เครื่องทดสอบไตรโบมิเตอร์ (Tribometer) – สำหรับวัดค่าทางไตรโบโลยี

0

เครื่องทดสอบไตรโบมิเตอร์ (Tribometer) คือเครื่องมือในการทดสอบด้านไตรโบโลยีเพื่อตรวจวัดค่าปริมาณทางไตรโบโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเสียดทาน การสึกหรอ (Wear) และการหล่อลื่น เช่น ค่าสัมประสิทธิ์การเสียดทาน ค่าแรงเสียดทาน หรือปริมาณการสึกหรอ

โดยใช้หลักการจำลองสภาวะการใช้งานจริงในการทดสอบกับชิ้นงานทดสอบที่มีขนาดเล็กเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการทดสอบแต่ได้ค่าปริมาณทางไตรโบโลยีที่ถูกต้องเพื่อใช้ในการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมหรือทดแทนในการใช้งานด้านไตรโบโลยี รวมทั้งใช้ในการคาดคะเนพฤติกรรมการสึกหรอเพื่อประเมินอายุการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้งานด้านไตรโบโลยี

กลับไปอ่านบทความ ทฤษฎีไตรโบโลยี (Tribology) – สำหรับการเสียดทาน หล่อลื่น และการสึกหรอ ในเครื่องจักรกล

เครื่องทดสอบมาตราฐานสากล

ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศพว./วว.) เป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงมานานในการให้บริการด้านการทดสอบ/ตรวจสอบวัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักรแก่ภาคอุตสาหกรรม

ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ตามมาตรฐานสากลด้วยห้องปฏิบัติการทดสอบ/ตรวจสอบที่มีคุณภาพตามระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และ ISO/IEC 17020 มีความพร้อมในการให้บริการทดสอบด้านไตรโบโลยีด้วย “เครื่องทดสอบ Universal Mechanical Tester (UMT)” TriboLab (รูปที่ 1) ที่สามารถจำลองการทดสอบได้ตามสภาวะการใช้งานจริงซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิสูงถึง 1000 องศาเซลเซียส

รูปที่ 1 เครื่องทดสอบด้านไตรโบโลยี Universal Mechanical Tester (UMT) TriboLab

เครื่องทดสอบ Universal Mechanical Tester (UMT) 

เครื่องทดสอบ Universal Mechanical Tester (UMT) TriboLab นี้เป็นเครื่องทดสอบที่จําลองกลไกการเสียดสีของพื้นผิวสัมผัสระหว่างชิ้นงานทดสอบ โดยอาศัยหลักการวัดการสึกหรอจากปริมาตรที่หายไปของวัสดุและอัตราการสึกหรอซึ่งเป็นสัดส่วนของปริมาตรการสึกหรอต่อระยะเคลื่อนที่สัมพัทธ์  ถูกออกแบบมาสำหรับการทดสอบด้านไตรโบโลยีตามสภาวะการใช้งานจริงเหมาะสำหรับการทดสอบกับวัสดุทั้งประเภทโลหะ อโลหะ พลาสติก เซรามิก กระดาษ คอมโพซิส

วัสดุที่มีผิวเคลือบทั้งหนาและบาง วัสดุที่มีสารหล่อลื่นทั้งแบบของแข็ง และของเหลว น้ำมัน รวมทั้งชิ้นงานตัวอย่างทางชีววิทยา เหมาะกับงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นปิโตรเคมี ยานยนต์ อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ การผลิต หรือแม้แต่ชีวการแพทย์

จำลองการเคลื่อนที่และแรง

 ระบบการวัดของเครื่องทดสอบนี้สามารถจำลองการให้แรงทั้งรูปแบบเคลื่อนที่ทางตรงแบบกลับไปมา (reciprocating motion) หรือเคลื่อนที่แบบหมุน (rotating motion) บนชิ้นงานหลากหลายรูปแบบทั้งแบบจุดบนจานหมุน (Pin on Dish) หรือลูกบอลบนจานหมุน(ball on disc) เป็นต้น รวมทั้งการทดสอบในสภาวะอุณหภูมิใช้งานที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิสูงถึง 1000 องศาเซลเซียสเพื่อจำลองสภาวะการทดสอบให้ใกล้เคียงกับสภาวะการใช้งานจริงมากที่สุด เนื่องจากมีการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่อุณหภูมิสูงในอุตสาหกรรมบางประเภททำให้การทดสอบด้านไตรโบโลยีที่อุณหภูมิห้องไม่เพียงพอที่จะให้ข้อมูลด้านไตรโบโลยีที่ถูกต้อง  ดังนั้นการจำลองการทดสอบด้านไตรโบโลยีที่อุณหภูมิสูงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้ผลการทดสอบในสภาวะใกล้เคียงกับการใช้งานจริงและมีค่าผลการทดสอบที่ถูกต้อง

ความสามารถเฉพาะของเครื่องทดสอบ Universal Mechanical Tester (UMT) 

-สามารถทดสอบด้านไตรโบโลยีตามข้อกำหนดในมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน ASTM G99 และ ASTM G132 ด้วยรูปแบบการขูดบนวัสดุหมุน (Pin on Dish) และ มาตรฐานการทดสอบ (Standard test) ASTM G119, ASTM G203, ASTM G204 และ ASTM G206 ด้วยรูปแบบการทดสอบการขัดสีแบบซ้ำไปซ้ำมา (reciprocating) (รูปที่ 2 และ3)

รูปที่ 2 การทดสอบไตรโบโลยีแบบการขูดบนวัสดุจานหมุน
รูปที่ 3 การทดสอบไตรโบโลยีแบบการขัดสีแบบซ้ำไปซ้ำมา

– รองรับการทดสอบที่มีความเร็วรอบถึง 500 รอบต่อนาที และรับแรงกดสูงสุดที่ตั้งแต่ 0.1 นิวตัน ถึง 2000 นิวตันรวมทั้งมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการรอยร้าวในระหว่างการทดสอบด้วยคลื่นเสียง (Contact Acoustic Emission Measurement) ด้วยความเที่ยงตรงถึง 5 ไมโครเมตร รวมทั้งรองรับความถี่ในการขัดสีได้ถึง 50 Hz

-สามารถทดสอบไตรโบโลยีระหว่างของแข็งกับของแข็งและของแข็งกับของเหลวหรือสารหล่อลื่นได้รวมทั้งสามารถทดสอบที่อุณหภูมิสูงถึง 1000 องศาเซลเซียสได้ (รูปที่ 4 และ5)

รูปที่ 4 ภาชนะทดสอบไตรโบโลยีระหว่างของแข็งกับ
ของเหลวหรือสารหล่อลื่น
รูปที่ 5 ภาชนะทดสอบไตรโบโลยีที่อุณหภูมิสูง

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากทาง

“ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย”

Total solution for material testing and analysis.

หากสนใจงานบริการวิเคราะห์และทดสอบวัสดุติดต่อที่

คุณนารถพล บัวอำไพ
02-577-9272, 02-577-9265
[email protected]

แล้วพบกับสาระดีๆทางด้าน งานช่าง งานวิศวกรรม และงานอุตสาหกรรม แบบนี้ได้ในเพจนายช่างมาแชร์นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #Tribology #Tribometer #Frition

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่