“เพราะรองเท้าสามารถเปลี่ยนได้ง่ายแต่เท้ามนุษย์เปลี่ยนไม่ได้” เท้าของมนุษย์มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก และสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหลไม่เคยติดขัด เท้าทั้งสองข้างของมนุษย์ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมดมากถึง 52 ชิ้น ทำงานร่วมกับข้อต่อ หลอดเลือด เอ็น กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทมากมาย ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัวของมนุษย์ ซึ่งช่วยให้คุณเดินวิ่งหรือกระโดด ได้อย่างเต็มที่เท้าจึงเป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ต้องใช้งานทุกวัน
การบาดเจ็บ หรือความเสียหายของเท้าจึงมีผลต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก มนุษย์จึงมีการคิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันเท้ามาอย่างยาวนาน ซึ่งปัจจุบัน เรารู้จักกันในชื่อที่คุ้นหู คือ “รองเท้า”นั้นเอง รองเท้า ถือเป็นเครื่องใช้ที่มนุษย์นำมาใช้กับเท้าเพื่อป้องกันอันตรายอันเกิดจากการสัมผัสกับพื้นผิวต่างๆ หรือการเจ็บเท้าจากการเดิน การกระโดด หรือ การวิ่ง ในปัจจุบันนั้น รองเท้ามีหลายประเภทตามวัสดุและประโยชน์การใช้งาน รวมถึง เป็นเครื่องแต่งกายที่มีความหลากหลายมาก ตามรสนิยมและแฟชั่นในแต่ละสมัย ทั้งรองเท้าแตะ รองเท้าผ้าใบ รองเท้าส้นสูง รองเท้ากีฬา และรองเท้านิรภัยสำหรับคนทำงานโดยเฉพาะอีกด้วย
ประวัติของรองเท้าเซฟตี้
นักโบราณคดี คาดการณ์ว่า มนุษย์ในสมัยโบราณนั้นมีการใช้รองเท้าเพื่อป้องกันเท้าจากอันตรายและสภาพอาศ มาอย่างยาวนาน โดยวัสดุที่ใช้นั้นไม่แข็งแรงทำให้ย่อยสลายได้ง่าย จึงไม่เหลือหลักฐานให้นักโบราณคดีได้พบเห็นได้อย่างง่ายดาย แต่จากการศึกษาสภาพกระดูกเท้าของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ พบว่ากระดูกหัวแม่เท้ามีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ช่วง 40,000 ถึง 26,000 ปีก่อน
นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานว่า สาเหตุที่ทำให้กระดูกมีขนาดเล็กลง ก็เพราะถูกรองเท้าบีบรัดนั่นเอง สำหรับหลักฐานรองเท้าชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ เป็นรองเท้าแตะ (sagebrush sandal) ที่พบในถ้ำฟอร์ทร็อค (Fort Rock cave) รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา มีอายุประมาณ 9,000 ปี ถือว่าเป็นรองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ทำจากวัสดุธรรมชาติ คือ เปลือกไม้ ซึ่งปัจจุบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและธรรมชาติ มหาวิทยาลัยโอเรกอน
ในประวัติศาสที่ผ่านมารองเท้าก็วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง จากการใช้เปลือกไม้ หนังหมี หนังวัว และวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาแล้ว กับปัจจุบันนี้ รองเท้ามนุษย์มีการพัฒนาไปอย่างมากมาย จนกลายเป็นอุตสาหกรรมและแฟชั่นระดับโลกเลยทีเดียว ไม่เว้นแม้แต่รองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้
จุดเริ่มต้นของรองเท้านิรภัยหรือรองเท้าเซฟตี้ (Safety shoes)
จุดเริ่มต้นของรองเท้านิรภัย หรือรองเท้าเซฟตี้ (Safety shoes) นั้นเริ่มต้นขึ้นในช่วง ศตวรรษที่ 16 ชาวฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง ใช้ ซาบอท (Sabots) ซึ่งทำจากไม้ทั้งชิ้น ทำให้กลวงและสามารถสวมใส่ได้ เพื่อป้องกันเท้าของพวกเขาตอนทำเกษตรกรรม ป้องกัน วัว และ ม้าเยียบเท้า และในยุคปฏิวัติอุสาหกรรม ในช่วงนั้นการเปลี่ยนคนงานที่ได้รับบาดเจ็บ มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการซื้อหรือผลิตอุปกรณ์เพื่อป้องกันการบาดเจ็บมาก
และด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจและการกดขี่คนทำงานทำให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวาง คนงานได้ใช้ Sabots นี้ในการทำลายเครื่องจักรต่าง ๆ ตอนประท้วงด้วยจึงเป็นที่มาของ Sabotaged ซึ่งแปลว่า การก่อวินาศกรรมนั้นเอง
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2492) ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมได้กลายเป็นประเด็นสำคัญมีหลายประเทศออกกฎหมายบทลงโทษและบทปรับที่รุนแรงมาก หลายบริษัทในยุคนั้นจึงต้องคิดวิธีการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกับบริษัท หนึ่งในมาตรการที่จำเป็นคือ การป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากเท้า
จึงมีการผลิตรองเท้านิรภัยขึ้นอย่างจริงจังประเทศเยอรมันนี เป็นประเทศแรกที่มีการผลิตรองเท้าที่มีหัวเหล็กให้พนักงานใช้งาน ป้องกันของตกหรือมากระแทกเท้า จนเกิดการแพร่หลายทั่วโลก
เมื่อเวลาผ่านไปก็มีการผลิตแผ่นเหล็กฝ่าเท้าด้วยเพื่อป้องกันของแหลมทิ่มตำเท้าด้วย และเนื่องจากมีการผลิตรองเท้านิรภัยออกมาหลากหลาย ทำให้ในปี พ.ศ.2513 “OSHA หรือ Occupational Safety & Health Act” หน่วยงานภาครัฐของเอมริกา ได้ออกกฎหมายบังคับเรื่องมาตรฐานรองเท้านิรภัยขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่ารองเท้านิรภัยสามารถป้องกันอุบัติที่จะเกิดขึ้นกับเท้าจริง และหลังจากนั้นก็มีมาตรฐานต่าง ๆ ออกมาอย่างมากมาย
จนถึงปัจจุบันนี้การเลือกใช้รองเท้านิรภัยจึงต้องผ่านมาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่ารองเท้านิรภัยได้มาตรฐานเหมาะสมกับการป้องกันอุบัติที่จะเกิดได้จริง ๆ
รองเท้า Safety Shoe ในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ รองเท้านิรภัยแบบยังคงพัฒนาตามยุคตามสมัย และแฟชั่นในปัจจุบัน มีออกแบบและสีสันที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการใช้ที่เหมาะสมและใช้ได้ในทุกโอกาสมากขึ้น แต่ถึงแม้จะพัฒนารูปแบบไปในทิศทางไหน ใจความสำคัญของรองเท้านิรภัยคือ การป้องกันเท้าของผู้สวมใส่ โดยต้องผ่านการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ อย่างเช่น เป็นไปตามข้อกำหนดของ OSHA หรือมาตรฐาน ASTM ของ USA มาตรฐาน EN ของยุโรป มาตรฐาน JIS ของญี่ปุ่น และ มอก(TIS) ของไทย เป็นต้น โดยจะขอยกตัวอย่าง ดังนี้
มาตรฐานของรองเท้า Safety Shoe
1. มาตรฐาน OSHA ซึ่งเป็นผู้ออกกฎหมายบังคับใช้ในประเทศอเมริกานั้น มีการบังคับให้นายจ้างต้องประเมินตรายภายในโรงงานว่ามีอันตรายอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับเท้าในลักษณะถูกกระแทก กด บีบ ถูกวัตถุหล่นหรือกลิ่งทับ ถูกของแหลมแทงทะลุ ถูกไฟฟ้าช็อต ถูกไฟใหม้ สัมผัสความเย็น ลื่นล้ม ลื่นไถลทำให้ตกจากที่สูง หรือแม้กระทั่งการบาดเจ็บจากล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า และโรคผิวหนังที่เกิดจากการใส่รองเท้า เป็นต้น การประเมินอันตราย ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกรองเท้านิรภัยที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานนั้นเอง โดยการเลือกรองเท้านั้นต้องได้รับมาตรฐาน ASTM F2413-11 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่ากันได้ ซึ่งมาตรฐานเป็นมาตรฐานกำหนดคุณสมบัติของรองเท้านิรภัยของประเทศอเมริกานั้นเอง
2. มาตรฐาน ASTM F2413 หรือ Standard Specification for Performance Requirements for Foot Protection ของประเทศอเมริกา มาตฐานดังกล่าวมีการแบ่งรองเท้าออกเป็น 2 ประเภท คือ
a) รองเท้านิรภัยสำหรับงานอุตสาหกรรมทั่วไป หรือ “รองเท้าหัวเหล็ก (Toe Cap)” ซึ่งเป็นรองเท้านิรภัยที่ใช้สสำหรับงานโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป มีคุณสมบัติป้องกัน การแทก (Impact:I) การบีบอัด (Compression:C) และแรงกดบนเท้า (Metatarsal:Mt) ถ้าผ่านมาตรฐานดังกล่าวจะได้รับสัญลักษณ์มาตรฐานเป็น I/C/Mt ซึ่งแต่ละตัวจะระบุระดับของมาตรฐานเป็นตัวเลขไว้ด้วย เช่น 75 หรือ 50 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวคือแรงที่กระทำต่อรองเท้านั้นเองมีหน่วยเป็น ฟุต-ปอนด์(ft lb)
b) รองเท้านิรภัยป้องกันเฉพาะด้าน เช่น ป้องกันแทงทะลุพื้น (Puncture Resistance:PR) การต้านทานจากแรงตัดของเลื่อยยนต์ (Chain Saw Cut Resistance;CS) และ รองเท้านิรภัยชนิดต้านทางกระแสไฟฟ้า (Electrical Hazard;EH) เป็นต้น
3. มาตรฐานสหภาพยุโรป EN345 หรือ ISO EN20345 มีการแบ่งรองเท้ากลุ่มที่หลากหลายเพื่อให้สามารถกำหนดคุณสัมบัติและวิธีการในการทดสอบมาตรฐานได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น รองเท้านิรภัยหัวเหล็ก(Steel Toe) ซึ่งจะถูกแบ่งย่อยเป็น Class I รองเท้าทำจากหนังและวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์โพลิเมอร์ Class II รองเท้าที่ทำจากยางธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์โพลิเมอร์
และในแต่ละ Class จะถูกแบ่งย่อยออกไปอีกตามคุณสัมบัติในการป้องกันของรองเท้า เช่น Class I แบ่งเป็น SB หมายถึง รองเท้าหัวเหล็กพื้นฐาน รับแรงกระแทกได้ 200 จูล และรับแรงบีบอัดได้มากถึง 15,00 นิวตัน S1 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมจาก SB คือ สามารถดูซับแรงกดที่เท้าขณะเคลื่อนไหวและต้านทานประจุไฟฟ้าสถิต S2 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมจาก S1 คือ มีคุณสมบัติกันน้ำได้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ และ S3 ซึ่งเป็นคุณสมบัติสูงสุดในกลุ่มนี้คือมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ พื้นรองเท้าสามารถต้านทานการเจาะทะลุและพื้นรองเท้าด้านนอกเป็นชนิดมีปุ่ม เป็นต้น และทั้งหมดนี้ต้องผ่านคุณสัมบัติพื้นฐาน คือ
- หัวรองเท้า (Safety Toes) ต้องให้การป้องกันแรงกระแทก (Impact) ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
- ผ่านการทดสอบแรงบีบ (Compression Test)
- วัสดุส่วนบน (The Upper Material) ต้องมีคุณภาพและความหนาที่สามารถต้านทานการขัดสี (Abrasion Resistance) ในระดับที่กำหนดไว้
- พื้นรองเท้า ต้องมีความต้านทานความร้อน (Heat Resistance) ความต้านทานการขัดสี (Abrasion Resistance) การดูดซับแรงกระแทก(Shock Absorption) รวมทั้ง ความต้านทานทั้งน้ำมันและสารเคมีชนิดที่ได้กำหนดไว้แล้ว (Resistance to both oil and certain chemicals)
4. มาตรฐาน มอก.(TIS) เป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดให้รองเท้าในประเทศไทยต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำ โดยมาตรฐานทั้งหมดอ้างอิงจากมาตฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป หรือ ISO EN20345 ตัวอย่างมาตรฐานรองเท้าที่ได้มาตรฐาน มาตรฐาน มอก.(TIS) และ ISO EN20345 เช่น รองเท้าเซฟตี้หุ้มข้อ ROCC รุ่น ECO รองเท้านิภัย ROCC 563 series รองเท้านิรภัย และ รองเท้าหุ้มส้น ROCC รุ่น FENIX เป็นและนอกจากนี้ในท้องตลาดก็มีให้เลือกอีกหลายรุ่นเช่นกัน
ปัญหาของการใช้รองเท้านิรภัย Safety
ในปัจจุบันพบว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานทุกเพศทุกวันต้องสวมใส่รองเท้านิรภัยเพราะเป็นข้อกำหนดพื้นที่พนักงานทุกต้องปฏิบัตินั้นเอง แต่ก็ยังพบปัญหาว่ามีพนักงานจำนวนมากที่ไม่ยากสวมใส่รองเท้านิรภัย เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น การเลือกใช้รองเท้านิรภัยที่ไม่เหมาะสมกับงาน มีความหลากหลายจนทำให้เลือกไม่ถูกต้องจนสับสน
รองเท้านิรภัยมีหนักมากทำให้ไม่สบายและปวดขา ปวดเมื้อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเท้า ใส่แล้วทำให้เกิดโรคผิวหนังอับชื้น ไม่มีขนาดให้เลือกใส่มากนัก หาซื้อที่เหมาะสมได้ยาก ไม่สวยงาม ไม่ตามแฟชั่น และซื้อแล้วไม่คุ้มเนื่องจากใส่ได้เฉพาะทำงานแต่ใส่ไปท่องเที่ยวไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วการใส่รองเท้านิรภัยที่ไม่ได้มาตรฐานหรือออกแบบมาไม่เหมาะตาม Ergonomic foot pad จะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ด้วยเช่นกัน
วิธีเลือกรองเท้านิรภัย
ต้องเหมาะสมกับลักษณะงานและลักษณะอันตราย ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเพราะการเข้าใจว่างานที่กำลังทำ มีอันตรายอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับเท้า เช่น ถูกกระแทก กด บีบ ถูกวัตถุหล่น ถูกทับ ถูกของแหลมแทงทะลุ ถูกไฟฟ้าช็อต ถูกไฟใหม้ ต้องสัมผัสน้ำมัน สารเคมีอันตราย ทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติรองเท้าที่เราจะเลือกซื้อมาใช้งาน เนื่องจากรองเท้านิรภัย แต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทำให้เหมาะกับลักษณะของงานที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าประเมินแล้วในพื้นที่ทำงานมีผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ก็ควรเลือกซื้อรองเท้าที่มีคุณสมบัติในการป้องกันไฟฟ้า
ผู้ที่ทำงานกับน้ำมัน ก็ควรเลือกที่มีลักษณะพิเศษป้องกันน้ำมัน หรือ โรงงานไม่มีความเสียงถูกทิ่ม แทงตำ ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกรองเท้าที่ป้องกันแรงทะลุพิเศษ โดยจะขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน มากขึ้น คือ หากประเมินว่าลักษณะงานมีความเสี่ยงในการกระแทก บดทับ มีการเคลื่อนไหวบ่อยครั้งในการทำงาน ต้องสัมผัสความชื้นหรือน้ำมัน และมีความเสี่ยงที่จะมีการเจาะทิ่มเท้า การเลือกรองเท้า รองเท้าเซฟตี้หุ้มข้อ ROCC รุ่น ECO RC21012 ซึ่งเป็นรองเท้าที่มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วนแถมใส่แล้วนิ่มสบายเท้า ได้รับมาตรฐาน EN Class I S3 รองรับการใช้งานที่หนัก คุณสมบัติการปกป้องครบครัน อึด ทึก ทน เป็นต้น
เข้าใจคุณสมบัติรองเท้านิรภัย
เนื่องจากในปัจจุบันรองเท้านิรภัยมีการผลิตออกมาหลายรุ่น หลายยี่ห้อ และหลากหลายคุณสมบัติ การทำความเข้าใจคุณสมบัติของรองเท้านิรภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อจะได้เลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การจะทราบคุณสมบัติของรองเท้านิรภัยให้ครบถ้วนนั้นผู้ซื้อควรสอบถามจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายจะสามารถรับทราบข้อมูลได้อย่างครบถ้วน เช่น ถ้าจะเลือกรองเท้า ROCC 563 series ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบ
การสอบถามข้อมูลจากผู้ผลิตเราจะพบว่าทั้ง 3 Series นั้นมีคุณสมบัติที่เหมือนกันคือ หุ้มส้นน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย ได้มาตรฐาน S1 steel toecap, EN ISO20345 หนังรองเท้าเซฟตี้ผลิตจากMicro Fiber พื้นรองเท้ากันลื่น สามารถใช้งานกับงานที่มีน้ำมัน น้ำ ได้ น้ำหนักเบา 480 กรัมต่อข้าง สวมใส่สบาย หัวเหล็ก 200 จูล รองรับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ผ้าซับในแบบ gray sandwich ระบายอากาศได้ดี รองเท้า Safety เป็น สีขาว รูปทรงทันสมัย น่าสวมใส่ พร้อมแผ่นรองพื้น EVA เพิ่มความนุ่มสบายให้กับฝ่าเท้า และช่วยลดการเมื่อยล้า
เมื่อต้องยืนนานๆ ลดการสะสมของแบคทีเรีย Anti-bacterial รองเท้านิรภัย สีขาวแถบดำ เหมาะกับอุตสาหกรรมทุกประเภท งานปิโตรเคมี งานอิเล็กทรอนิคส์ งานซ่อมบำรุง งานขนส่ง งานประกอบรถยนต์ ส่วนความแตกต่างของทั้ง 3 Series คือ รองเท้าเซฟตี้หุ้มส้น ROCC S1 รุ่น 563B-N เป็นรุ่นรองเท้านิรภัย สีดำแถบดำ รองเท้าเซฟตี้ ROCC Lightweight Serie RC563B เป็นรุ่นรองเท้านิรภัย สีดำแถบขาว และ รองเท้าเซฟตี้ ROCC Lightweight Serie RC563 เป็นรุ่นรองเท้านิรภัย สีขาวแถบดำ จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เราสามารถตัดสินใจในการเลือกซื้อรองเท้าได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ตรวจสอบมาตรฐานของรองเท้านิรภัย
มาตรฐานรองเท้าในโลกนี้มีหลากหลายมาตรฐาน สำหรับกฎหมายประเทศไทยนั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าการเลือกรองเท้านิรภัยมาใช้ในงานโรงงานอุตสหกรรมและงานก่อสร้างนั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.(TIS) เป็นอย่างต่ำ หรือมาตรฐานที่สามารถเทียบเคียงได้ เช่น มาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป EN345 หรือ ISO EN20345 เป็นต้น
เลือกคุณภาพพร้อมความสบาย
รองเท้านิรภัยนอกจากจะได้มาตรฐานที่กำหนดแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยที่ต้องพิจารณาคือ คุณภาพของรองเท้า เช่น วัสดุที่ใช้ คุณภาพหนังต้องดีสวยงาม ไม่เปื่อยยุ่ยฉีกขาด คุณภาพของเชือก คุณภาพของแผ่นพื้นรองเท้าต้องอยู่ ในสภาพดีไม่หลุดร่อน ไม่เยิ้มไปด้วยกาว หรือรอยฝีเย็บไม่เรียบร้อย อายุรองเท้าควรมีอายุการจัดเก็บในคลังโดยไม่ใช่งานนานที่สุดอย่างน้อย 1 ปีเป็นต้น โดยเฉพาะพื้น PU พื้นสังเคราะห์ต้องไม่หลุดร่อนก่อนเวลาอันสมควร
การเลือกขนาดให้เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการที่จะใส่แล้วทำให้เท้ารู้สึกสบาย ไม่ระคายเคือง จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของเท้าตัวเองให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาในการทำงาน
คุณภาพของการบริการของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย คือต้องมีบริการให้ผู้ใช้งานได้ทดลองการใช้งานจริง มีการประเมินผลการใช้งานจากผู้ใช้งานก่อนเลือกซื้อ บริการหลังการขาย การสนับสนุนสินค้าได้ทันเวลา และสามารถแก้ไขปัญหาต่างของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีบริการอบรมให้ความรู้กับผู้ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
การออกแบบที่ทันสมัยและใช้งานได้หลากหลาย
ในปัจจุบันรองเท้านิรภัยไม่ใช่เพียงแค่ป้องกันอุบัติเหตุได้เท่านั้นการออกแบบรองเท้าที่สวยงามทันสมัย มีผลอย่างมากในการตัดสินใจซื้อมาใช้งาน และมีผลต่อจิตใจของผู้ใส่เป็นอย่างมาก และหากซื้อมาแล้วสวยงามตามแฟชั่นนิยมก็สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายไม่เพียงใช้ในการทำงานเท่านั้น การนำไปใส่ท่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ หรือ ใส่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ก็จะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกทั้งปลอดภัยและคุ้มค่าไปพร้อม ๆ กัน
เช่น รองเท้า Rocc รุ่น FENIX-MC และ LC ซี่เป็นแบบหุ้มข้อและหุ้มส้น ได้มารตฐาน – S1 steel toecap, – EN ISO20345 เป็น รองเท้าเซฟตี้ หุ้มส้น ผลิตจากหนักแท้ (cow leather) สวยงาม พื้น PU/PU dual density นุ่มสบาย ทนทาน หัวเหล็ก รับน้ำหนัก 200 จูล พื้นเหล็ก น้ำหนัก 1.2-1.3 กิโลกรัม/คู่ ซึ่งถือว่าเบาสบายมาก รองเท้านิรภัย สีดำ รองในสีแดงทันสมัยน่าสวมใส่ เหมาะสำหรับงาน อุตสาหกรรมทุกประเภท งานอิเล็กทรอนิคส์ งานซ่อมบำรุง งานขนส่ง งานประกอบรถยนต์ จะเห็นได้ว่าสามารถรองรับการใช้ทำงาน และสามารถใส่ไปเที่ยวได้ใส่เท่มีสไตล์ ได้เลย มีเป็นต้น
การบำรุงรักษารองเท้านิรภัย
ถึงแม้รองเท้านิรภัยจะถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อทุกสภาวะแล้วก็ตาม แต่หากดูแลรักษาไม่ดี ก็อาจทำให้อายุการใช้งานน้อยลง หรือได้รับความเสียหายได้ การดูแลบำรุงรักษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับการดูแลรักษารองเท้านิรภัยเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ขอให้ผู้ใช้ปฏิบัติตามก็จะเป็นการดูแลรองเท้านิรภัยให้อยู่กับเราไปได้นาน นั้นก็คือ
เลือกรองเท้านิรภัยที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพและให้เหมาะกับขนาดของเท้า ไม่ควรให้หลวมหรือคับเกินไป
ผูกเชือกรองเท้าเซฟตี้ทุกครั้งและอย่าเหยียบขอบบนของรองเท้าเซฟตี้เพื่อป้องกันรูปทรงที่เสียไป
ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ใช้ครีมขัดรองเท้า ทำแบบนี้เป็นประจำเพื่อให้หนังรองเท้ามีความยืดหยุ่นและคงทน
หลีกเลี่ยงการใช้กรดหรือสารเคมีทำความสะอาด
ควรเก็บในที่แห้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ควรหลีกเลี่ยงการเก็บไว้ในที่อุณหภูมิสูงห่างจากแหล่งความร้อน และหลังใช้งานให้เอากระดาษหนังสือพิมพ์ขนาดพอเหมาะยัดเข้าไปในตัวรองเท้าเพื่อดูดซับความชื้นและกลิ่นไม่พึ่งประสงค์
จากอดีตเมื่อหลายหมื่นปี่ที่ผ่านมามนุษย์มีวิวัฒนาการในการป้องกันการบาดเจ็บจากเท้าที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์รู้ดีว่าเท้านั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ยุคเริ่มแรกของรองเท้านิรภัยนั้นเกิดจากการป้องกันเท้าในงานเกษตรกรรม จากสัตว์เยียบเท้า แต่ในปัจจุบันอันตรายที่เกิดจากเท้ามีมากขึ้นและรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในการทำงานทั้งอุตสาหกรรม การเกษตร และงานก่อสร้างต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องมีรองเท้านิรภัยติดไว้ประจำตัวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงที่อาจเกิดขึ้นกับเท้า อย่าลืมว่า “รองเท้าสามารถเปลี่ยนได้ง่ายแต่เท้ามนุษย์เปลี่ยนไม่ได้”
=============================================
สำหรับบทความนี้ต้องขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีจากทาง “บริษัท ผลธัญญะ จำกัด(มหาชน)” ตัวแทนจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของรองเท้า ROCC Safety Shoe , ร๊อกได้ทุกที่ ร๊อกได้ทุกเวลา
หากเพื่อนๆสนใจสามารถติดต่อได้ตามช่องทาง https://www.pholonline.com
หรือช่องทาง lazada, shopee โดยพิมพ์คำว่า pholonline
=============================================
แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit : https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
#นายช่างมาแชร์