เทคโนโลยีใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ด้วยการล้างจากสารธรรมชาติ (Organic solvent) จาก Orange-Sol

0

วันนี้ทางเพจ นายช่างจะมาแชร์ จะขอมาแชร์เทคโนโลยีใหม่ๆตัวหนึ่งในการล้างอุปกรณ์เครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นที่น่าสนใจและเป็นเทรนมาใหม่ ที่จะช่วยให้คนทำงานมีความปลอดภัยมากขึ้น ลดระยะเวลาการล้าง หรือการซ่อมบำรุงรักษา (MTBR : Mean Time Between Repair) ลดความเสี่ยงของอุปกรณ์เสียหายหรือรั่วหลังจากการล้าง และยังสามารถนำสารที่เหลือจากการชะล้างเข้ามากำจัดโดยผ่านระบบบำบัดน้ำในโรงงานได้อีกด้วย (ปกติสารเคมีอันตรายมากๆ จะต้องถูกนำส่งไปกำจัดด้านนอกเท่านั้นครับ)

วิธีการล้างเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

ก่อนอื่นนายช่างของปูพื้นให้กับผู้อ่านถึงเทคโนโลยีการล้างอุปกรณ์เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรมกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนต่างๆ เช่น Heat Exchanger Shell & Tube, Plate Heat exchanger, Aire preheater หรือแม้กระทั่ง Cooler ต่างๆ โดยวิธีการล้างอุปกรณ์ของในโรงงานอุตสาหกรรมของเราจะมี 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. การล้างด้วยวิธีทางกล (Mechanical cleaning)

เช่น Water jet, High pressure water jet หรืออาจใช้ไอน้ำในการฉีดอัด เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอาจจะมีการใช้ Robot เพื่อช่วยชะล้าง เพื่อให้สเกลสกปรกต่างๆที่ติดตามชิ้นส่วนเครื่องจักรหลุดออก และทำให้มีประสิทธิภาพในการล้างที่สะอาดขึ้น  รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้การใช้ Robot ยังช่วยความเสี่ยงของคนทำงานจากความของแรงอัดน้ำ แต่ทว่าด้วยความซับซ้อนของชิ้นส่วนบางประเภทเช่น tube bundle ที่มีการเรียงตัวของท่อที่ปิดไปปิดมา ทำให้การฉีดล้างแบบนี้ อาจจะชะล้างได้ไม่หมดครับ ดังนั้นเราจะได้ efficiency ที่กลับมาไม่เต็มร้อยก็ได้ครับ ซึ่งเราอาจจะต้องชั่งเรื่องของวิธีการล้าง ระยะเวลา และงบประมาณในการลงอุปกรณ์เพื่อทำการซ่อมบำรุงรักษาในแต่ละครั้งครับ

ภาพ เทคโนโลยี Robot cleaning
Heat Exchanger ที่มีท่อเรียงตัวกันหนาแน่น

2. การล้างโดยใช้สารเคมี (Chemical cleaning)

คือ เทคโนโลยีที่ใช้สารเคมีเพื่อช่วยในการล้างอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง และหากเป็นอุปกรณ์ที่มีรูปร่างซัปซ้อน หรือมีช่องแคบเยอะๆ จะล้างด้วยวิธีทางเคมีมากกว่าวิธีเชิงกลอย่างแน่นอน เทคโนโลยีสารเคมีที่ใช้ในการล้างก็หนีไม่พ้นตัวทำละลาย ( Solvent) หรือ ที่เราอาจจะคุ้นเคยว่าใช้กรด-เบส ในการนำมาล้างตามอุปกรณ์ต่างๆนะครับ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ นายช่างเคยแชร์ไปเมื่อ Solvent EP1และEP2 ตามไปดูรายละเอียดด้านในได้เลยนะครับ

ตามกลับไปอ่านเรื่อง Solvent ตามลิ้งค์นี้ได้เลยนะครับ

ภาพตัวอย่างการทำ Chemical Cleaning

โดยหลักการคือ การเติมสาร solvent เข้าไปในอุปกรณ์ และปล่อยให้สารละลายนั้นทำการละลาย ด้วยปฏิกิริยาทางเคมีกับคราบสิ่งสกปรก (ซึ่งในที่นี้คือตัวถูกละลาย) จากนั้นสิ่งสกปรกก็จะหลุดออกจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเราโดยไม่ทำลายเนื้อผิววัสดุของชิ้นงาน และเอาน้ำล้างออก ก็เป็นอันจบครับ

โดยปัจจุบันพบว่าสาร Solvent มีใช้แพร่หลาย และใช้ประโยชน์ได้หลายด้านในวงการอุตสาหกรรม ได้แก่

  • งานล้างอุปกรณ์ในโรงงาน เช่น Heat Exchanger, Boiler, Fired heater
  • ตัวทำละลายในกาว (ที่มักจะเห็นแยกชั้นของของเหลว)
  • งาน Coating, งานละลายโลหะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • โรงงานผลิตน้ำหมึก
  • งานขัดสี
  • งานล้างยางมะตอย
  • ส่วนผสมในสารซักฟอกหรือสารลดแรงตึงผิว
  • Solvent สำหรับการกลั่นแยกสารให้บริสุทธ์ที่เราเรียกว่า Liquid-liquid extraction.

ซึ่งในยุคแรกๆ จนมาถึงปัจจุบันในอุตสาหกรรมในบ้านเรา สารละลาย Solvent ที่เป็นที่นิยมมากๆ คือ กรดแก่ และ เบสแก่ ซึ่งประสิทธิ์ภาพในการทำละลายถือว่าพอใช้ได้ แต่ก็มีข้อเสียตามมาอยู่เยอะเหมือนกันครับ

ซึ่งสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมในปัจจุบันจะมีข้อเสียดังนี้

  • เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนทำงาน (Health impact)
  • สารเคมีบางตัวมีความไวไฟ (Flammable)
  • บางตัวมีผลต่อการกัดกร่อน (Corrosive) ทำให้อุปกรณ์เสียหาย และรั่วได้
  • ทำละลายได้ไม่ 100% เนื่องจากความซับซ้อนเชิงพันธะ และโครงสร้างทางเคมี ของ solvent และสารที่จะทำการชะล้าง
  • เมื่อใช้เสร็จแล้วจะกลายเป็นของเสียโรงงาน ไม่สามารถเทลงระบบบำบัดของโรงงานได้ ต่อส่งกำจัดซึ่งมีต้นทุนสูงมาก

มารู้จักเทคโนโลยีการล้างด้วยน้ำยาธรรมชาติ หรือ Organic solvent

วันนี้นายช่างมาแชร์จึงขอนำเสนอวิธีการล้างแบบใหม่ๆในปัจจุบันที่เริ่มมีการนำมาใช้ล้างอุปกรณ์ต่างๆในอุตสาหกรรมของไทยแล้วนั้นคือ “เทคโนโลยีการล้างด้วยน้ำยาธรรมชาติ หรือ Organic solvent” จากทาง Orange-Sol

ซึ่งที่มาของสารก็จะตามชื่อของเค้าเลยนะครับ สารเคมีที่ใช้ในเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นสารเคมีตัวเดียวที่ได้จากผลส้มครับ แต่ผ่านกระบวนการสกัด และผสมพิเศษ ทำให้เกิดเป็น Solvent ที่มีความปลอดภัยสูง และมีข้อดีคือ

  • มีอัตราการกัดกร่อนต่ำ
  • สามารถย่อยสลายได้ง่ายด้วยระบบบำบัดน้ำของโรงงาน
  • สามารถทำละลายกับสารที่จะล้างได้ตรงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ จะต้องเลือกชนิดของสาร Organic solvent ให้ตรงตามสารที่เราจะล้างโดยตรง
  • ไม่มีสาร VOC
  • ไม่มีสารเคมีที่เป็นสารเป็นพิษต่อร่างกาย

ดังนั้น “สำหรับงานล้างอุปกรณ์ เทคโนโลยี Orange chemical จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

ต้นกำเนิดของน้ำยา Orange Solvent

จริงๆเจ้าน้ำยา Orange sol ตัวนี้มีต้นกำเนิดมาจาก “ผิวส้ม” ซึ่งก็ตรงตามชื่อเลยครับ ^^ โดยขอย้อนไปเมื่อปี 1932 เมื่อหมอฟันท่านหนึ่ง ที่ชื่อ เอ็ดเวิรท์ ลอยน์ แอคเคอร์แมน (Edwin Lloyd Ackerman) อันนี้คนละแอคเคอร์แมนกับ Attack on titan นะครับ 555+ ก็หมอฟันท่านนี้ก็มีปัญหาในการล้างพวกสารที่ใช้ในช่องปากกับคนไข้บ่อยๆครั้งเลย โดยเฉพาะพวกสารเรซิ่น แล้วไอเจ้าสารเรชิ่นเนี่ย ก็มักจะติดมือหมออยู่ตลอดหลังจากทำฟันให้คนไข้เสร็จ

อยู่มาวันนึง….คุณหมอแอดเคอร์แมนท่านนี้ ก็ไปรับประทานอาหาร แล้วแกะผิวส้มออกมา ปรากฎว่า เกิดเรื่องมหัศจรรย์ขึ้นมาครับ เข้าตัวเรซิ่นได้มีการหลุดร่อนออกจากมือคุณหมอ หลังจากวันนั้นคุณหมอก็ได้พัฒนาต่อยอดจากสารผิวส้ม จนกลายเป็นสารทำละลายมากมายหลายสูตร หลายชนิด เช่น De-Solv-it® และ De-Solv-it® Citrus Solutionที่ใช้ได้มากกว่าการล้างเรซินออกจากมือหมอแอคเคอร์แมนแล้ว แต่สามารถไปล้างสารได้มากมายหลายชนิดตั้งแต่ ถังน้ำมันดิบ สาร Catalyst คลาบสนิมต่างๆ ซึ่งจุดเด่นคือ ประสิทธ์ภาพสูงมากๆ และปลอดภัย (อันนี้ตามไปดูในวีดีโอ นายช่างมาแชร์ได้เลยนะครับ ผมส่งน้องมินตราเอามือเปล่าๆไปจุ่มโชว์เลย ^^)

วิธีการนำสาร organic solvent ไปประยุกต์ใช้ในล้างอุปกรณ์

รูปแบบการใช้ล้างอุปกรณ์ในโรงงานจริงมีหลากหลายวิธี ได้แก่ ใช้ผสมน้ำแล้วจุ่มแช่ (Soaking), การฉีดอัด(Jet cleaning)และระบบปิดปั๊มหมุนเวียน (Closed loop recirculation) ซึ่งขอเริ่มต้นจาก

วิธีการแช่ (Soaking)

ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำยากำจัดสนิมตะกรันที่ติดแน่นจากอุปกรณ์ (Rust remover) จะสามารถละลายตะกรันสนิมได้อย่างดี โดยผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 ใช้สำหรับล้างอุปกรณ์ ท่อ หรือเครื่องมือต่างๆ

รูปตัวอย่างการนำชิ้นส่วนมาจุ่มSolvent ประเภทกำจัดสนิม

สำหรับ Rust removal Solvent ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการตอบรับจากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอย่างดีเยี่ยม บางทีอาจเรียกว่า Acid cleaner ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ที่ได้จากส้ม พบว่าสามารถกำจัดสนิม ตะกรัน ตะกอนที่เกาะแน่นได้อย่างรวดเร็ว

นายช่างมาแชร์ [EP.6] : “สนิม (Rust)” และนวัตกรรมการกำจัด

เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ทำลายอุปกรณ์ของเรานายช่างแนะนำว่าหากจะนำสารเคมีตัวใดๆก็ตามมาใช้ “ให้ตรวจดูข้อมูล Material compatibility” ว่าสามารถใช้กับอุปกรณ์ของเราได้หรือไม่ ?

ซึ่งจากข้อมูล Spec ขอ Orange sol  ชี้ว่าสามารถใช้กับโลหะพวก Stainless steel, Ceramics, Fiberglass, Plastics, และอื่นๆดังข้อมูลด้านล่าง นอกจากนี้ยังปราศจาก สาร VOCs, สารฟอสเฟต, ไม่มีพิษต่อร่างกาย, ไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่มีฟอง, สามารถละลายน้ำได้ง่าย และสามารถปล่อยลงระบบบำบัดน้ำในโรงงานที่ทำการล้างอุปกรณ์ได้  (ตามตารางด้านล่างเลยนะครับ)

ซึ่งเจ้าเทคโนโลยี Orange chemical น่าสนใจจริงๆ ครับ เพราะประสบการณ์ของนายช่างไม่เคยเจอว่าเขาจะใช้โดยการประยกต์ใช้สารอินทรีย์จากธรรมชาติ หรือจากผิวส้ม มาล้างอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมของเราได้

วิธีการล้างด้วยการฉีด Jet spray cleaning

เทคโนโลยีนี้จะใช้กับSolvent ที่ละลายน้ำได้ดี โดยจะใช้หัวอัด Jet gunner เพื่อให้ Solvent ที่ใช้สามารถเข้าถึงเนื้ออุปกรณ์ที่ต้องการล้างได้ เป็นการล้างกึ่ง Chemical cleaning และ Mechanical cleaning  วิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้ล้างพวก Vessel หรือ ถังขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างไม่ซับซ้อน

ซึ่งทาง Orange chemical ก็มีสูตรผสม Solvent ที่สามารถใช้ล้างได้อย่างดี และปลอดภัยทั้งคนทำงานและอุปกรณ์ ส่วนใหญ่จะใช้ล้างพวกสารไฮโดรคาร์บอนที่ไม่แข็งมาก จะพบมาในอุตสาหกรรมแท่นขุดเจาะ Platform  ในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่นายช่างเคยเห็นชัดเจนก็เช่นการล้าง Fired heater, HRSG ในโรงไฟฟ้า

รูป ตัวอย่างการล้างถังVessel และอุปกรณ์แลกแปลี่ยนความร้อน
รูป ตัวอย่างการล้างHRSG

วิธีระบบปิดปั๊มหมุนเวียน (Closed loop recirculation)

วิธีนี้จะใช้ล้างอุปกรณ์ที่มีตะกรันฝังแน่น แข็ง กำจัดออกยาก เช่น ตะกรันจากน้ำมันดิบ (Crude oil) ที่ฝังแน่นในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน จึงต้องใช้ปั๊มหมุนเวียนล้างเพื่อให้ตะกรัน (Fouling) ที่ติดแน่นหลุดออกโดยอาศัยอัตราการไหลที่มีความเร็วสูงหมุนเวียนจนกระทั่งตะกรันออก และเก็บตัวอย่าง เพื่อดูสี ดู Density

หากยังพบว่ามี Density มากขึ้น หรือสีตะกรันเข้มข้น แสดงว่าตะกรันยังหลุดออกมาได้เรื่อยๆก็ยังไม่หยุดปั๊มหมุนเวียน ถ้าหาก Density คงที่ แสดงว่าตะกรันไม่สามารถหลุดออกมาเพิ่มได้ ต้องหยุดปั๊มหมุนเวียนแล้วเทสารเคมีออกจากระบบซึ่งจะเรียกสารเคมีที่ใช้แล้ว (Spent solvent) แล้วเติมตัวทำละลายใหม่อีกรอบ จะเรียกว่า Fresh solvent ทำจนกว่า Spent solvent จะมี Density และสีใกล้เคียงกับ Fresh solvent มากที่สุดจึงเสร็จกระบวนล้างอุปกรณ์ทั้งหมด

เทคโนโลยี Orange chemical ก็มีSolvent ที่ใช้ได้ดีกับวิธีการล้างแบบ Closed loop recirculation system

ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทสารอินทรีย์ธรรมชาติ Citrus solvent และก็มีสมบัติคล้ายๆกับตัวอย่างก่อนหน้า คือ ไม่เป็นพิษต่อคนทำงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าระบบบำบัดทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมได้

สุดท้ายนี้ผมขอฝากไว้ว่า ในงานล้างอุปกรณ์ในโรงงานสิ่งสำคัญที่เหล่าวิศวกรต้องให้ความสำคัญคือ ประสิทธิภาพหลังการล้างว่า เพิ่มขึ้นขนาดไหน อุปกรณ์เสียหายหรือไม่ ระยะในการลดลงของประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เพราะมันคือเงิน ยิ่งสามารถรักษาประสิทธิภาพได้ดี นั้นคือการลดต้นทุนได้

แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ คนทำงานต้องปลอดภัย คนทำงานต้องไม่ได้สะสมสารพิษที่เกิดจากการทำงาน และอีกเรื่องคือ สิ่งแวดล้อม ถ้าหากเราใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม หากหลุดไปในดิน หรือในน้ำ จะส่งผลในบริเวณกว้างครับ

ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีจากทาง

orange sol

Orange-sol น้ำยา Organic solvent วัตกรรมในปัจจุบัน ซึ่งสมัยนี้มีสารทำละลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีปฏิกิริยาต่อเนื้อวัสดุชิ้นงาน และ ไม่ทำอันตรายคนทำงาน และที่สำคัญ สารละลายสามารถเลือกให้เหมาะสมที่สุด ในการเข้าไปกำจัดคราบสกปรก (หรือ ตัวถูกละลาย) เพื่อให้มีประสิทธิ์ภาพการล้างเครื่องจักร และอุปกรณ์มากที่สุด โดดเด่นด้านงานล้างในอุตสาหกรรม Oil&Gas มามากกว่า 30 ปี

สามารติดต่อทดลองใช้ฟรี ได้ทาง บริษัท Global Seal

ติดต่อ (คุณพรเทพ) Tel. 081-624-4111 email [email protected]

แล้วพบกับสาระดีๆในโพสถัดไปนะครับ หากมีคำถามสามารถติดต่อได้ที่เพจนายช่างมาแชร์เลยนะครับผม

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่