เครื่องจักรของเรากำลังเจ็บปวดอยู่หรือเปล่า?

0

ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิต แน่นอนว่าเครื่องจักรต่าง ๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการผลิต เราคงไม่อยากให้เครื่องจักรของเราเสียจนไม่สามารถเดินสายการผลิตได้ และการบำรุงรักษาตามรอบ ตามที่ผู้ผลิตแนะนำเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อป้องกันเครื่องจักรของเราเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้

แนวทางการบำรุงรักษาที่ใช้กันตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะแนะนำให้เปลี่ยนอะไหล่ต่าง ๆ หรือเปลี่ยนของเหลวต่าง ๆ ตามรอบเวลา (Time-base Maintenance) ซึ่งจะกำหนดเป็นชั่วโมงการเดินเครื่อง (Running Hour) หากชั่วโมงเดินเครื่องถึงกำหนด ก็จะทำการเปลี่ยนอะไหล่หรือบำรุงรักษา ซึ่งเครื่องจักรชนิดเดียวกัน หากติดตั้งในพื้นที่ต่างกัน เงื่อนไขในการทำงานต่างกัน (อุณหภูมิ, ความชื้น, ความดันอากาศ, ปริมาณสารกัดกร่อน ที่แตกต่างกัน) ย่อมส่งผลให้อายุของอะไหล่นั้นแตกต่างกันไปด้วย ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องเผื่อ Safety Factor เอาไว้เพื่อให้เปลี่ยนอะไหล่ต่าง ๆ ก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น

Image by Peter H from Pixabay

แล้วถ้าหากเราปล่อยให้เครื่องจักรเดินเครื่องไปโดยไม่เปลี่ยนอะไหล่ตามกำหนดล่ะ (Run to Fail) จะเกิดอะไรขึ้น? คำถามนี้ต้องถามกลับว่าเครื่องจักรของเรานั้นมีความสำคัญต่อสายการผลิตขนาดไหน ถ้าหากมีเครื่องสำรองอยู่ (Redundant) การปล่อยให้เครื่องจักร Run to Fail แล้วสลับเดินตัวสำรอง แล้วค่อยหาอะไหล่มาเปลี่ยน ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เนื่องจากไม่กระทบสายการผลิต แต่ทั้งนี้การปล่อยให้ Run to Fail เองต้องก็ต้องมีการวิเคราะห์พิจารณาด้วยเช่นกัน ว่าถ้าหากเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ขึ้นด้วยอีก (เช่น มอเตอร์แบริ่งเสีย ก็เสียแค่แบริ่ง ไม่ใช่ว่าพอแบริ่งเสียแล้วยังฝืนเดินจนเกิดความเสียหายกับขดลวดเป็นต้น)

Image by Peter H from Pixabay

ถ้าหากการเปลี่ยนก่อนเสียหายแล้วเรามองว่าเปลืองเกินไป หรือการ Run to Fail เองไม่สามารถยอมรับได้ ก็ยังมีทางสายกลางอยู่ คือการติดตามเฝ้าดูเครื่องจักรของเรา ผ่าน Sensor ต่าง ๆ ในขณะที่เดินเครื่องจักร เช่น อุณหภูมิ, แรงดัน, การสั่นสะเทือน ซึ่งจะทำให้เราทราบอาการต่าง ๆ ของเครื่องจักร รวมถึงทราบว่าส่วนไหนของเครื่องจักรที่อาจมีปัญหา และด้วยเทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน ทำให้ในปัจจุบัน ระบบติดตามเหล่านี้มีขีดความสามารถพอที่จะคาดเดาเวลาที่อะไหล่จะเสียหายได้เลยทีเดียว

(ขออนุญาติลูกค้าก่อนนำไปใช้งาน)

และด้วยในปัจจุบัน มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ต้องพิจารณาก่อนติดตั้งระบบ เช่น ความง่ายในการติดตั้งกับเครื่องจักร, ความง่ายในการเก็บข้อมูล หรือความง่ายในการใช้งานระบบ ซึ่ง IoT (Internet Of Things) สามารถตอบโจทย์การใช้งานในส่วนนี้ได้ โดยระบบที่จะแนะนำคือระบบ IoT ของ IHI ที่ติดตั้งใช้งานไม่ยาก ช่วยบอกสัญญาณว่าเครื่องจักรของเรากำลังจะ “ป่วย” หรือเปล่า เพื่อให้เราเตรียมความพร้อมได้ทันท่วงที หรือแจ้งเตือนอาการและความผิดปกติผ่าน Line ก็สามารถทำได้ด้วยระบบของ IHI นี้เช่นกัน

โดยการวิเคราะห์จะอิงตามมาตรฐาน ISO และเก็บข้อมูลเพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ AI (Artificial Intelligence) เรียนรู้ข้อมูลการสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรของเรา และวิเคราะห์ข้อมูลออกมาว่าสุขภาพของเครื่องจักรเรานั้นเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้เราสามารถเตรียมการได้ทัน ก่อนเครื่องจักรจะเกิดการ Fail

เครื่องจักรเป็นเสมือนเพื่อนของเรา อย่าลืมดูแลเพื่อนของเราด้วยนะครับ

Image by Free-Photos from Pixabay

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่