หน้ากากกรองฝุ่นและสารเคมี (respirators) อุปกรณ์ ป้องกันลมหายใจ

0

ปัจจุบันนี้ในบรรยากาศที่เราหายใจอยู่ มีสารแขวนลอย, สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมอยู่มากมาย อาจจะมองเห็นด้วยตา หรือที่ไม่สามารถมองเห็นได้ โดยเฉพาะ ในขณะปฏิบัติงานอาจมีปริมาณที่เยอะมากกว่าปกติ  หากมีอนุภาค หรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดจะส่งผลให้เกิดผลกระทบ และสร้างอันตรายต่อสุขภาพของคนทำงานได้ ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง

ดังนั้นการป้องกันระบบหายใจด้วยอุปกรณ์ป้องกันการหายใจจึงสำคัญเป็นอย่างมาก  โดย “อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ” เป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นต้องใช้หากสูดดมสาร หรือสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายที่เกิดจากการสูดดมได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้ คือ อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air Purifying devices), อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับหายใจ (Atmosphere supplying devices) และอุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Combination of air purifying devices and atmosphere supplying devices)

1. อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air Purifying devices)

อุปกรณ์จะกำจัดสารมลพิษออกจากอากาศที่ปนเปื้อน ละออง ฝุ่น สารเคมี อุปกรณ์ชนิดนี้จะใช้ในการทำงานที่มีปริมาณก๊าซออกซิเจนและระดับสารพิษอยู่ในช่วงที่อุปกรณ์สามารถที่จะใช้งานได้  อายุการใช้งานของอุปกรณ์ ทำให้อากาศบริสุทธิ์ ขึ้นกับปัจจัยที่แตกต่างกัน ทั้งในการออกแบบ คุณภาพและปริมาณของสารดูดซับ เส้นใย ความคงรูป และความหนาแน่น  รวมไปถึง สภาวะของการได้รับสารต่าง ๆ ด้วย เช่น ความเข้มข้นของสาร อัตราการหายใจ อุณหภูมิและความชื้น

1.1 อุปกรณ์สำหรับกรองอนุภาค (Aerosol respirators)

อุปกรณ์สำหรับกรองอนุภาค (Aerosol respirators) เป็นอุปกรณ์หน้ากากที่สามารถป้องกันอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศได้เช่นฝุ่นละอองฟูมแต่ไม่สามารถใช้ป้องกันก๊าซหรือไอสารเคมีได้ หน้ากากชนิดนี้จะมีแผ่นกรองอนุภาคในอากาศ ทำด้วยวัสดุที่เป็นเส้นใย ทำหน้าที่กำจัดอนุภาคบางชนิดหรือว่าหลายชนิดร่วมกัน  โดยมาตรฐานในการกำหนดประสิทธิภาพของหน้ากาก ดังนี้

อุปกรณ์สำหรับกรองอนุภาค (Aerosol respirators)

มาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกา

ประสิทธิภาพการกรองต่ำสุด (%) อนุภาคที่ใช้ทดสอบ

สำหรับอนุภาพที่ไม่ใช่น้ำมัน (ทดสอบด้วย NaCl) สำหรับอนุภาคที่เป็นน้ำมันและไม่ใช่น้ำมัน (ทดสอบด้วยละออง DOP) สำหรับอนุภาคที่เป็นน้ำมันและไม่ใช่น้ำมัน (ทดสอบด้วยละออง DOP) อายุการใช้งานนาน

95 N95 R95 P95

99 N99 R99 P99

99.97 N100 R100 P100

มาตรฐานสหภาพยุโรป

ชั้นคุณภาพ ประสิทธิภาพการกรอง% ความหมาย

P1 80 ใช้กับอนุภาพที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการทางกลได้แก่ ฝุ่น ละออง

P2 94 ใช้กับอนุภาคที่เกินขึ้นด้วยกระบวนการทางกลและความร้อน ได้แก่ ฝุ่น ละออง ฟูมโลหะ

P3 99.95 ใช้ได้กับอนุภาคทุกประเภทที่มีพิษมาก

1.2 อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจสำหรับก๊าซหรือไอ (Gas filter)

อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจสำหรับก๊าซหรือไอซึ่งใช้สารเคมีในการกรองเพื่อทำให้อากาศที่หายใจบริสุทธิ์โดยใช้ ตลับกรอง (Cartridges) ที่มีตัวดูดซับเป็นคาร์บอนที่สามารถกำจัดก๊าซหรือไอที่มีอันตรายได้ตัวดูดซับเป็นวัสดุก้อนเล็กๆที่มีรูพรุนทำปฏิกิริยากับอากาศหรือไอเพื่อทำให้อากาศบริสุทธิ์ตลับกรองสารเคมีจะมีความเป็นลักษณะเฉพาะของสารเคมีนั้นๆ   ตลับกรอง (Cartridges) สามารถป้องกันสารเคมีได้ในช่วงความเข้มข้น 10-100 ppm โดยปริมาตร

อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจสำหรับก๊าซหรือไอ (Gas filter)

ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซและอุปกรณ์ดูดซับที่ใช้ด้วย อุปกรณ์เหล่านี้ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานก่อน จึงสามารถนำมาใช้งานได้ ข้อจำกัดของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ ใช้ในพื้นที่ที่มีการะบายอากาศที่ดี  มีค่าออกซิเจนในอากาศปกติ ไม่ใช้ควรใช้ในสภาวะที่สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงมากในอากาศ 

การเปลี่ยนตลับกรองสารเคมีสามารถดูได้จาก แถบสี Indicator ที่เปลี่ยนไป การรั่วไหล การได้กลิ่นของสาร การระคายเคืองจมูก และลำคอ ตันหรือมีความต้านทานการหายใจสูงขึ้น หายใจติดขัด และใช้เกินอายุการใช้งานตามที่กำหนด

1.3 อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจแบบผสม

เป็นอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันอนุภาคในอากาศ  และสามารถป้องกันก๊าซและไอ ได้ด้วย โดยมีการผสมผสานกันระหว่าง แผ่นกรองอนุภาคกับตลับกลองสารเคมี  

อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจแบบผสม

2. อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับหายใจ (Atmosphere supplying devices) 

อุปกรณ์ชนิดนี้จะทำให้อากาศบริสุทธิ์เมื่อมาใช้งานกับผู้สวมใส่โดยไม่เกี่ยวกับอากาศภายนอก แบ่งเป็น 3 ประเภท 

1. อุปกรณ์ส่งอากาศทางสายแบบ Airline respirators

เป็นระบบที่ดึงอากาศบริสุทธิเข้าไปในหน้ากาก อาจจะมาจากเครื่องผลิตอากาศหรือถึงเก็บอากาศก็ได้ หนึ่งมีท่อต่อเข้าไปที่หน้ากาก อาจเป็นหน้ากากแบบครึ่งหน้าหรือเต็มหน้าก็ได้

อุปกรณ์ส่งอากาศทางสาย (Airline respirators)

2. อุปกรณ์ส่งอากาศทางสายแบบ Self- contained breathing apparatus (SCBA)

Self- Contained Breathing Apparatus (SCBA)  เป็นถังอัดอากาศที่ต่อเข้ากับหน้ากาก ใช้สำหรับป้องกันระบบทางเดินหายใจในบรรยากาศที่มี ก๊าซ ไอ อนุภาค และสภาพที่ขาดออกซิเจน หรือในสภาวะอากาศที่เป็นอันตราย การใช้ SCBA จะมีเวลาจำกัดในการใช้งาน ผู้ใช้งานจำเป็นต้องฝึกอบรมให้มีความรู้และเข้าใจก่อนนำไปใช้ใช้งาน

Self- Contained Breathing Apparatus (SCBA) 

3. อุปกรณ์ส่งอากาศทางสายแบบ Combination of SCBA and Air-line respirator

Combination of SCBA and Air-line respirator คือ ใช้ระบบ Air line ในการทำให้อากาศบริสุทธิผ่านหน้ากาก และมี SCBA ช่วยในกรณีฉุกเฉิน (Escape SCBA)  สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง ในขณะที่ Airline ผู้ปฏิบัติงานก็สามารถช่วยตัวเองออกจากบรรยากาศอันตรายได้อย่างปลอดภัยด้วย  Escape SCBA

3. อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Combination of air purifying devices and atmosphere supplying devices) 

เป็นที่นิยมใช้เนื่องจาก มีระบบ Air line และยังมีระบบ Air purifying device อยู่ด้วย จึงสามารถใช้งานได้เมื่อ Air supply มีปัญหา แต่มีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้าง คือ ไม่ใช้ในพื้นที่มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีถึงขีดทำให้เสียชีวิตในทันที่ ปริมาณออกซิเจนน้อยกว่า 19.5% ต้องใช้งานในช่วงความยาวที่กำหนดและความดันในช่วงที่กำหนดเท่านั้น

การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ(Respirator selection)

การเลือกใช้ควรเริ่มจากการประเมินอันตรายจากการหายใจก่อน โดยให้พิจารณาดังนี้

  • ศึกษากระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
  • ชนิดของอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
  • คุณสมบัติของสารอันตราย ความเข้มข้นของสาร 
  • ผลต่อร่างกายเมื่อได้รับสารเคมี
  • ค่ามาตรฐานของสารเคมี และค่ามาตรฐานที่อาจทำให้เสียชีวิต
  • ตำแหน่ง บริเวณที่มีสารอันตรายและระยะห่างจากบริเวณที่มีบรรยากาศบริสุทธิ์
  • ช่วงเวลาในการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
  • ลักษณะงานที่คนงานต้องทำในบริเวณที่อันตราย
  • ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันระบบอันตรายทางเดินหายใจ

การทดสอบอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ (Fit test)

 เนื่องจากคนงานมีความแตกต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นเพศ ความสูง อัตราการหายใจ ความแข็งแรงของร่างกาย โครงสร้างใบหน้า เป็นต้น ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจที่ใช้งานอาจมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบความพอดีของหน้ากาก (Fit test) เพื่อให้มั่นใจว่าหน้ากากมีความพอดีกับรูปร่างของแต่ละคน เพื่อป้องกันปริมาณสารเคมีที่อาจรั่วไหลเข้าไปในระบบหายใจจากการไม่พอดีของหน้ากาก

โดยอาจจะตรวจตรวจสอบในเชิงคุณภาพ เช่นการใช้กลิ่น ในการทดสอบ ถ้าหากผู้สวมใส่หน้ากากได้กลิ่นสารเคมีขณะใส่หน้ากาก แสดงว่าหน้ากากนั้นไม่พอดี  หรือจะทำการทดสอบใจเชิงปริมาณก็ได้ โดยวิธีนี้จะต้องมีการวัดปริมาณสารเคมีที่รั่วไหลผ่านหน้ากากด้วย  สำหรับการทดสอบความพอดีของหน้ากากควรทำอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง หรือ ควรทดสอบใหม่เมื่อคนงานมีสภาวะเปลี่ยนแปลงไปที่มีผลต่อความพอดีของหน้ากาก เช่น น้ำหนักเปลี่ยนไป เป็นต้น

============================================= 

สำหรับบทความนี้ต้องขอขอบคุณ​สปอนเซอร์ใจดีจากทาง “บริษัท ผลธัญญะ จำกัด(มหาชน)” ตัวแทนจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของหน้ากากป้องกันฝุ่นและสารเคมีจากทาง polyGard นะครับ

หากเพื่อนๆสนใจสามารถติดต่อได้ตามช่องทาง https://www.pholonline.com

หรือช่องทาง lazada, shopee โดยพิมพ์คำว่า pholonline 

ผลธัญญะ | ศูนย์รวมอุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล ครบวงจร

============================================= 

แล้วพบกับสาระความรู้ทางด้านงานช่าง และงานวิศวกรรมได้ในโพสต์ถัดๆไปนะครับ หรือสามารถตามสื่อตามๆของเราด้านล่างเลยนะครับ
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
#นายช่างมาแชร์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่