การล้างและฆ่าเชื้อราในระบบแอร์ AHU – [ด้วยน้ำยาธรรมชาติ]

0

สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากบทความที่ผ่านมาเราเคยพูดไปถึง เชื้อราในระบบแอร์ในบ้าน ซึ่งคราวนี้ขอมาต่อยอดในแอร์ระบบใหญ่จำพวก HVAC ที่มีอยู่ในระบบอาคาร เช่น สำนักงานออฟฟิต โรงแรม โรงเรียน หรือโรงงาน เป็นต้นครับ

กลับไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

[ระบบ HVAC คืออะไร ? ] หลักการทำงาน และอุปกรณ์ต่างๆในระบบ
[ เชื้อราในเครื่องปรับอากาศ ] – ภัยร้ายใกล้ตัวคุณที่คุณคาดไม่ถึง

ซึ่งระบบที่สะสมเชื้อราเยอะๆในระบบ HVAC คงจะไม่พ้นระบบ AHU หรือ Air Handling Unit 

ระบบ AHU คืออะไร? (เบื้องต้น)

เบื้องต้น ขอเล่าก่อนนะครับว่า ระบบ AHU หรือ Air Handling Unit เป็นกล่องโลหะขนาดใหญ่ โดยหน้าที่คือการนำอากาศจากภายนอกเข้ามาปรับอากาศ และส่งอากาศไปยังอาคาร  (ดังภาพด้านล่าง)

โดยส่วนประกอบของ AHU จะมีดังนี้

  1. Cooler/Heater Coil เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนและสร้างอุณหภูมิตามที่ออกแบบไว้ในตัวอาคาร
  2. Supply/Return Fan ทำหน้าที่ส่งถ่ายลมเข้า/ออก จากระบบ
  3. Damper ทำหน้าที่ปรับอัตราลมเข้าลมออกในอาคาร (เปรียบเสมือนวาล์วตัวหนึ่ง)
  4. Filter ทำหน้าที่กรอง/ดักฝุ่นก่อนเข้าระบบ
  5. Humidifier/Moisture eliminator เป็นตัวปรับความชื้นก่อนจะนำอากาศเข้าสู่อาคาร

การเกิดเชื้อราในระบบ AHU

จากบทความครั้งก่อนหน้าทำให้เรารู้ว่า การเกิดเชื้อรา มักจะเกิดขึ้นในที่ๆมี “ความชื้น” ซึ่งเชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ตามอุปกรณ์ต่างๆของระบบปรับอากาศที่เกิดความชื้นขึ้น

และ ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่จัดการแก้ไขเป็นเวลานานเกินกว่า 48 ชั่วโมง เช่นตามแนวท่อน้ําเย็นที่ฉนวนเกิดแตกหรือฉีกขาด ทําาให้เกิดการควบแน่นของไอน้ําที่ผิวท่อ

ดังนั้น ในระบบ AHU “ที่ตำแหน่งคอยล์เย็น (Cooling coil) มักจะมีการสะสมของเชื้อราเกิดขึ้น”

และเจ้าเชื้อรานี่แหละครับที่จะค่อยๆทำลายสุขภาพของคุณอย่างช้าๆ ซึ่งโรคที่ตามมา โรคหอบหืด จาม ไข้ละอองฟาง แน่นหน้าอก คัดจมูก จาม ระคายเคืองนัยน์ตา เจ็บคอ ต่างๆมากมากครับ

ความสกปรกของคอยล์เย็นในระบบ AHU

ข้อจำกัดของการล้างด้วยน้ำยาแบบเดิมๆ

ในการเกิดเชื้อราในระบบ AHU ซึ่งการใช้วิธีล้างแบบเดิมๆจะใช้วิธีการล้างด้วยสารเคมี ซึ่งการล้างเชื้อราที่มีคราบเมือกเยอะๆ หรือคราบตะไคร่ต่างๆ การใช้สารเคมีแบบเก่าจะมีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น

  1. ด้วยความเข้มข้นของเคมีนั้น ต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่สามารถทิ้ง ไว้เป็นเวลานานได้ เพราะเคมีจะทำลายพื้น ผิวโลหะของคอยล์เย็นได้
  2. ไม่สามารถทำการล้างในวันและเวลาทำงานปกติ เนื่องจาก กลิ่นเหม็นของสารเคมีที่ตกค้างซึ่ง เป็นอันตรายต่อการสูดดมของสารเคมี ที่ใช้ในการล้าง จึงต้องทำในเวลากลางคืน หรือ วันหยุด (ซึ่ง ถ้าเป็นสถานที่ๆ ไม่มีวันหยุด อาจต้องทำในเวลาหลังเที่ยงคืน ซึ่งเวลาอาจไม่พอในการล้างให้สะอาด และกำจัดกลิ่นตกค้างของเคมีได้)
  3. ถ้าจะทำการล้างแบบ Deep Clean แบบขจัดคราบฝังลึกติดแน่น ที่จะต้องใช้เคมี ปริมาณมาก ในการทำความสะอาดนั่น จะต้องมี การชะล้างสารเคมี ที่จะต้องทิ้ง ลงใน ท่อน้ำ ทิ้ง ซึ่ง จะไปทำลายจุลินทรีในระบบ บำบัดน้ำเสีย และ จะก่อให้เกิดปัญหาอื่นในระบบบำบัดตามมา ซึ่ง ทั้ง หมดนี้ เป็นสาเหตุที่ไม่อาจทำการล้างด้วยเคมีแบบ Deep Clean ที่ทำให้ สะอาดได้ ในการล้างครั้งเดียว

การใช้น้ำยาออแกนิคล้างระบบ AHU

ดังนั้นการเลือกกรบวนการล้างด้วยน้ำยาออแกนิค ที่เป็นมิตรต่อคน อุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ และจะเป็นคำตอบใหม่ๆสำหรับการล้างระบบ AHU ครับ

ประโยชน์ที่ได้จากการล้างด้วยนํ้ายาธรรมชาติ หรือ น้ำยาออแกนิค

  1. น้ำยาออแกนิคที่ใช้ในการล้างไม่มีกลิ่นเหม็นอันตรายรบกวนสามารถ ทำการล้าง ได้ในเวลาทำงาน ปกติ สามารถพ่นลงบน coil และแช่ทิ้งไว้เป็นชั่วโมงเพื่อให้เกิดทำงานให้เชื้อราหรือ เมือกเป็นก้อนตะไคร่ให้ละลาย หรือนิ่มลง เพื่อให้สะดวกในการชะล้างออกด้วยน้ำแรงดัน
  2. และด้วยความที่เป็นผลิตภัณฑ์ ออแกนิคจากธรรมชาติ การพ่นน้ำ ยาแช่ทิ้ง ไว้ที่คอยล์เป็นเวลานาน จะไม่ทำให้พื้น ผิวของ coil เสียหาย
  3. และด้วยความที่เป็นผลิตภัณฑ์ ออแกนิคจากธรรมชาติ การชะล้างด้วยน้ำ และ ปล่อยลงท่อน้ำ ทิ้ง จะไม่เป็น
    อันตรายต่อ ระบบจุลินทรีของระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งปกติน้ำยาเคมีจะทำลาย
  4. หลังจากจบกระบวนการล้าง สามารถเดินเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้กลิ่นหายไม่เป็นอันตรายต่อคนทำงาน และผู้ที่ทำงานภายใต้ พื้นที่ส่งลมเย็นของตัว AHU นั้น ๆ

ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ของน้ำยาออแกนิคจะมี Pure clean และ Industrial solution จากทาง AVA Industrial Formula

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ จากทาง Global Seal นะครับ

แล้วพบกับสาระความรู้ทางด้านงานช่าง และงานวิศวกรรมได้ในโพสถัดๆไปนะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่