นักวิจัย MIT พัฒนาอุปกรณ์เปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำดื่มแบบพกพา

0
MIT-technology-wallpaper
MIT-technology-wallpaper

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย MIT ได้พัฒนาอุปกรณ์ขนาดพกพา ที่มีความสามารถที่ช่วยเปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำดื่มได้เลย และที่สำคัญมีน้ำหนักเบา และพกพาได้

จากผลงานวิจัยและการพัฒนาของนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือที่รู้จักกันในนาม MIT (Massachusetts Institute of Technology) โดยลักษณะมีรูปร่างคล้ายๆกล่องขนาด โดยสามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องกรองหรือปั๊มน้ำแรงดันสูง

อุปกรณ์นี้ยังเป็นเพียงอุปกรณ์ตัวต้นแบบ โดยความสามารถในการผลิตน้ำ 1 ลิตร/ชม. แต่ทว่าถ้าเป็นตัวอุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้ใช้จริง จะมีกำลังการผลิตมากกว่าตัวต้นแบบ 10 เท่า

หลักการทำงานของเครื่องผลิตน้ำจืด

โดยหลักการทำงานของเครื่องนี้ ใช้กระบวนการเปลี่ยนเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำดื่มโดยได้ “เอาเกลือและสารประกอบอื่น ๆ ออกไป” (ขั้นตอนที่คล้ายกับโรงงานผลิตน้ำดื่มจากน้ำเค็มขนาดใหญ่) แต่ว่าตัวนี้มีขนาดเล็กกว่ามาก และน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม

หลักการทำงานของเครื่องเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืด
หลักการทำงานของเครื่องเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืด

จึงสามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ยังใช้สนามไฟฟ้าช่วยในการจัดการกับโมเลกุลเกลือ แบคทีเรีย และไวรัส จึงทำให้น้ำดื่มที่ได้สะอาด และเหมาะที่จะนำมาใช้ดื่มกิน

การใช้พลังงานในการผลิตน้ำดื่มมีการใช้ที่น้อยมาก (ซึ่งน้อยกว่าการชาร์จโทรศัพท์มือถือ) โดยสามารถต่อแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กเพื่อใช้งานได้อีกด้วย

วีดีโอแสดงอธิบายอุปกรณ์เปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืด

#นายช่างมาแชร์ #Technology

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่