OEE (Overall Equipment Effectiveness) – การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร

0

ในการบริหารและจัดการ ระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การที่จะวัดว่าโรงงานเรามีการผลิตที่ได้ดีแค่ไหน? ซึ่งคำว่าดีในการผลิตคืออะไร ผลิตได้เยอะ งานซ่อมน้อย ของได้คุณภาพ

เราจะใช้ตัวแปรอะไรบ่งบอกว่า ดี หรือ ไม่ดี ??

ซึ่งหลายโรงงานจะตอบคำถามนั้น ด้วยการใช้ตัวแปรที่นิยมใช้ในสากลนั้นคือ “OEE” หรือ “การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร”

OEE คืออะไร?

OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness หากเราแปลตรงๆตัวนั้นคือ “การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร” โดยจุดเริ่มต้นของ OEE ถือเป็นเป้าหมายในระบบ TPM (Total Productive Maintenance) ที่กำหนดโดยทาง คุณ Seiichi Nakajima ในปี 1928 เพื่อพัฒนาคุณภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่องในแต่ละกิจกรรมในโรงงานอุตสาหกรรม

โดย OEE จะเป็นการบอก ประสิทธิผล หรือ ความสามารถในการผลิตของโรงงาน หรือหน่วยการผลิตโดยองค์รวม โดยหากมีการบอกว่า OEE 100% จะเป็นการบอกว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิผลในการผลิตที่ดีมาก ไม่มีข้อผิดพลาดทั้งในแง่มุม ความพร้อมใช้งาน ความเร็วในการผลิต และคุณภาพของสินค้า (แต่โดย bench marking ตามมาตราฐานสากลจะอยู่ที่ประมาณ 85%)

โดยความสัมพันธ์คือ

OEE = Availability x Performance x Quality

หากแสดงเป็นกราฟจะเห็นได้ว่า การสูญเสียที่เกิดขึ้นในตัวแปรๆต่างๆ จะทำให้ค่า OEE ลดลง ครับ

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของค่า OEE และการสูญเสียแบบต่างๆ

ส่วนประกอบของ OEE

ในการวัด OEE จากสมการด้านบนจะประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ

ภาพรวมในแต่ละองค์ประกอบของ OEE

1. Availability หรือ สมรรถนะความพร้อมของเครื่องจักรโดยจะเทียบตามแผนในการผลิตของหน่วยการผลิตนั้นๆ

หากไม่สามารถผลิตได้ หรือ สูญเสียความสามารถในการผลิตจะเรียกว่า “availability losses”

หรือสามารถคำนวนได้จาก

Availability = Operating Time / Scheduled time

Availability = สมรรถนะความพร้อมของเครื่องจักร
Operating Time = เวลาในการเดินเครื่องจักรผลิตในโรงงาน
Scheduled Time = เวลาที่ถูกวางแผนในการเดินเครื่องจักรผลิตในโรงงาน

2. Performance หรือ ประสิทธิภาพในการผลิต อาจจะเรียกว่า อัตราการผลิต (Process rate) เป็นตัวแปรที่มองว่า หน่วยผลิตสามารถผลิตได้เท่าไหร่เมื่อเทียบกับความเร็วในการผลิตที่ออกแบบไว้

ในกรณีที่ผลิตได้ช้าจากการออกแบบไว้ เราจะเรียกว่า “Speed losses”

หรือสามารถคำนวนได้จาก

Performance = Actual speed / Design speed

Performance = ประสิทธิภาพในการผลิต
Actual speed = เวลาที่่ใช้จริงในการผลิต
Design speed = เวลาที่่ออกแบบในการผลิต

3. Quality หรือ คุณภาพของผลิิตภัณฑ์ เป็นการบ่งบอกว่าสินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไหม โดยกำหนดจากระบบ QA/QC ในโรงงาน โดยเป็นการบอกปริมาณสินค้าที่ได้คุณภาพมีเปอร์เซ็นเท่าไหร่จากปริมาณเท่าหมด

ส่วนปริมาณสินค้าที่เสียไปจะเรียกว่า “Quality losses”

Quality = (Units produced – defective units) / (Units produced)

Quality = คุณภาพของผลิิตภัณฑ์
Units produced = ปริมาณสินค้สที่ได้คุณภาพ
Defective units = ปริมาณสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ
Units produce = ปริมาณสินค้าทั้งหมด

ประโยชน์ของระบบ OEE ในโรงงาน

  ในอดีตการความสามรถในการผลิตในโรงงาน มีการหาวิธีการกันหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อมูลทั้งในฝั่งผลิต ฝั่งซ่อม ฝั่งบัญชี รวมถึงดรรชนี KPI เต็มไปหมด แต่ไม่มีตัวไหนเลยที่สามารถบ่งบอกในเชิงองค์รวมได้ หรือนำไปใช้ปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตได้จริง ๆ

โดยการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร หรือการใช้ OEE เป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งที่นอกจากทำให้รู้ประสิทธิผลของเครื่องจักรแล้วยังรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งในภาพใหญ่ คือ

  1. สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น
  2. ทำให้สามารถที่จะปรับปรุง
  3. ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ

เปรียบเสมือนเราขับรถแล้วมีเกจเตือนเราอยู่ตลอดเวลาว่า ตอนนี้การผลิตในโรงงานดีหรือแย่ยังไง แล้วแย่ไปแย่ที่ตรงไหน ก็สามารถทำให้ทางโรงงานสามารถโฟกัสในการปรับปรุงและพัฒนาได้ตรงจุดจริงๆครับผม

การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร

ปัจจัยหลักที่ทำให้ค่า OEE ลดลงแบบมีนัยวำคัญเลยส่วนมาก จะเกิดจากสภาพของเครื่องจักรที่ไม่สมบรูณ์ และในกรณีแย่ที่สุด คือจำเป็นหยุดการผลิตเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรครับ หลังจากนั้นแน่นอนเลยครับว่าค่า OEE ของเพื่อนๆจะ”ดิ่งลงเหวอย่างแน่นอน”

วิธีที่จะป้องกันเหตุการเหล่านี้เริ่มได้จากการปรับปรุงระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง จากเก่า ให้เป็น ระบบ CMMS

เพราะระบบ CMMS จะเก็บบันทึกประวัติการเสื่อมสภาพ ประวัติคุณลักษณะของการสึกหรอ หรืออาการเสียที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ไว้ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนงานซ่อมที่เหมาะสมกับแต่ละชนิดเครื่องจักรไป เพื่อไม่ให้เครื่องจักรมีการเสียหายบ่อยๆ หรือการใช้งานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพส่งส่งผลต่อค่า OEE โดยตรงครับ

ซึ่งหากเพื่อนๆสนใจทดลองใช้โปรแกรม CMMS ซึ่งช่วงนี้ (สมัครใช้ฟรี!!)

ขอแนะนำโปรแกรม Factorium โปรแกรมซ่อมบำรุงบนสมาร์ทโฟน สำหรับโรงงานยุค 4.0 ครับผม ( www.systemstone.com )

แล้วพบกับสาระดีๆทางด้าน งานช่าง งานวิศวกรรม และงานอุตสาหกรรม แบบนี้ได้ในเพจนายช่างมาแชร์นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #OEE #MaintenanceManagement


naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่