การปฏิวัติอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมยุค 5.0

0
IoT Machine Industry revolution
IoT Machine Industry revolution

ต้องยอมรับว่าโลกในยุคปัจจุบันมีการหมุนไปอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงที่ไวมากๆ ซึ่งโลกทุกวันนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) และเทคโนโลยี (Technology) ที่ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว หรือที่เราคุ้นเคยว่า Information Technology (IT) ปัจจุบันมีการเติบโตของการใช้ข้อมูลมากกว่า 1,000 เท่าเมื่อเทียบกับ 20 ปีที่แล้ว

ซึ่งแน่นอนว่า “ข้อมูล” ที่ว่า ไม่ใช่เพียงแต่การสื่อสารระหว่างมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่ทว่ายุคนี้ เครื่องจักร หรือ หุ่นยนต์ ก็มีการสื่อสารและพูดคุยกันตลอดเวลา ผ่านระบบควบคุมอัตโนมัติ หรือ Automation นั่นเองครับผม ยิ่งยุคสมัยนี้ “ความฉลาด” ของเครื่องจักรก็มีมากขึ้น แทบจะไม่ต้องรอให้มนุษย์มาควบคุมเลยด้วยซ้ำ

สำหรับบทความนี้ทางนายช่างมาแชร์จะขอพาเพื่อนๆ ไปดูว่า โรงงานอุตสาหกรรมมาถึงยุคนี้ได้อย่างไร ? แต่ละยุคอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง และยุคปัจจุบันในปี 2023 ได้ก้าวเข้าสู่ยุคโรงงานอุตสาหกรรม 5.0 แล้ว คืออะไร มีความสำคัญและกระทบต่อพวกเราอย่างไรบ้าง ? ตามไปดูกันนะครับ

ประวัติของยุคอุตสาหกรรมในแต่ละยุค

เพื่อนๆรู้มั้ยว่า อุตสาหกรรม ก็แบ่งไปตามยุคตามสมัยเช่นกันนะครับ ตั้งแต่การใช้คน, สัตว์, เครื่องจักร, ระบบการผลิต หุ่นยนต์ จนกระทั่งระบบ Big Data และ AI จะมีประวัติความเป็นไปเป็นมาอย่างไรบ้างครับ เริ่มจาก

1. “อุตสาหกรรมยุค 0.0” – ยุคเกษตรกรรมและการใช้แรงงานเป็นหลัก (Agricultural and Man-Power)

จริงๆยุค 0.0 อาจจะต้องไม่นับเป็นยุคอุตสาหกรรมครับ จะเป็นยุคที่คนส่วนใหญ่ทำงานด้วยเกษตรกรรม ปลูกพืช ทำสวน ทำไร่ เป็นยุคสมัยที่ “ใช้แรงงานจากคน” และสัตว์เป็นหลักครับ สินค้าสมัยนั้นก็จะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค เสื้อผ้าสิ่งทอต่างๆ นั่นเองครับ แน่นอนว่าปริมาณสินค้าก็จะผลิตได้น้อยเพราะใช้คนทำนั่นเองครับ

โดยยุคนี้จะอยู่ที่ประมาณปี ค.ศ. 1600 ซึ่งต่อ การติดต่อระหว่างประเทศและการเชื่อมต่อโลก (Globalization) ได้มีมากขึ้น ความต้องการและแลกเปลี่ยนสินค้าก็มีมากตาม จนกระทั่งการพัฒนาเชิงนวัตรกรรม (Innovation) จากนักวิทยาศาสตร์สมัยนั้น ก็ได้คิดค้นสิ่งที่เรียกว่า “เครื่องจักร (Machine)” ก็ได้ทำให้โลกใบนี้ก้าวเข้าสู่ยุคถัดไปนั่นเองครับ

2. “อุตสาหกรรมยุค 1.0” – ยุคเครื่องจักรกลและพลังงานไอน้ำ (Mechanisation water and Steam power)

ต่อมาในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1760 ในยุคนี้มีการเข้ามาของ “เครื่องจักร (Machine)” เข้ามามีบทบาทและช่วยมนุษย์ทำงานในอุตสากรรมเป็นหลักนะครับ โดยเริ่มมีการใช้หลักการของไอน้ำ (Steam) มาเป็นต้นกำลังขับเคลื่อนเครื่องจักรและกลไก โดยนักวิทยาศาตร์ โทมัน นิวโคแมน (Thomas Newcoman) และเจมส์ วัตส์ (James Watt) ซึ่งมีบทบาทในการคิดค้นและพัฒนาอย่างมากในยุคนั้นนะครับ

โดยการเข้ามาของเครื่องจักรในยุคนั้นสามารถมาช่วยคนทำงาน และสร้างผลิตภัณฑ์สิ่งทอได้มากกว่าเดิม 3 เท่าเลยนะครับ แต่สิ่งที่ได้มากกว่านั้นคืออุตสาหกรรมในการขนส่ง (Transportation) ซึ่งได้ผลิต รถไฟไอน้ำ (Steam Locomotive) และเรือกลไอน้ำ (Steam Boat) โดยเป็นตัวเชื่อมโลกเข้ากันและสร้างความต้องและแลกเปลี่ยนสินค้า Globalization แบบก้าวกระโดดเลยนะครับ

3. “อุตสาหกรรมยุค 2.0” – ยุค Mass Product และพลังงานไฟฟ้า (Mass Production and Electricity)

ในยุคนี้อยู่ช่วงประมาณปี ค.ศ.1870 โดยเป็นยุคที่โลกต้องการกำลังผลิตมหาศาล และบวกกับการกำเนิดสุดยอดของนวัตกรรมสำคัญนั่นคือ “เครื่องกำเนิดไฟฟ้า” ในปี 1830 ที่เรียกว่า ไดนาโม โดยนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังอย่าง “ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday)” ที่สามารถผลิตไฟฟ้านำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และในปี 1878 ทาง “โทมัส เอวา อิดิสัน (Thomas Alva Edison) ” โดยคิดค้น “หลอดไฟฟ้าแบบไส้” ออกมาเป็นความสว่างไสวทั่วโลกเลยครับ

แต่ยุคอุตสาหกรรมถูกเปลี่ยนไปด้วยนวัตกรรมทางไฟฟ้า โดยนักวิศวกร-นักฟิสิกส์ ชาวเซอร์เบีย อเมริกา ชื่อว่า “นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)” ที่ได้คิดค้น “ไฟฟ้ากระแสสลับ” ในปี ค.ศ.1900 ที่สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรมได้จริงๆ

จากข้อดีของพลังงานไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพสูง, ความสะดวกและหลากหลายกว่า, และความยืดหยุ่นและปลอดภัย ทำให้เกิด อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ ก็จะมีประสิทธิภาพที่มากกกว่ามหาศาล และยังสร้างนวัตกรรมระบบควบคุมคุมต่างๆ เลยส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมสมัยนั้นสามารถสร้างกำลังผลิตได้อย่างมหาศาล

ต่อจากนั้นพอมีเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพและกำลังการผลิตสูงๆ แล้ว ระบบการจัดการการผลิตแบบ Mass Product ก็ถูกคิดค้นขึ้นมาในยุคนี้เช่นเดียวกันครับ ยกตัวอย่างเช่น การผลิตรถยนต์ Ford ด้วยระบบสายพานการผลิตถึง 15 ล้านคัน/ปี เป็นต้นนะครับ

Electrical Motor EP.1 Wallpaper

4. “อุตสาหกรรมยุค 3.0” – ยุคคอมพิวเตอร์และระบบควบคุมอัตโนมัติ (Computers and Automation Robotics)

ในยุคนี้อยู่ช่วงประมาณปี ค.ศ.1969 เป็นยุคที่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้วยการมาของอุปกรณ์สุดอัจฉริยะอย่าง “คอมพิวเตอร์ (Computer)” จริงๆเจ้าคอมพิวเตอร์ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1822 แต่จุดที่พลิกผันวงการคอมพิวเตอร์มาจากการที่บริษัท UNIVAC ได้ทำการคิดค้นคอมพิวเตอร์เพื่อการพาณิชย์ (Comercial Computer) เจ้าแรกออกมา ในปี ค.ศ.1951 และตามมาด้วยการเขียนคุณ Grace Hopper สามารถเขียนภาษาคอมพิวเตอร์แบบ High Level Language ที่สามารถจะใช้สื่อสารกับเครื่องจักรได้นั่นเองนะครับ และต่อมาในปี 1964 ซึ่ง IBM ได้ออกเจ้าตัว Computer ส่วนบุคคลออกมาซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่มากๆครับ

จากนั้นพอคอมพิวเตอร์เริ่มมามีบทบาท นักพัฒนา หรือ Developer ก็ได้ทำการพัฒนาโปรแกรมและ Software ต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาเป็นระบบควบคุมอัตโนมัติในระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นพวกระบบ Instrument & Control System, Robotics ต่างๆ นั่นเองครับ ซึ่งทำให้การผลิตสินค้าในโรงงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาก

ไม่เพียงแค่ระบบคอมพิวเตอร์และระบบควบคุมเท่านั้น คอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทในการจัดงานงานบริหารต่างๆ เช่น ERP, CMMS, CRM (เพราะสามารถรวมรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว) นักบริหารต่างๆ ก็ได้สร้างระบบการจัดการงานผลิต และงานซ่อมบำรุงต่างๆ พวก TPM, Lean Manufacturing ต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นมาในยุคนี้นะครับ

ในส่วนของ Internet ก็ได้เกิดมาในยุคนี้ เช่นกันนะครับ แต่จะมีผลในเรื่องของการติดต่อสื่อสารผ่าน email และเป็นตัวเร่งกระบวนการ Globalization อย่างมากเลยครับ

4. “อุตสาหกรรมยุค 4.0” – ยุคของการเชื่อมต่อ และข้อมูล (Internet, Data Analytic, Connectivity)

ยุคนี้อาจจะเขยิบมาในปี ค.ศ.2000 เป็นยุคที่ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานจากยุคที่แล้วเลยครับ ทั้งในส่วนของ Internet, การบริหารข้อมูล และการเชื่อมต่อต่างๆ แต่ถูกพัฒนาต่อยอดจากในส่วนของอุปกรณ์ Hardware และโปรแกรม Software ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น , ไวขึ้น, หรือ เก็บข้อมูลได้มากขึ้น เลยส่งผลให้ประสิทธิภาพของยุค 3.0 พุ่งทยานจนสามารถทำอะไรใหม่ๆได้อีกเยอะเลยครับ ตั้งแต่ระบบ

Dashboard IoT Maintenance
  • IoT – Internet of Things หรือ การเชื่อมต่ออย่างเป็นโครงข่ายระหว่างเครื่องจักร อุปกรณ์ ระบบ และคนใช้งาน อย่างไร้รอยต่อ และ มีการเชื่อมต่อสัญญาณในบาง application ที่เป็นแบบไร้สายและสามารถส่งข้อมูลแบบทันท่วงที (Real-Time Monitoring)
    *ดังนั้นหลายๆเทคโนโลยีก็มีการก้าวหน้าไปอย่างมาก และยังสามารถลดต้นทุนได้มหาศาลเลยนะครับ*
  • Big Data Analytics คือ จำนวนและปริมาณข้อมูลที่ถูกเก็บจากการใช้งานหลายๆอย่าง เข้ามาปริมาณมาก ที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ คือ Cloud Servers
  • Artificial Intelligent (AI) หรือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ คือ ระบบการประมวลผลและ model การคำนวนข้อมูล Big Data ที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลและการคำนวนข้อมูลปริมาณมากๆ ให้ได้ “คำตอบที่ดีที่สุด” ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องจักรต่างๆในอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น ระบบการทำ Predictive Model ที่ทำการวิเคราะห์ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น, Machine Learning (ML) หรือการที่เครื่องจักรเรียนรู้จากข้อมูลเก่าๆว่า เคยทำงานประมาณๆนี้ในสภาวะแวดล้อมแบบนี้ แล้วถ้าสถาณการณ์แบบนี้ควรทำอย่างไรเพื่อได้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด
  • Cyber Security หรือ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจะคอยป้องกันระบบต่างๆที่เราได้ส่งข้อมูลให้ปลอดภัย ยกตัวอย่าง หากโจร cyber สามารถเปิดปิดวาล์วในโรงงานได้อย่างสบายใจ เค้าก็จะสามารถมาเรียกค่าไถ่ต่างๆได้นะครับ
  • ในส่วนของ Application อื่นๆ เช่น (1) การทำ 3D-Printing ที่สามารถปริ้นวัสดุในรูปแบบต่างๆตามใจชอบได้เลยครับ ทำให้เกิดการทำ Reverse Enginering รวมถึงการลดระยะเวลาก่อสร้างในโครงการต่างๆได้มหาศาลเลยครับ ที่เราเห็นคือ จีนสามารถสร้างตึกโรงพยาบาลโควิท-19 ได้ภายใน 7 วัน (2) ระบบ Autonomation ที่ทำให้คนไม่ต้องทำงานกับเครื่องจักรอีกต่อไป (3) ระบบแว่น VR และ Visual Reality ที่สามารถจำลองสถานการ์ณต่างได้ครับ

โดยในส่วนของระบบการค้าขาย ระบบ Website ก็ มาพลิกโฉมวงการการค้าและการตลาดอย่างมากครับ ทุกคนสามารถติดต่อกันโดยไม่ต้องเดินทางผ่านการประชุมผ่าน Internet เพียงแค่คลิกเดียว หรือการสืบหาข้อมูลต่างๆผ่านโลก Internet และ Website ก็สามารถเจอข้อมูลแทยจะทุกประเภทได้เลย ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่า “เป็นยุคแห่งการแข่งขันด้านข้อมูลกันอย่างแท้จริง” ในทุกๆด้านเลยครับ

แต่ทว่าการมาของเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ก็มีการนำระบบควบคุมอัตโนมัติ หุ่นยนต์ต่างๆ สามารถเข้ามามีบทบาททำให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนการผลิต (Cost Reduction) และยังช่วยลดระยะเวลาการผลิต (Lead Time) ได้อย่างมหาศาลเลยครับ ดังนั้นหลายๆโรงงานจึงไม่รอช้าที่จะนำระบบที่มีประสิทธิภาพสูงนี่มาใช้ครับ

แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การมาของเทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้การใช้แรงงานลดลง และทำให้คนงาน ตกงาน!!! อีกทั้งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งกระบวนการครั้งนี้ให้เปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็วและกระทันหันมาก แต่ในอีกมุมนึง ก็ยังขาดแคลนคนที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยี ดังนั้นปัญหาเหล่านี้จึงได้ถูกตระหนักขึ้นในหลายๆประเทศ หลายๆองค์กร ส่งผลให้การก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม5.0 เร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้

ในปัจจุบันเป็นยุค “อุตสาหกรรม 5.0” ยุคหุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติ (Mass Customisation & Cognitive System)

ในยุคนี้ถูกตั้งขึ้นมาใหม่แบบสดๆร้อนๆในปี ค.ศ.2020 เองครับ คือ การต่อยอดพื้นฐานเดิมแต่ว่าจะเป็นแนวคิดที่ว่า “การอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ (Collabrolative Robot)” อย่างลงตัว

ดังนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 5.0 จึงเป็นแนวทางทางในการทำความเข้าใจโลกของการผลิต และมีผลโดยตรงต่อการผลิต การขายและการตลาด ระบบเศรษฐกิจต่างๆ หากว่าบริษัทที่ไม่ปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจะกลายเป็นบริษัทสิ่งที่ล้าสมัย และไม่สามารถแข่งกับตลาดได้
*คู่แข่งมีต้นทุน น้อยกว่า, ผลิตสินค้าผลิตไวกว่า, และสามารถเข้าถึงลูกค้ามากกว่าจากการทำ Digital Marketing ที่ดีกว่า สุดท้ายก็ไม่มีจุดยืนในตลาดและเจ๊งในที่สุดครับ

แต่ก่อนไปจุดนั้นเราลองมาดูว่าอุตสาหกรรมยุค 5.0 มีคุณลักษณะอะไรบ้าง และแนวทางการไปจะไปทางไหนได้บ้างครับ

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ IoT กุญแจสำคัญสู่โรงงานอุตสาหกรรม 4.0

5 คุณลักษณะสำคัญของ “อุตสาหกรรมยุค 5.0”

(1) การปรับใช้โคบอท (CoBot ; Collaborative Robot)

หุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติการมาจากคำว่า Collaborative Robots หรือเรียกย่อๆ คือ Cobot โดยเป็น “หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อปฎิบัติการร่วมกับมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรม” เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้งานได้หลากหลายลักษณะงาน มีความปลอดภัย นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆได้รวดเร็ว (จากระบบ Machine Learning ที่มีประสิทธิภาพ)

CoBot ; Collaborative Robot หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ Credited by Qualitymag.com

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานได้จำแนกโคบอทออกเป็น 4 ประเภทตาม ISO/TS 15066 โดยแบ่งตามลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้ 
1. Safety monitored stop  โดยโคบอทประเภทนี้มีการทำงานร่วมกันกับมนุษย์น้อยที่สุด ซึ่งโคบอทประเภทนี้จะหยุดทำงานทันทีเมื่อตรวจจับได้ว่ามนุษย์เข้าไปในพื้นที่หรือใกล้กับโซนทำงานของหุ่นยนต์ 
2. Speed and Separation โคบอทประเภทนี้คล้ายกับ โคบอทประเภทแรก แต่ทว่ามีความแตกต่างกันตรงที่โคบอทประเภทนี้จะใช้ระบบ Vision Systems เพื่อลดความเร็วของหุ่นยนต์เมื่อพนักงานเข้าใกล้ และจะหยุดทันทีเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือการเข้าใกล้มากขึ้น 
3. Power and Force limiting เป็นโคบอทที่พบนิยมใช้มากที่สุด  โดยระบบมีการติดตั้งเซนเซอร์ป้องกันการชนอัจฉริยะ โดยจะหยุดทำงานทันทีเมื่อตรวจพบการสัมผัสกับคนทำงาน และจะใช้งานควบคู่กับแขนหุ่นยนต์ที่มีความเร็วต่ำหรือมีแรงยกน้อย เพื่อลดแรงปะทะ
4. Hand guiding เป็นโคบอทที่ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถสามารถควบคุมให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อสอนการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การตั้งโปรแกรมโคบอทง่ายขึ้น สามารถสอนได้อย่างรวดเร็วจากระบบ Machine Learning ช่วยลดเวลา Downtime ให้เหลือน้อยที่สุด

(2) การผลิตแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตรงจุด (Mass Customisation)

สำหรับยุคอุตสาหกรรม 5.0 ทางโรงงานสามารถควบคุมการผลิตและปรับแต่งสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดและราคา ซึ่งผลมาจากการทำระบบ IoT ในการเก็บข้อมูลทั้งในด้านของการเงิน ตลาด และระบบ Autonnomous ที่สั่งการแบบอัตโนมัติมาเปลี่ยนกระบวนการผลิตได้แบบ Real Time เลยนะครับ เพื่อให้กำไรของบริษัทหรือโรงงานสูงที่สุดนะครับ (บางที่ในอุตสาหกรรมอาจจะเรียกว่า Advance Control System) และจะส่งเสริมการผลิตสินค้าให้เหมาะสมด้วยการปรับแต่งกระบวณการผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ค่อนข้างไว

(3) การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environment Recognization)

อย่างที่เป็นกระแสในทุกๆวันนี้นะครับ โลกเราค่อนข้างได้รับผลกระทบต่อ Global Warming และมีการออกข้อกำหนดมากมายในอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทหรือโรงงานจะต้อง!! ปรับกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเหล่านั้น ไม่งั้นจะมีผลกระทบที่ค่อนข้างมากเลยครับ ยกตัวอย่าง กระแส Net Zero และ Carbon Credit ที่กำลังมาแรงเลยครับ และเป็นข้อกำหนดที่ Challedge หลายๆโรงงานขนาดใหญ่เลยครับ

Net,Zero,2050,Carbon,Neutral,And,Net,Zero,Concept,Natural

แต่ร้อยทั้งร้อย…หลายๆบริษัทไม่อยากที่จะปล่อยมลพิษ (Pollution) ออกสู่สิ่งแวดล้อมหรอกนะครับ แต่ประเด็นคือ สามารถทำได้ไหม?

ดังนั้นการควบคุมกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำ จะส่งผลให้การปล่อยมลพิษ หรือ สารไม่พึงประสงค์ออกไป จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากๆเลยครับ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะมาจากเทคโนโลยียุค 5.0 นั้นเองครับ รวมถึงเรื่องการนำ พลังงานสะอาด (Renewable Energy) มาใช้งาน ก็จะเป็นอีกแนวทางที่สามารถทำให้โรงงานอุตสาหกรรมก้าวไปสู่การเป็นบริษัทที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนะครับ

(4) ความเร็วและคุณภาพ (Lead Time & Quality)

แน่นอนว่า การเข้ามาของหุ่นยนต์ เทคโนโลยี AI การเชื่อมต่อระบบแบบ IoT และระบบควบคุมอัตโนมัติแบบ Autononomous สามารถเข้ามาเพิ่มความเร็ว และคุณภาพได้อย่างแม่นยำมากๆในยุคนี้ จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมได้อย่างมากครับ ซึ่งหากไปเทียบกับโรงงานที่ยังใช้คนอยู่ใน Scale เท่ากัน โรงงานที่ใช้คนอยู่จะเสียเปรียบในด้านของความเร็ว และคุณภาพ อย่างมากเลยครับ

(5) การเพิ่มความสามารถของบุคลากร(Competecny Management)

จากการเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ ที่รวดเร็ว และกระทันหัน ส่งผลกระทบต่อบุคลากรทั้งสองมุม คือ หุ่นยนต์มาแทนที่คนใช้แรงงาน และคนเหล่านี้จะไม่มีงานทำ และสอง คือขาดคนทำงานร่วมกับหุ่นยนต์อย่างเหมาะสม ดังนั้นสิ่งที่บริษัทส่วนใหญ่ทำ คือ ไม่ได้ไล่คนออกนะครับ แต่จะเป็นการพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้สูงขึ้น จนสามารถที่จะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ และข้อดีคือพอมีความสามารถมากขึ้นผลตอบแทนก็จะมากขึ้นตาม

ไม่ใช่แค่ในแง่ของคนทำงานนะครับ ในระดับผู้บริหารเองก็จะต้องมีคนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจและกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยุคนี้อาจจะเป็นตำแหน่ง CTO (Chief Technology Officer) ที่ดูด้านเทคโนโลยีต่างๆ แต่ทว่าถ้ายุคอุตสาหกรรมมาเต็มๆ อาจจะต้องมีอีกตำแหน่ง คือ CTO (Chief Robotic Officer) ก็เป็นไปได้นะครับ

ข้อดีของการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมยุค 5.0

หลังจากเขียนไปหลายๆเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยุค 5.0 นายช่างขอมาสรุปข้อดีสั้นๆ อีกทีนะครับ

  1. การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต
  2. เป็นบริษัทที่เป็นมิตรแลพคำนึงต่อสิ่งแวดล้อม
  3. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กร
  4. เพิ่มความยั่งยืนให้แก่บริษัท
  5. เพิ่มความสามารถของบุคลากรในบริษัท

จากประสบการณ์ของนายช่างมาแชร์เองนะครับ จะบอกว่าทุกวันนี้ตลาดในอุตสาหกรรมเปลี่ยนไปค่อนข้างไว มีการเปลี่ยนแปลงไวมากๆ ทั้งด้านของราคา สัญญา รวมถึงการเปลี่ยนยี่ห้อ เปลี่ยนคู่ค้า เรียกว่าทำแทบจะทุกวัน ดังนั้นการหาเทคโนโลยีต่างๆมาเป็นตัวช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมากๆเลยนะครับ จนมีคำพูดว่า “ถ้าเราไม่เปลี่ยน ก็จะมีคนอื่นมาเปลี่ยนแปลงเรา”

========================================================

สำหรับบทความนี้ก็ขอขอบคุณงานกิจกรรมดีๆจากทาง Mira and Subcon EEC 2023 งานแสดงเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ด้านการบำรุงรักษา ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต

6-8 กันยายน 2566 ที่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา จังหวัดชลบุรี

WebBanner_MiRA-SCT-1450x180

สนใจสอบถามการจองพื้นที่ : https://mira-event.com/2023/en/Exhibit_RequestForm.asp

รายละเอียดเพิ่มเติม:
Website: mira-event.com
Line: @miraevent

#นายช่างมาแชร์ #IoT #Technology #MIRA #SUBCON

========================================================

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่