การลดมลพิษ Carbon Footprint ก้าวสู่ NetZero ด้วยการลดการใช้พลังงานในโรงงาน

0
Net,Zero,2050,Carbon,Neutral,And,Net,Zero,Concept,Natural
Net,Zero,2050,Carbon,Neutral,And,Net,Zero,Concept,Natural

จากเหตุการณ์วาระสำคัญในวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการประกาศ “การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ของโลก” ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร

ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงที่จะแก้ปัญหาโดยกำหนดเป้าหมายหลักว่า “จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050)” และ “บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions)” ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งแน่นอนว่าในภาพส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมก็จะต้องปรับตัวเพื่อรับกับนโยบายที่ประเทศไทยได้ประกาศออกมา

ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ทำงานในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องปรับตัวรับกับนโยบายนี้แน่นอนไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นวันนี้ทางนายช่างมาแชร์จะขอมาแช์ความรู้เกี่ยวกับ Carboon Footprint, NetZero และการประหยัดพลังงาน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อที่ว่าบทความนี้จะได้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในโรงงานให้ก้าวไปสู่ Net Zero กันนะครับ

อะไรคือ Carbon Footprint กันนะ?

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณการปล่อย และดูดกลับของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions and Removals) ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือ จากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถวัดรวมได้อยู่ในหน่วยของ “น้ำหนัก (ตัน,กิโลกรัม) ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” หรือเทียบเท่านะครับ

โดยก๊าซเรือนกระจก (GHG) มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)

และตามมาตรฐานสากล หรือ ISO Standard จะแบ่งประเภทของคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็น 2 ประเภทหลักได้แก่
1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (ISO 14064) –  ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง
2. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (ISO 14067, PAS 2050) – หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งานรวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อ

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero

“Net Zero” คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จะเกิดขึ้นได้เมื่อก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดมีภาวะ “สมดุล” กับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ยกตัวอย่างเช่น หากผลรวมของ “มลพิษจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน” และ “การดักจับก๊าซคาร์บอน” มีค่าเท่ากับ “ศูนย์” แล้ว นั่นคือ Net Zero นั่นเองครับ

ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้เข้าใกล้ศูนย์มากที่สุด เพื่อ ดึงก๊าซเรือนกระจกที่สะสมในชั้นบรรยากาศ ลงมานั่นเองครับ

แนวทางการลดการใช้พลังงานเพื่อก้าวสู่ Net Zero

จากที่ได้เล่ามา เพื่อนๆคงจะรู้แล้วใช่ไหมครับว่า โรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องลดการใช้พลังงานเพื่อก้าวเข้าสู่ Net Zero เพื่อปรับตัวกับนโยบาย Carbon Neutrality ของทางรัฐบาลไทย

ดังนั้นหากโรงงานอุตสาหกรรมสามารถประหยัดพลังงานได้ โรงงานอุตสาหกรรมก็สามารถลดปริมาณ Carbon footprint และการเข้าสู่ Net Zero ดังนั้นเราลองมาดูไอเดียในการสร้างโปรเจคในโรงงานในช่วงปี 2022-2023 เพื่อเป็นแนวทางกันนะครับ ขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น

  • ลดการพึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานฟอสซิล หรือน้ำมันเชื้อเพลิง
  • พัฒนาการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นการปรับปรุงระบบ เพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานที่ไม่จำเป็น
  • จัดการของเสียด้วยการนำไปใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์แทนการฝังกลบ 
  • พัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่ง โดยเปลี่ยนมาใช้รถ EV หรือระบบขนส่งที่มีคาร์บอนต่ำ
  • ลดการใช้งานก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และคงประสิทธิภาพในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน

เทคโนโลยี Wireless Current Sensor เทคโนโลยีติดตามการใช้พลังงานแบบ Real Time

แต่ในบทความนี้เราขอโฟกัสที่การลดใช้พลังงานนะครับ โดยอาจจะขอยกตัวอย่างในการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น Wireless CT Sensor ที่จะช่วยให้โรงงานสามารถ Real-Time Monitoring การใช้ไฟฟ้าในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้อย่างมาก

โดยเทคโนโลยีนี้จะสามารถกระแสไฟฟ้าแบบ Real-Time , มีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย และยังเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบ IoT (Internet of Thing) เพียงแค่วางเซนเซอร์ไว้ในตำแหน่งที่ต้องการวัด หลังจากนั้นเซนเซอร์จะเก็บค่าแล้วส่งข้อมูลไปยังเกตเวย์ แล้วส่งต่อข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์, แทปเล็ต หรือ มือถือ เท่านี้เพื่อนๆ ก็สามารถตรวจวัด และติดตามค่าของกระแสไฟฟ้าได้อย่างง่ายดายเลยครับ

อ่านบทความเต็ม : การลดการใช้พลังงานด้วยการจับกระแสไฟฟ้า CT sensor

หากเพื่อนๆคนไหนสนใจก็สามารถโทรสอบถาม และขอติดต่อรับตัว demo มาทดลองได้ฟรีๆที่โรงงานของเพื่อนๆเลยนะครับ

นอกจาก Wireless Current Sensor แล้วทาง Murata ก็ยังมี Wireless sensor ชนิดอื่นๆ เช่น Vibration sensor, Temperature and humidity sensor , 4-20 mA Analog sensor หรือ Sensor อื่นๆ สามารถกดเข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ด้านล่างได้เลยนะครับ 

ช่องทางติดต่อมูราตะ

คุณเดชไชยนันท์ สอนโกษา (ทิว)

  • วิศวกรฝ่ายขาย
  • โทร: 080-142-0057 
  • อีเมล:[email protected]

คุณรชธร เอกนิตยบุญ (ปุ้)

  • วิศวกรฝ่ายขาย 

โทร: 081-132-4462  

อีเมล:[email protected]

คุณธนพร คุณากรเรืองกิจ (พลอย)

  • เจ้าหน้าที่บริหารงานขายและการตลาด 
  • โทร: 063-125-6151 
  • อีเมล: [email protected]

คุณณัฐกานต์ ปันส่งเสริม (แอน)

  • นักพัฒนาธุรกิจ 
  • โทร : 081-923-3462
  • อีเมล: [email protected]

สุดท้ายนี้หากเพื่อนๆมีคำถามสงสัยสามารถ inbox มาถามใน Facebook นายช่างมาแชร์ได้เลยนะครับ แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Reference :
https://www.bsigroup.com
https://ngpltd.co.uk/
https://www.greenpeace.org

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #CT #Current #กระแสไฟฟ้า #เทคโนโลยี

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่