ห้องสะอาด (Clean Room) [EP.1] : หน้าที่พื้นฐาน และประเภท

ห้องคลีนรูม หรือ Clean room หรือที่มีการเรียกกันว่า “ห้องสะอาด” (หรือ “ห้องปลอดเชื้อ”) จะเป็นห้องที่มีความสะอาดมากๆ ถึงมากที่สุด จะมีการควบคุมปริมาณฝุ่นละออง หรือ สิ่งปนเปื้อนต่างๆ ไม่ให้เกินระดับ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ แรงดัน ความเร็วของลม และระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องอีกด้วย

งานไหนบ้างที่ต้องใช้ห้อง Clean Room ?

ความต้องการของห้องคลีนรูม เกิดจากปัญหาของสิ่งปนเปื้อน หรือฝุ่นละอองต่างๆ ที่มาจากสิ่งต่างๆ ที่สามารถ “สร้างปัญหาให้กับผลิตภัณฑ์หรืองานที่กำลังทำ” มีตั้งแต่ห้องภายโรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้าต่างๆ

คุณสมบัติของห้อง Clean Room (Specification)

ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology) มาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ และส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องใช้สภาวะแวดล้อมที่สะอาดที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดี

Clean Room ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี คศ. 1961 โดยคุณ Willis Whitfield โดยห้องสะอาด จะต้องเป็นห้องที่มีการปิดมิดชิด มีการควบคุมมลสารในอากาศให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีความสะอาดเป็นไปตามระดับมาตรฐานความสะอาด และมีการควบคุมสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และความแตกต่างของความดันตามที่ต้องการ

โดยทั่วไปอนุภาคในอากาศ จะประกอบไปด้วยอนุภาคที่มีชีวิต (เชื้อจุลชีพต่างๆ) และอนุภาคที่ไม่มีชีวิต (ผง ฝุ่น) ห้องสะอาดทางชีววิทยา อุตสาหกรรมยาหรือโรงพยาบาล จะเน้นการ ควบคุมหรือป้องกันพวกเชื้อจุลชีพ

ส่วนห้องสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ที่ต้องการความ สะอาดมาก จะเน้นการควบคุมทั้งอนุภาคที่มีชีวิตและอนุภาคที่ไม่มีชีวิต เครื่องมือสำคัญในการ ควบคุมปริมาณอนุภาคใน Clean Room คือ แผ่นกรองอากาศชนิด HEPA (High Efficiency Particulate Air) ซึ่งสามารถกรองอนุภาคที่มีขนาด 0.3 ไมครอนได้มีประสิทธิภาพถึง 99.97%

ชนิดของ Clean Room

1. แบ่งตามลักษณะการไหลของอากาศ

  • Conventional Clean Room การไหลของอากาศเหมือนกับระบบปรับอากาศที่ใช้ทั่วไปแต่ใช้ตัวกรองแบบ HEPA filter และจำนวนครั้งของการเปลี่ยนอากาศมากกว่าเพื่อลดความสกปรกในห้อง โดยปกติจะมีระดับความสะอาดประมาณ Class 1,000 – 10,000
  • Horizontal Larminar Clean Room ลมที่ความเร็วคงที่จะไหลผ่าน HEPA filter ที่ติดตั้งเต็มพื้นที่ผนังห้องด้านหนึ่ง ผ่านเข้าสู่ห้องสะอาดแล้วถูกดูดกลับขึ้นด้านบนเพดาน กลับไปสู่ เครื่องเป่าลม ห้องชนิดนี้จะมีระดับความสะอาดประมาณ Class 100 นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคส์ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา เป็นต้น
  • Vertical Laminar Flow Clean Room ห้องนี้จะติดตั้ง HEPA filter เต็มเพดาน โดยอากาศจะถูกส่งลงจากเพดานผ่าน HEPA filter ในแนวดิ่ง และลมจะกลับผ่านพื้นที่ทำให้โปร่ง แล้วกลับสู่เครื่องเป่าลมเย็น มีระดับความสะอาดประมาณ Class 100 ในทางปฏิบัติเหมาะสำหรับ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคส์

2. จัดแบ่งตาม Class

  • Class 100 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 100 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
  • Class 1,000 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 1,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
  • Class 10,000 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 10,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต

3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

  • Industrial Clean Room เป็นห้องสะอาดที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ อิเลคโทรนิคส์ Microchip อุตสาหกรรมการผลิตสี ฟิล์ม และสารเคมีต่าง ๆ
  • Biological Clean Room เป็นห้องสะอาดที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตยา ห้อง ปฏิบัติการทางด้านชีววิทยา ห้องผ่าตัด เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ความดันอากาศในห้องจะ ต้องสูงกว่าความดันอากาศห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันมิให้สิ่งสกปรกจากห้องข้างเคียงไหลเข้าสู่ ห้องสะอาด
  • Biohazard Clean Room เป็นห้องสะอาดที่ใช้กับห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับ เชื้อโรคไวรัสหรือสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยความดันอากาศในห้องจะต้องต่ำกว่าความดัน อากาศห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อหรือสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพออกไป ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมภายนอก

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากทาง https://www.supakornsafety.com

แล้วพบกับสาระดีๆทางด้านงานช่าง วิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ ที่เพจนายช่างมาแชร์นะครับผม 

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์ #CleanRoom

นายช่างมาแชร์
นายช่างมาแชร์
ขอมาแชร์ความรู้ "งานช่าง เครื่องจักรกล และงานวิศวกรรม"ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

Related

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

228ผู้ติดตามติดตาม
1,580ผู้ติดตามติดตาม
356ผู้ติดตามติดตาม

Thanks Sponsor

Latest Articles

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ยินยอมใช้ Cookie สำหรับการติดตามการใช้งานเวปไซท์ นายช่างมาแชร์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหาและบริการ

บันทึกการตั้งค่า
×