Hemp Rebar เหล็กเส้นจากกัญชง ไม่เป็นสนิม แถมไม่เป็นมลพิษ

0
hemp-rebar wallpaper
hemp-rebar wallpaper

หากพูดถึงนวัตกรรมยุคนี้คงมีหลายๆอย่างเดี่ยวกับ Big data และ IoT แต่ในในแง่ของวัสดุวิศวกรรม (Engineering Material) ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ล่าสุดมีการนำพืชมาใช้แทนเหล็กเส้น….ใช่แล้วครับเพื่อนๆฟังไม่ผิด “ใช้พืชมาทำเหล็กเส้น” !!!!

โดยนักวิจัยจากทางสถาบัยวิจัย Polytechnic Institute ได้พัฒนา “เส้นใยกัญชง (Hemp)” มาทดแทนเหล็กเส้น (Rebar) ซึ่งประโยชน์ที่คาดหวังคือ การที่ไม่เกิดสนิมในเนื้อวัสดุ (Corrosion) และการลดปริมาณสารคาร์บอนมลพิษ (Carbon Emission) ที่เกิดจากเหล็กนั้นเอง

กัญชงเหล็กเส้น (Hemp rebar) คืออะไร?

จากเทคโนโลยีในการนำกัญชงมาทำเป็นวัสดุที่ใช้แทนเหล็กเส้น โดยมีข้อดีหลักๆสองอย่างคือ การไม่เกิดสนิม และการลดปริมาณมลพิษคาร์บอน ได้แล้วนั้น กัญชงเหล็กเส้นนี้ยังสามารรับแรงได้ไม่แพ้เหล็กเส้นแบบเดิมเลยสามารถนำไปรับแรงในคอนกรีตโครงสร้างได้

ตัวอย่าง Hemp Rebar จากการวิจัยของทาง RPI

ปัญหาอันหลีกเลี่ยงไม่ได้จากเหล็กเส้นแบบเดิม

ในการใช้เหล็กเส้นที่เป็นโครงสร้างในปัจจุบันหนึ่งปัญหาหลักๆเลยคือเรื่องของการเป็นสนิม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสะพาน, ถนน, เขื่อน, หรือ อาคาร ก็จะมีสภาพที่เสื่อมเร็วกว่าอายุที่คาดไว้ ซึ่งอายุก็อาจจะอยู่ราวๆซัก 40-50 ปี ; อ้างอิง Rensselaer Polytechnic Institute (RPI). ซึ่งหากไม่มีปัญหาเรื่องการเกิดสนิมแล้วอายุการใช้งานก็จะเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

แต่ในปัจจุบันหากเจอสภาพแวดล้อมที่เป็นกัดกร่อนมากๆ (Highly corrosive environments) การพิจารณาใช้เหล็กเส้นก็จะถูกเปลี่ยนไปใช้เป็น GFRP rebar ซึ่งทนกว่า แต่ทว่าในแง่ของกระบวนการผลิตแล้วนั้นก็สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มากกว่าเช่นกัน

การผลิต Hemp Rebar หรือ กัญชงเหล็กเส้น

โดยการ Hemp Rebar นั้นจะใช้วิธีในการดึงขึ้นรูป หรือ Pultrusion Process  ซึ่งเส้นใยจะถูกดึงเข้ากัยตัว Thermoplastic และเข้าสู่กระบวนการให้ความร้อนและหลอมละลายจนกลายเป็นของแข็งแบบแท่ง (Solid Bar)

โดยขึ้นตอนแรกเลยคือการทำให้กัญชง (Hemp) กลายเป็นเชือกที่มีส่วนผสมจาก เส้นใยธรรมชาติ และ เส้นใยพลาสติก – ซึ่งในส่วนนี้ทางนักวิจัย RPI กำลังพัฒนาส่วนผสมที่เหมาะสม

จากนั้นม้วนเชือกและป้อนเข้าเครื่องจักรเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป โดยเครื่องจักรเป็นเครื่อง CNC ขนาดพอๆกับรถ ECO Car โดยจะถูกบีบอัดเป็นเส้น และถูกทำให้เป็นรูปแบบที่ออกแบบไว้ ผ่านโปรแกรม

กัญชงเหล็กเส้น ถูกกว่าเหล็กเส้นแบบดังเดิม

โดยข้อดีของการผลิตนี้จะทำให้ลดเวลาในการก่อสร้างลงได้ โดยสำหรับโครงการใหญ่ๆนั้นสามารถนำเครื่อง On-site Pulstration Machine มาใช้ในกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ด้วย รวมถึงเรื่องค่า Law Material ที่ต่ำกว่าเหล็กเส้นแบบดั้งเดิมค่อนข้างเยอะเลยครับ

On-site Pulstration Machine ใช่หน้างานก่อสร้าง

แต่ทว่าทั้งหมดทั้งมวลก็ยังอยู่ในกระบวนการวิจัยและพัฒนานะครับ แต่ทว่าถ้าหากสำเร็จแล้ว แล้วสามารถนำไปใช้งานก่อสร้าง และเชิงพาณิชย์ได้แล้วนั้น ต้นทุนงานก่อสร้าง และงานซ่อมบำรุงของงานโครงสร้างจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียวครับ โดยวัสดุกัญชงนั้นก็มีหลายๆโครงการนำไปวิจัยและพัฒนาอีกหลายๆอย่างเลยครับ

อ้างอิง : https://www.dezeen.com/

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่