IoT (Internet Of Things) – ในโรงงานอุตสาหกรรม

0
Internet-of-things wallpaper
Internet-of-things wallpaper

เพื่อนๆอาจจะได้ยินคำพูดที่ติดหูมากๆคำนึงที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมเราโดยตรงในยุคของ Digital Disruption นั้นคือ IOT

แล้ว IoT คืออะไรกัน อะไรๆก็ IoT, Big data, machine learning งั้นวันนี้เราจะพาดู IOT ในเชิงของงานช่าง อุตสาหกรรม และวิศวกรรมนะครับ

คำอธิบายที่ชัดเจนที่สุดของ IoT หรือ Internet of Things คือ “สิ่งของทุกอย่างบนโลกใบนี้ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลได้ ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่กล้องบันทึกภาพ นาฬิกา หลอดไฟ รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องบิน”

“โดยมีเป้าหมายว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันโดยมีมนุษย์เกี่ยวข้องน้อยที่สุด”

และทำหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างข้อมูลจากโลกดิจิทัลกับโรงงานอุตสาหกรรมให้ใกล้ชิดกันที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการ ระบบ Online vibration และ Condition base monitoring เป็นต้นครับ

ความหมายของ IoT (Internet of Things)

เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) หรือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

โดยเทคโนโลยีนี้จะเป็นทั้งประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงไปพร้อมๆ กัน เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่าย อินเทอร์เน็ตไม่ดีพอ จะทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามากระทำการที่ไม่พึงประสงค์ต่ออุปกรณ์ข้อมูลสารสนเทศ หรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลได้ ดังนั้น การพัฒนาไปสู่ Internet of Things จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรการและเทคนิคในการรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วยครับ

IOT technology สำหรับโรงงงานยุค 4.0

ประวัติและการริเริ่มของ IoT

แนวคิด Internet of Things ถูกคิดค้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999 ภายใต้โครงการที่ชื่อ “Auto-ID Center” จากเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) ที่ทำหน้าที่เป็นเซนเซอร์ โดยใช้หลักการการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ จนทำให้เต้าระบบ RFID กลายเป็นต้นแบบของ IOT ในยุคปัจจุบันนั้นเองครับ

แนวคิด Internet of Things ถูกคิดค้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999
เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification)

ต่อมาในยุดปี “ค.ศ. 2000” โลกได้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากและมีการใช้คำว่า “Smart” ซึ่งในที่นี้คือ Smart device, Smart grid, Smart home, Smart network, Smart intelligent transportation ซึ่งคำว่า smart สมัยนั้นก็หมายถึงการดึงข้อมูลต่างๆเข้ามากัน และยังสามารถสั่งการและแสดงผลได้ในที่เดียวกันนะครับ ซึ่งก็จะเป็นศัพท์เชิงเดียวกับ IoT ในยุคนั้นครับผม

Internet of Things ทำงานอย่างไร จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุค Digital Transformation

  • Cloud Computing หรือ Wireless Network สื่อกลางรับส่งข้อมูลจาก Smart Device ไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีทั้งการส่งข้อมูลผ่านระบบ Wireless ไปยังผู้ใช้และการส่งผ่าน Cloud Computer ซึ่งการส่งข้อมูลไปยัง Cloud ช่วยรองรับการใช้งาน Smart Device จำนวนมากกว่า ระยะทางไกลกว่า รวมถึงอาจมีการติดตั้งระบบแปลงการแสดงผลข้อมูลให้เหมาะกับผู้ใช้ในส่วนนี้ได้
  • Smart Device อุปกรณ์ที่มีหน้าที่เฉพาะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ตอบโจทย์การใช้ IoT     โดยจำเป็นต้องมีส่วนประกอบอย่าง Microprocessor และ Communication Device (OSI Model 7 Layer) อยู่ภายในเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลที่ Smart Device    ส่งมอบไปยังระบบ ไม่เพียงแต่ข้อมูลตามหน้าที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพของอุปกรณ์ด้วย ผู้ใช้จึงไม่ต้องเดินทางมาตรวจสอบอุปกรณ์ด้วยตัวเองเป็นประจำ
  • Dashboard ส่วนแสดงผลและควบคุมการทำงานในมือของผู้ใช้ อยู่ในรูปของ Device, แอปพลิเคชันในคอมพิวเตอร์ หรือ Smartphone ผู้ใช้จะดูข้อมูลที่ Smart Device ส่งมา ตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์และระบบ รวมถึงถ่ายทอดคำสั่งใหม่ไปยัง Smart Device จากส่วนนี้

ทั้ง 3 ส่วนจะต้องทำงานสอดประสานกันเพื่อให้ระบบทำหน้าที่ได้ลุล่วงและต้องทำได้เองโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้มีหน้าที่เพียงติดตั้งและซ่อมแซมอุปกรณ์ รับข้อมูล และอัพเดทการทำงานของ Smart Device ได้โดยตรงผ่าน Dashboard เท่านั้น

โดยคุณสมบัติที่สำคัญของ IoT ก็คือสามารถส่งต่อหน้าที่ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ขอยกตัวอย่างใกล้ๆตัวเรานะครับ เช่น Smartwatch หรือ Smart band ที่เก็บข้อมูลชีพจร, อุณหภูมิ หรือแม้กระทั่งระยะทางที่เราวิ่งไป จากเซนเซอร์ จากนั้น เจ้าข้อมูล (Data) เหล่านี้ส่งไปแสดงผล ขึ้นบนระบบ Server (หรืออื่นๆ เช่น ระบบ Offline ก็ได้นะครับ) อย่างละเอียด จากนั้นก็จะส่งไปที่การแสดงผล นั้นก็คือ Smartphone, Website, Computer ต่างๆครับ

ซึ่งเราเคยเห็นอยู่บ่อยๆ หรือคุ้นเคยกันดี แต่ความจริงแล้ว IoT ยังมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้อีกมากมายกว่าที่เราคิดด้วยนะครับ

IoT ในโรงงานอุตสาหกรรม

ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่การดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้วยวิธีการระบบการตรวจสอบ และเฝ้าระวัง (Condition monitoring maintenance) มีส่วนสำคัญอย่างมาก ซึ่งสามารถช่วยให้การดูแลและตรวจสอบอุปกรณ์เป็นไปได้ง่ายมากขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถ Online condition monitoring ได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจนและถูกต้อง

ซึ่งการทำ Condition monitoring เครื่องจักร เปรียบเสมือนเป็นการวัดสุขภาพของเครื่องจักรว่า ยังมีสุขภาพที่ดีอยู่มั้ย หรือหากไม่ดีเริ่มป่วยเราจะได้รีบช่วยรักษาเบื้องต้นให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งถ้าหากไม่มีกระบวนการเหล่านี้เครื่องจักรก็จะป่วยขึ้น และป่วยขึ้นเรื่อยๆ จนเกินเยียวยาครับ ซึ่งถ้าถึงเวลานั้นแล้วเราอาจจำเป็นที่จะต้องหยุดโรงงานเพื่อทำการซ่อมครั้งใหญ่เลยก็ได้ครับ

การส่งถ่ายข้อมูล IOT ในโรงงานอุตสาหกรรม

โดยหลักการของการทำ Condition monitoring คือการที่เราติด Sensor หรือหัววัด เข้ากับตัวเครื่องจักร เพื่อวัดสุขภาพของเค้าครับ เช่นการติด Sensor วัด Machine vibration, Temperature, กระแสไฟฟ้า, เป็นต้นครับ

จากนั้นทำการดึงข้อมูลจากการบันทึกของชุดข้อมูล (Data loader) เข้ามายัง GATE WAY ที่เป็นเหมือนประตูคอยรับข้อมูล และกรองข้อมูลและให้การอนุญาติเพื่อที่จะส่งสัญญาณส่งต่อมาที่ระบบ Computer, Local panel และ Cloud system จนกระทั่งแม้แต่เข้าไปในระบบ มือถือ และแทปเล็ต เพื่อให้สามารถนำมาวิเคราะห์และช่วยให้งานบำรุงรักษาต่างๆ ทำได้ง่ายมากขึ้นเลยทีเดียวครับ  

ดังนั้นการมีระบบ IOT และระบบ Condition Base monitoring ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อช่วยในการวัดผลสุขภาพเครื่องจักรอยู่ตลอดเวลา มีความสำคัญมากสำหรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่สำหรับในการช่วยลดต้นทุนการผลิตของโรงงาน ค่าซ่อมเครื่องจักร และค่าโอกาสในการสูญเสียในการผลิตอีกด้วยครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีของเราจากทาง MURATA

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ IOT ระบบ Smart Factory System และ Wireless Vibration Sensor

หากเพื่อนๆสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกเข้าไปดู หรือสอบถาม ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง

https://solution.murata.com/th-th/service/wireless-sensor/

ซึ่งขณะนี้ทางมูราตะยังมีบริการทดสอบให้ฟรีที่โรงงานหรืออาคารของคุณ

หรือติดต่อโดยตรงกับ Murata

ณพงศ์พัศ ธงชัย (เมฆ)
• วิศวกรฝ่ายขาย
• โทร: 081-132-4462
• อีเมล: [email protected]

คุณธนพร คุณากรเรืองกิจ (พลอย)
• เจ้าหน้าที่บริหารงานขายและการตลาด
• โทร: 063-125-6151
• อีเมล: [email protected]

หรือทาง Line Official Account: @thaimurata

==================================================

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่