลลิ่งทาวเวอร์เล่าให้ฟังว่า 90% ของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในอุปกรณ์คูลลิ่งทาวเวอร์มักจะมีปัญหาที่ Gear box และความเสียหายส่วนใหญ่จะมีความรุนแรงสูง และใช้เวลาซ่อมที่นาน โดยที่ในบางกรณีชุด Gear box พังจนไม่สามารถซ่อมแซ่มให้กลับมาใช้งานได้เลยครับ 

ส่วนสาเหตุรายละเอียดงานซ่อมที่มีความผิดพลาดและเป็นไปได้จะมีรายละเอียดดังนี้นะครับ

  1. การติดตั้งโดยการใส่ฝาปิดซีลผิด ทำให้น้ำมันหล่อลื่น (Lube Oil) ไหลผ่านไม่ได้จึงเกิดการเสียดสีของโลหะระหว่างเกียร์ขับ กับเกียร์ตาม โดยจะมีความเสียหายที่รุนแรงมากๆ ถึงขั้นจะต้องทำการซื้อเกียร์ใหม่เลยครับ
  2. มีการนำ “แผ่นชิม (Shim plate)” ผิดประเภทมาใช้ในการปรับระยะเกียร์บ็อกซ์ทำให้ค่าที่ปรับระยะคาดเคลื่อน เป็นเหตุให้การขบกันของฟันเฟือง Gear box ในแต่ละตำแหน่ง เช่น Low speed shaft หรือ High speed shaft ขบกันในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เมื่อนำไปใช้งานก็ทำให้ ฟันเฟืองเกียร์บ็อกซ์เกิดปัญหา  

บทสรุปส่งท้าย

อายุงานโดยเฉลี่ยของ Gear box ที่ได้รับการ Overhaul อย่างถูกต้อง จะสามารถใช้ได้อีกอย่างน้อย 7-10 ปี แต่อย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้น เพิ่งซ่อมมาได้ไม่ถึง 3 เดือนก็พังแล้ว โดยในกรณีที่ Gear box เกิดความเสียหายในระดับนี้ยังไงก็จะต้องซื้อ Gear box ใหม่ซึ่งราคาสูงมากไม่นับรวมค่าสูญเสียโอกาสในการผลิต (LPO) ซึ่งการเชื่อมพอกในชุดเกียร์เป็นอะไรที่ไม่ได้แนะนำเลย

ดังนั้นการจะซ่อมชุดเกียร์ก็ควรเลือกทางร้านค้าที่ดี และมีคุณภาพ และที่สำคัญทางโรงงานควรกำหนดจุดตรวจสอบ สำหรับ Gear Box ให้ชัดเจนว่า จุดไหนทางโรงงานควรเข้าไปตรวจสอบร่วมด้วย (Witness Test) ก็จะสร้างความมั่นใจและป้องกันความเสียหายแบบรุนแรงได้แน่นอนครับ

===============================================

หากผู้ให้บริการที่ท่านเลือกมีความชำนาญและไว้ใจได้.. เรื่องอื่นๆที่เป็นปัญหาท่านจะแทบไม่ต้องคิดเลยครับ ผู้ให้บริการของท่านจะช่วยท่านคิดทั้งหมด ให้คำปรึกษาท่านได้ ยกตัวอย่างเช่น หากท่านมี budget ที่ค่อนข้างจำกัด และจำเป็นต้องปรับลดสเปคของคูลลิ่งทาวเวอร์ ท่านก็จะได้ทราบทั้งจุดดีและจุดด้อยของสิ่งที่ท่านเลือก และยอมรับความเสี่ยงได้ตั้งแต่แรก ไม่โดนหลอก และไม่มีเหตุการณ์เซอร์ไพรส์เกิดขึ้นแบบที่ท่านไม่ได้ระวังไว้ครับ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน หากท่านมีคำถามคูลลิ่งทาวเวอร์ หรือมีไอเดียสำหรับบทความถัดไปของเรา เสนอแนะและพูดคุยกันได้ที่อีเมล [email protected] นะครับ เราให้คำปรึกษา/ตอบคำถาม ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย 

===============================================

#นายช่างมาแชร์

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่