ทฤษฎี Risk based inspection (RBI)

1
ทฤษฎี Risk-based inspection (RBI)
ทฤษฎี Risk-based inspection (RBI)

เพื่อนๆหลายคนคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างนะครับ สำหรับคำว่าวิธีการตรวจสอบ หรือ Inspection โดยใช้หลัก RBI แต่เคยสงสัยกันไหมครับว่ามันคืออะไร มีหลักการอย่างไร และวิธีการนี้สามารถช่วยโรงงานของเพื่อนๆได้อย่างไรกันบ้าง วันนี้เพจนายช่างมาแชร์จะขอมาอธิบายกันให้เข้าใจกันแบบง่ายๆกันเลยครับ

RBI คืออะไร?

RBI หรือชื่อเต็มของมันคือ Risk-based Inspection หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะหมายถึง การตรวจสอบโดยใช้เกณฑ์ความเสี่ยงเป็นตัวกำหนดแผนการตรวจสอบนั่นเองครับ (ต่อไปนี้จะขออนุญาตเรียกสั้นๆว่า “RBI” นะครับ) โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็น PM Plan สำหรับงานซ่อมบำรุงรักษาต่างๆ หรือการตรวจสอบ Inspection ใดๆก็ตาม จะสามารถแบ่งการกำหนดความถี่ในการทำได้ 3 แบบหลักๆ ดังนี้ครับ

  1. แบบ Routine หรือ Fixed interval ครับ โดยวิธีนี้จะกำหนดรอบในการทำงานแบบตายตัว ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยน Filter ของอุปกรณ์ทุกๆ 1 ปี หรือมีการตรวจสอบปั๊มทุกๆ 6 เดือน
  2. แบบ Condition based หรือแบบที่กำหนดรอบตามสภาพของอุปกรณ์นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ที่มีประวัติความเสียหายบ่อยๆ ก็จะปรับเพิ่มความถี่ในการซ่อมบำรุงรักษาให้บ่อยขึ้นครับ
  3. แบบ Risk-based inspection หรือ RBI จะเป็นวิธีการกำหนดแผนการตรวจสอบหรือ Inspection ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโรงงาน โดยจะจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบโดยใช้ความเสี่ยงมาเป็นเครื่องมือมาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจครับ

RBI สามารถใช้กับอุปกรณ์ชนิดใดบ้าง

RBI คือเครื่องมือที่สามารถช่วยในการจัดอันดับความเสี่ยงของอุปกรณ์จำพวก Pressure vessel ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Reactorเครื่องปฏิกรณ์, Distillation column หอกลั่น, Drum ถังรับแรงดัน, Heat exchanger อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนและรวมไปถึงระบบ Piping ท่อต่างๆภายในโรงงานอีกด้วยครับ

หลักการเบื้องต้นของ RBI

การนำ RBI เพื่อมากำหนดแผนการตรวจสอบอุปกรณ์สามารถใช้หลักการวิเคราะห์ได้ด้วยกัน 3 แบบคือ แบบเชิงคุณภาพ (Qualitative), แบบเชิงปริมาณ (Quantitative) และแบบเชิงกึ่งปริมาณ (Semi-quantitative) ซึ่งจะแตกต่างกันโดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมินนั่นเองครับ

RBI planning process

การประเมินโดยการใช้หลักการ RBI นั้น คือการประเมินโดยการพิจารณาหลักๆใน 2 แง่มุม ดังนี้

  1. Probability of failure (POF) หรือก็คือโอกาสในการเกิดความเสียหาย โดยพิจารณาจาก Damage mechanism หรือโหมดความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับอุปกรณ์นั้นๆ ว่ามีโอกาสมากน้อยอย่างไร โดยจะพิจารณาควบคู่กับผลการตรวจสอบที่ผ่านมาด้วยครับ
  2. Consequence of failure (COF) หรือก็คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่เกิดการรั่วไหลของสารที่อยู่ภายในอุปกรณ์ของเรานั่นเองครับ โดยจะพิจารณาใน 4 แง่มุมดังนี้ครับ
  • Economic ก็คือผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์หรือจะให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ต้องหยุดโรงงานหากอุปกรณ์ที่เราพิจารณาเสียหาย และจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหายด้วยครับ
  • Health & Safety ก็คือผลกระทบในแง่ของสุขภาพและความปลอดภัยของทั้งบุคคากรของโรงงานและผู้อยู่อาศัยในบริเวณข้างเคียงโรงงาน ในกรณีที่ได้รับหรือสัมผัสกับสารที่รั่วไหล
  • Environment ก็คือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงพื้นที่ ที่ต้องมีการฟื้นฟูสภาพหากเกิดการรั่วไหลของสารเคมี
  • Reputation ก็คือผลกระทบด้านชื่อเสียง, ผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของโรงงาน และผลกระทบต่อกฎหมาย
 ตาราง Risk matrix

โดยเมื่อพิจารณาเสร็จแล้วทั้ง POF และ COF ก็จะนำข้อมูลที่ได้ออกมาพลอตใส่ดาราง Risk matrix เพื่อกำหนดว่าอุปกรณ์ของเราที่พิจารณาทั้งหมดตกในความเสี่ยงระดับใด เพื่อที่จะสามารถใช้กำหนดแผนการตรวจสอบและเลือกวิธีการตวรจสอบที่เหมาะสมต่อไปครับ

ผลที่ได้จากการทำ RBI

การทำ RBI จะช่วยให้โรงงานของเราสามารถเลือกวิธีการซ่อมบำรุงรักษาและตรวจสอบได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถบริหารความเสี่ยงหรือ Risk management ที่อาจจะเกิดขึ้นกับโรงงานของเราอีกด้วยครับ

ประโยชน์ของการทำ RBI ประกอบไปด้วยดังนี้

  1. ช่วยลดความถี่ของการตรวจสอบและการหยุดเดินเครื่องอุปกรณ์ ทำให้โรงงานสามารถทำงานได้นานขึ้น
  2. ช่วยสร้างความมั่นใจว่าเทคนิคและวิธีการตรวจสอบเหมาะสมกับโอกาสในการเกิดความเสียหายของอุปกรณ์
  3. เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
  4. ช่วยเพิ่มระยะเวลาในการเดินเครื่องจักรอุปกรณ์และลดระยะเวลาการหยุดเดินเครื่องจักรอุปกรณ์

จบกันไปแล้วนะครับสำหรับเรื่อง RBI ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญมากๆเลยนะครับในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานของเรา ถ้าเพื่อนๆสนใจข้อมูลในเชิงลึกกว่านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก API 580 : Risk-based inspection และ API 581: Risk Based Inspection Methodology หวังว่าเพื่อนๆคงจะได้เข้าใจเกี่ยวกับ RBI กันมากขึ้นและได้เห็นว่าการทำ RBI นั้นมีประโยชน์ต่อโรงงานเป็นอย่างมากเลยนะครับ แล้วพบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ

1 ความคิดเห็น

  1. โดยหลักการจากที่กล่าวมา แต่ด้วยปัจจุบันในความเป็นจริง บริษัทที่ทำ Inspection และ NDT คือ ฝั่งที่ยังไม่ได้มีการ แนะนำลูกค้าให้เกิดความเข้าใจใน การทำ inspection ว่าที่มาที่ไป มาจากอะไร เราความเลือกด้วยปัจจัยอะไร และผล inspection ที่ได้มาจะนำไป ใช้งานต่อได้อย่างไร เพียงแต่ใช้ช่องว่างว่า ต้องมีการตรวจสอบ จึงต้องทำตาม Code ซึ่งไม่เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน หากไม่ใช่ตัว User เองที่รู้เรื่อง RBI ทางผู้ให้บริการก็จะไม่แนะนำอะไรเพิ่มเติม และยังดึงไปในส่วนของ การ discount เพื่อให้ได้งานโดยไม่ได้ Balance Quality ให้เหมาะสม จนกลายเป็น Red Ocean ไปแล้ว

    ผม เป็นคนหนึ่งที่อยากผลักดัน RBI ให้เกิดความสำคัญต่อการใช้เพื่อสร้างระบบ Inspection ที่ประสิทธิภาพ และใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่ง RBI จะต้องเกิดจาก Data collection ที่เป็นระบบ ผนวกกับ Baseline Inspection เพื่อมี Reference สำหรับการพิจารณาควบคู่กับ Damage Mechanism เพราะ ข้อมูลกลไกความเสียหาย ตาม API 571 เป็นสถิติที่รวบรวมเพื่อเป็น Recommend to practice ซึ่งความเป็นจริง มักจะมี D/M เกิดขึ้นควบคู่กันไม่ต่ำกว่า 2 types เช่น

    Internal คือ Uniform corrosion จาก product ด้านใน
    External คือ Corrosion Under Insulation (CUI) เพราะมี ฉนวนหุ้ม และอาจเกิดการกักขังความชื้น รวมถึง อุณหภูมิที่สะสมอยู่ในช่วงที่เกิดความเสี่ยง
    และหาก วัสดุเป็น Stainless steel ส่วนความชื้นที่กักขังเป็น น้ำฝน ที่มี Chloride เจือปน ก็จะกลายเป็น Stress Corrosion Cracking (SCC) เพิ่มเติมด้วย เป็นต้นครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่