ในงานซ่อมและการบำรุงรักษา หรืองาน Maintenance มีประเภทงานซ่อมและบำรุงรักษา มากมาย หลายชนิดตั้งแต่งาน PM CM และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งแต่ละชนิดก็มีลักษณะ และข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันนะครับ.
เพื่อนๆสามารถกลับไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้อได้ดังนี้นะครับ
ระบบงานซ่อม และการบำรุงรักษาโดยทั่วไป (Maintenance System)
ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง
การวางแผน PM ในงานซ่อมและการบำรุงรักษา – (Preventive Maintenance)
แต่หนึ่งในประเภทงานซ่อม ที่โรงงานอุตสาหกรรมไม่อยากให้เกิดที่สุดคือ งานชนิด CM หรือ Corrective Maintenance ซึ่งงานซ่อมประเภทนี้ถือว่าเป็นภัยร้ายทั้งต่อโรงงานผลิต และกำไรของบริษัทเลยที่เดียวเลยครับเพื่อนๆ
ซึ่งหมายความของเค้า ก็ตามชื่อของเค้าเลยครับว่า เกิดความผิดปกติในเครื่องจักร เป็สาเหตุให้ต้องแก้ไข (Corrective) ให้ถูกต้องเพื่อที่จะให้เครื่องจักรกลับมาทำงานตามปกติ
ซึ่งเจ้างาน CM ตัวร้ายก็มีหลายแบบ….เราลองมาดูกันว่าจริงๆแล้วงาน CM คืออะไร มีกี่ประเภท ผลกระทบเมื่อเจองาน CM เยอะๆในโรงงานอุตสาหกรรมจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง รวมถึงทำอย่างไร เราถึงป้องกันเจ้าภัยร้ายตัวนี้ได้กันครับ 🙂
อะไรคืองาน CM (Corrective Maintenance)?
การที่เครื่องจักรเกิดอาการทำงานที่ผิดปกติ (Incorrect operational function) จนจำเป็นที่จะต้องเข้ามาแก้ไข ให้ถูกต้อง (Correct) เพื่อที่จะให้กลับมาทำงานได้ถูกต้องตามปกติ อาจจะเป็นงานที่วางแผนเข้าทำ (Planned maintenance) หรือ งานที่ไม่ได้วางแผนเข้าทำ (Unplanned Maintenance) ก็ได้ครับ
โดยสาเหตุหลักๆ 3 ประการของเกิดงาน CM ชนิดนี้มาจาก
- เมื่อเครื่องจักรถูกตรวจพบด้วยระบบตรวจสอบ (Condition Monitoring) ไม่ว่าจะเป็น การวัด Vibration monitoring, การวัดความหนาของถังแรงดัน (ใน RBI program ของทาง inspector), หรือ กระบวนการตรวจสอบด้วยวิธี NDT (Non-Destructive Testing)
- เมื่อแผนงานซ่อมและการบำรุงรักษาทั่วๆไป (Routine Maintenance) หรืองาน PM ไม่เพียงพอ ขอยกตัวอย่างเช่น รอบการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหรือจาระบี นานเกินไปจนทำให้สารหล่อลื่นเสื่อมสภาพจนเครื่องจักรมีโอกาสเกิดความผิดปกติ หรือพังเสียหายได้ครับ
- เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ ในเครื่องจักร ยังมีหลายอุปกรณ์ที่แม้งานซ่อมเพียงพอ แต่ก็สามารถเกิดความเสียหายต่อชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลได้ เนื่องจาก เป็นการพังเสียหายแบบคาดเดาไม่ได้ (Random failure mode) เช่น บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นครับ
ประเภทของงาน Corrective Maintenance
โดยประเภทของงาน Corrective Maintenance (CM) สามารถแบ่งออกได้เป็น งาน CM ที่วางแผนได้ Planned CM) และ งาน CM ที่ต้องเข้าทำทันทีและวางแผนไม่ได้ (Unplanned CM)
งาน CM ที่สามารถวางแผนได้ (Planned CM) มาจาก
- การกำหนดกลยุทธแบบ Run-to-failed Strategy สำหรับบางเครื่องจักรกลตัวเล็กๆ ก็ยังมีประเภทที่ใช้งานจนเกิดความผิดปกติ แล้วมีผลกระทบต่อโรงงานน้อยมากจนกระทั้งปล่อยให้เดินเครื่องจนพัง (Run-to-failed) แล้วยังคุ้มค่าเงินกว่า ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติเลยครับที่เครื่องจักรจะพังแล้วเกิดงาน CM ขึ้นมา และสามารถวางแผนเข้าไปจัดการได้สบายๆ (Planned maintenance)
- เกิดความผิดปกติบางอย่างขึ้นกับเครื่องจักร แต่ยังไม่ต้องแก้ไขปัญหาทันที ซึ่งสามารถวางแผนและกำหนดเวลาเข้าทำได้ ซึ่งแบบนี้อาจจะเจอจาก แผน PM (Preventive Maintenance) หรือ PdM (Predictive Maintenance) อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ตามกลยุทธแบบ Proactive Maintenance เช่น เจอสัญญาณความผิดปกติในตลับลูกปืน (Bearing) แต่ยังสามารถใช้งานต่อ 3 เดือน ซึ่งระหว่างนั้นสามารถวางแผนหาคน หาอะไหร่ เข้าไปซ่อมได้ครับ
และงาน CM ที่ไม่สามารถวางแผนได้ (Unplanned CM) มาจาก
- อาจจะเกิดความผิดปกติที่อยู่ในช่วงการวางแผนงานซ่อม (PM) จากรอบที่แล้ว ไปถึงรอบหน้า (ซึ่งอาจจะมาจากการวางแผน PM ที่ไม่เหมาะสม) และอยู่ดีๆเครื่องจักรเกิดการเสียหายของเครื่องจักรทันที (Break down)* และจำเป็นต้องเข้าไปรีบซ่อมทันที
- เครื่องจักรสามารถเกิดการพังเสียหายจนต้องซ่อมกระทัน เมื่อเครื่องจักรแสดงอาการหนักแบบกระทันหัน ซึ่งระบบ Condition monitoring หรือ แผน PM ของเราตรวจไม่พบ ซึ่งพอจับด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และการตรวจสอบจะเกินค่ามาตราฐานจนไม่สามารถใช้งานต่อได้แล้ว ก็จำเป็นต้องหยุดและเข้าซ่อมในทันที
*นิยามของ Break down คือ เครื่องจักรเกิดความพังเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อได้เลย
ผลกระทบเมื่อต้องเจอกับงาน CM บ่อยๆ
แน่นอนว่าผลกระทบหลักๆเมื่อเจองาน CM บ่อยๆ ที่โรงงานผลิตจะได้รับคือ
- เรื่องต้นทุนในงานซ่อม (Maintenance Cost) แน่นอนว่า…..เครื่องจักรที่อยู่ดีๆเกิดความผิดปกติ หรือพังเสียหาย (Break down) จะมีแนวโน้มที่ค่าซ่อมจะสูงกว่า การวางแผนเปลี่ยนซ่อมการที่จะเกิดความเสียหาย
- ในแง่ของการสูญเสียโอกาสในการผลิตครับ (Lost of Production Opportunity) อันนี้ถือว่ารุนแรงมากครับสำหรับโรงงานผลิต เพราะ กำไรของโรงงาน รวมถึงความไว้เนื่องเชื่อใจของทาง คู่ค้า (Vendor) จะลดลงครับ
- Avalibility, MTBF ของเครื่องจักรลดลง และในของ Unplanned down time จะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของโรงงานนั้นๆลดลง
การวางแผนป้องกันเพื่อลดจำนวนงาน CM
แต่เพื่อนๆรู้มั้ยครับ เจ้าภัยร้ายอย่างงาน CM ก็สามารถลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญด้วยการทำตามนี้ครับ
- การวางแผน PM (Preventive Maintenance) ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรนั้นๆ
- การกำหนดแผน PdM (Predictive Maintenance) ที่มีคุณภาพ และได้มาตราฐานในการเข้าไปตรวจสอบเครื่องจักรนั้นๆ
- การกำหนดแผนกลยุทธโดยองค์รวมให้เหมาะสมโดยใช้เครื่องมือ เช่น RCM (Reliability Center Maintenance), RBI (Risk Base Inspection) TPM (Total Productive Management) และ SIF (Safety Integrity Level) เป็นต้น เพื่อเข้ามาจัดการระบบงานซ่อม และระบบผลิตทั้งระบบครับ
- การจัดการระบบบริหารด้วยระบบ CMMS หรือ (Computerized Maintenance Management System) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมาเก็บข้อมูล แจ้งเตือน และวิเคราะห์ เพื่อกำหนดกลยุทธในงานซ่อม (Maintenance Strategy) ได้อย่างเหมาะสมครับ
และสุดท้ายนี้ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีจาก Factorium โปรแกรม CMMS อันดับหนึ่งของไทย หากเพื่อนๆกำลังมองหาโปรแกรมจัดการงานซ่อมบำรุงอื่นๆที่ทันสมัยที่สุด เพื่อตอบโจทย์โรงงานยุค 4.0 ณ เวลานี้ ทั้งบนคอมพิวเตอร์ แทปเลต และมือถือ (ทั้ง Android และ iOS)
สามารถลองไปสมัครใช้ฟรีกันได้เลยครับผมที่
แล้วพบกับสาระดีๆทางด้านงานช่าง งานอุตสาหกรรม และงานวิศวกรรมได้ที่ เพจนายช่างมาแชร์นะครับผม
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
#นายช่างมาแชร์
[…] งาน CM (Corrective Maintenance) – ภัยร้ายในระบบงานซ่… […]