บริษัท เอเนอร์จี โดม (Energy Dome) สัญชาติอิตาลีเปิดตัวโรงงานระดับกริด (Grid) หรือ ศูนย์กักเก็บพลังงานแห่งแรกของบริษัท โดยอาศัยแหล่งกำเนิดของพลังงานเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 โดยโมเลกุลของคาร์บอนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ถูกกักเก็บไว้ได้นาน และปล่อยออกไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยความสามารถคือ “แบตเตอรี่คาร์บอนมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมถึงครึ่งเท่าตัว”
โดยในยุคปัจจุบันแนวโน้มของความนิยมในเทคโนโลยีสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ดังนั้นจึงมีการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาสร้างศูนย์จัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่และเทคโนโลยีศูนย์จัดเก็บพลังงาน (Energy Grid) อย่างต่อเนื่อง
หลักการทำงานของศูนย์กักเก็บพลังงาน
โดยหลักการทำงานของศูนย์กักเก็บพลังงานของ Energy Dome คือจะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ขยายตัวเมื่อเปลี่ยนจากสถานะของเหลว (Liquid) เป็นก๊าซ (Gas) ซึ่งจะเข้าสู่สภาวะคงตัวภายใต้แรงดันสูงในที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น ในอุณหภูมิห้อง คาร์บอนไดออกไซด์เหลวจะปริมาตรน้อยมากๆ เมื่อเก็บไว้ที่ความดันที่สูงมาก แต่ในทางกลับกันก็จะขยายตัวในรูปแบบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาตรที่มากกว่าเยอะมากๆ ในความดันปกติ
Energy Dome ได้สร้างโดมขนาดใหญ่ที่ปรับขนาดได้ ซึ่งภายในจะถูกบรรจุด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ “โดมเหล่านี้สามารถชาร์จแบตเตอรี่” โดยการใช้คอมเพรสเซอร์ (Gas compressor) ในการสร้างความดันและบีบอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มีปริมาตรที่เล็กลง จนกลั่นตัวเป็นของเหลวในที่สุด ซึ่งหลักการสำคัญคือ “การลดขยายขนาดของคาร์บอนไดออกไซด์นี้ก็จะไปผลักกังหันที่สร้างพลังงานได้” ทำให้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนขึ้นได้
ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ที่กลายเป็นสถานะของเหลวและจะถูกกักเก็บไว้ภายใต้แรงดันสูง (ที่อุณหภูมิปกติ) ทั้งนี้โดยในกระบวนการผลิตพลังงานนี้ “จะทำให้เกิดความร้อนเหลือทิ้ง (Watse Heat)” ซึ่งพลังงานความร้อนเหล่านี้จะถูกนำไปกักไว้ในระบบกักเก็บพลังงานความร้อนต่อไป
ทั้งนี้หากยังคงมีความดันสูงสร้างไว้ในระบบแล้วนั้น คาร์บอนไดออกไซด์เหลวเหล่านี้ก็จะถูกกักเก็บไว้ได้ในระยะยาว และหากเมื่อเราต้องใช้พลังงาน ระบบจะใช้ความร้อนที่เก็บไว้เพื่อระเหยคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นก๊าซ และชุดกังหันจะรวบรวมพลังงานกลับคืนสู่กริดเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ขยายตัวกลับเข้าไปในโดมนั้นเองครับ
ค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพของศูนย์เก็บกักพลังงาน
ประสิทธิภาพของพลังงานในระบบนี้ อาจยังไม่เทียบเท่าแบตเตอรี่ลิเธียมขนาดใหญ่ ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าประมาณ 75% แต่ “ค่าใช้จ่ายคือปัจจัยสำคัญ” แต่จากจุดมุ่งหมาย คือ ภายในเวลาไม่กี่ปี ต้นทุนการจัดเก็บและใช้งานคาร์บอนไดออกไซด์จะอยู่ที่ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ เมกะวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งหากเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมจะต่ำกว่า โดยค่าจัดเก็บและเสื่อมสภาพอยู่ที่ 132-245 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง
แม้ว่าโรงงานแห่งนี้จะมีขนาดเล็กพอสมควร เก็บพลังงานได้เพียง 4 เมกะวัตต์-ชั่วโมง และจ่ายพลังงานได้สูงสุดราว 2.5 เมกะวัตต์ แต่แนวคิดทางเทคโนโลยีตัวนี้ได้พิสูจน์แนวคิดนี้ว่าใช้งานได้จริง และโรงงานดังกล่าวยังถูกสร้างขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ที่หาซื้อได้ทั่วไปในโลก แสดงให้เห็นว่า การเปิดโรงงานแบตเตอรี่คาร์บอนเช่นนี้ เป็นไปได้
ทางบริษัท Energy Dome มีการดำเนินการวางแผนสร้างโรงงานไปแล้วในอิตาลี เยอรมนี แอฟริกา และตะวันออกกลาง และสามารถเปิดดำเนินการโรงงานเต็มระบบขนาดใหญ่ ซึ่งกักเก็บพลังงานได้ 200 เมกะวัตต์-ชั่วโมง และให้พลังงานสูงสุด 20 เมกะวัตต์ได้ก่อนสิ้นปี 2023 นอกจากนี้ เอเนอร์จี โดมกำลังจะย้ายไประดมทุนใน Start-Up ที่ระดับ Series B เพื่อช่วยในการขยายขนาดธุรกิจต่อไป
แหล่งที่มา :
https://energydome.com
https://newatlas.com/energy/energy-dome-co2-sardinia/
https://www.tnnthailand.com/news/tech
แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit : https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
#นายช่างมาแชร์