เครื่องทำความเย็น Chiller [EP.1] : หลักการทำงานเบื้องต้นและส่วนประกอบ

0
Chiller EP.1 Wallpaper
Chiller EP.1 Wallpaper

ระบบ Chiller (ชิลเลอร์) หรือ “เครื่องทำความเย็นแบบหนึ่ง” ในระบบทำความเย็น โดยที่ระบบ Chiller จะเหมาะสมกับระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ เช่น ตึกอาคาร, สำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า หรือ​ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งในอุตสาหกรรมก็จะใช้ Chiller ไปใช้ในการผลิตน้ำเย็นเพื่อส่งเข้าไปยังเครื่องจักร เป็นต้นนะครับ

โดยจะทำหน้าที่ “ผลิตน้ำเย็น” หรือ “ปรับลดอุณหภูมิน้ำ” เพื่อส่งถ่ายน้ำเย็นที่ได้มานั้น ไปยังเครื่องปรับอากาศต่างๆ ในระบบทำความเย็นใหญ่อีกทีหนึ่ง

โดยตัว Chiller จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ๆคือ
1. ชิลเลอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Chiller)
2. ชิลเลอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller)

โดยในส่วนนี้จะขอไปลงรายละเอียดใน [EP.2] นะครับ

องค์ประกอบและการทำงานของระบบทำความเย็น

  1. Compressor ถือเป็นหัวใจของระบบนี้เลยนะครับ โดยทำหน้าที่ “เพิ่มความดันของสารทำความเย็น” ทำให้สารทำความเย็นกลายเป็นสถานะก๊าซ จากสารทำความเย็นที่มีความดันต่ำ และอุณหภูมิต่ำที่มาจากจาก Evaporator โดยสารทำความเย็นที่ผ่าน Compressor ที่เป็นก๊าซโดยมีความดันและอุณหภูมิที่สูง จะถูกนำไประบายความร้อนใน Condersor ต่อไป
  2. Condenser จะเป็นระบบที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น (ชนิดก๊าซ) ซึ่งหลังจากแลกเปลี่ยนความร้อนเสร็จ จะทำให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นก๊าซจะควบแน่น (Condense) กลับสู่สถานะเป็นของเหลวความดันสูง และวิ่งไปต่อที่ Expansion Valve
  3. Expansion valve ทำหน้าที่ “ควบคุมการไหล” และ “ลดความดันของ” ของน้ำยาเหลวที่ผ่านเข้าไปยัง Evaporator โดยจะลดความดันจนทำให้สารทำความเย็นสามารถระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นไอ ได้ที่อุณหภูมิต่ำๆใน Evaporator ต่อไป
  4. Evaporator เป็นตัว Heat Load ของเรา ที่ระบบ Chiller ของเราจะเข้าไปทำการลดอุณหภูมิ โดยเมื่อสารทำความเย็นที่มาจาก Expansion Valve เข้ามายัง Evaporator สารทำความเย็นของเรา จะไปทำการแลกเปลี่ยนความร้อนผ่านอุปกรณ์ Heat Exchanger จากนั้นตัวระบบ Heat Load ของเราจะเย็นลง ส่วนสารทำความเย็นของเราจะได้รับความร้อนและระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ (ด้วย Latent heat ซึ่งเป็นการดึงความร้อนได้ในปริมาณมากด้วยการเปลี่ยนสถานของสารทำความเย็น) จากนั้นสารทำความเย็นที่แลกเปลี่ยนความร้อนแล้วที่กลายเป็นสถาณก๊าซจะวิ่งไปต่อที่ Compressor และวนลูปแบบนี้ต่อไปนะครับผม

หลักการทำงานของ Chiller

แล้วพบกับสาระดีๆทางด้าน งานช่าง งานวิศวกรรม และงานอุตสาหกรรม แบบนี้ได้ในเพจนายช่างมาแชร์นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #Chiller

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่