มาทำความรู้จักกับท่อ FRP (Fiberglass Reinforced Plastic)

0
FRP Pipe by GRE Composite

ในโรงงานอุตสาหกรรมหลายๆโรงงาน มักจะมีท่อเพื่อส่งสารเคมีเต็มโรงงานไปหมด ซึ่งท่อในโรงงานที่เราเห็นนั้น มีหลายประเภท คนส่วนใหญ่อาจรู้จักแค่ท่อเหล็ก เช่น Carbon steel หรือ Stainless steel แต่ท่อเหล่านี้ก็ไม่สามารถทนสารเคมีที่มีฤทธิกัดกร่อนสูงๆได้  

อย่างกรดแก่ หรือกรดที่รุนแรง (Strong acid) เช่น Sulfuric acid, Hydrochloric acid หรือแม้แต่น้ำทะเล น้ำเสีย ซึ่งไม่เหมาะสมกับการใช้ท่อโลหะได้ ซึ่งบางครั้งจึงต้องเลือกใช้วัสดุท่อพลาสติกเท่านั้น แต่ท่อพลาสติกธรรมดามีความแข็งแรงค่อนข้างน้อย รองรับความดันได้ต่ำ แต่มีก็ท่อพลาสติกบางชนิดที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโรงงานที่มีความคงทนสูง และทนยูวีได้ดี นั้นก็คือท่อ “FRP pipe” หรือ Fiberglass Reinforced Plastic

ซึ่งวันนี้ทางนายช่างจึงขอมาแชร์ให้เพื่อนๆได้รู้จักว่าวัสดุท่อ FRP pipe คืออะไร มีกระบวนการผลิต และ ใช้กับสารอะไรได้บ้างกันครับ

ภาพตัวอย่างท่อ : FRP pipe

FRP pipe คืออะไร?

คำว่านั้น FRP ย่อมาจาก (Fiberglass Reinforced Plastic) หรือแปลตรงตัวว่า “พลาสติกเสริมเส้นใยแก้ว” หรืออาจจะเป็นที่รู้จักในชื่อ “GRVE pipe” (Glass-fibre reinforced vinyl ester) หรือ “GRE pipe” (Glass reinforced epoxy) ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดจากการผสมกัน (Composite material) ระหว่าง

1. Thermoset plastics ที่มีจุดเด่นทำหน้าที่ต้านทานการกัดกร่อนของสารเคมี (Corrosion) เชื่อมให้เส้นใยแก้วติดกัน

2. เส้นใยแก้ว (Fiberglass) จะทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงให้กับตัววัสดุ (Fiber glass reinforcement) ทำให้วัสดุ FRP สามารถใช้กับสารที่มีฤิทธ์กัดกร่อนได้และยังมีความแข็งแรงคงทนกว่าท่อพลาสติกทั่วไปอย่างท่อ PP และ HDPE

คุณสมบัติของ FRP จะแข็งแรงมากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น รูปแบบของเส้นใย กระบวนการขึ้นรูป และชนิดของ Resin ที่ใช้ โดยทั่วๆไป Resin ที่ใช้ผลิต FRP จะเป็น Isophathalic หรือไม่ก็ Vinyl ester  ส่วน Fiber glass ที่ใช้ส่วนมากจะเป็น E-Glass และ C-Glass

กระบวนการผลิต FRP


รูปภาพของกระบวนการผลิต FRP

จากรูปจะเป็นกระบวนการผลิตวัสดุ FRP ที่เรียกว่า Filament Winding  โดยการพัน แบบเปิดในลักษณะทรงกระบอก ด้วยวัสดุ “เส้นใยแก้ว” ที่เคลือบด้วย Thermoset Plastics (พลาสติกที่โดนความร้อนแล้วจะไม่สลายตัว ไม่สามารถมา Recycle ได้)  บนแกนโมล์ด และม้วนตัวไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นท่อ FRP นั้นเองครับ โดยจะเหมือนกับกระบวนการดังวีดีโอด้านล่างนะครับ

การผลิตท่อ FRP ด้วยกระบวนการแบบ Filament Winding – Continue winding process

การเลือกวัสดุให้เหมาะสมโดย FRP Compatibility Chart

ผู้ใช้งานจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่อ FRP ที่จะทำการเลือกใช้และออกแบบสามารถที่จะใช้กับสารเคมีตัวใดได้บ้าง (Material compatibility) เพราะการทนทานต่อสารเคมีที่มีความกัดกร่อนสูงๆ จะขึ้นอยู่กับชนิดและวัสดุของ Resin ที่ใช้อักด้วยครับ

ดังนั้นในการเลือกวัสดุท่อให้เหมาะสมกับสารต่างๆภายในท่อ สามารถเลือกได้ตาม FRP Compatibility Chart ได้เลยนะครับ (เพื่อนๆสามารถ download ไว้ดูเป็นข้อมูลประกอบดูด้านล่างได้เลยนะครับ)

สุดท้ายขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก GRE Composites ผลิตภัณฑ์ FRP PIPE ตามมาตรฐานคุณภาพสูงนะครับ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.grecomposites.com/pipe/

แล้วพบกับสาระความรู้ทางด้านงานช่าง และงานวิศวกรรมได้ในโพสถัดๆไปนะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์ #FRP #GREComposite

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่