การวางแผน PM ในงานซ่อมและการบำรุงรักษา – (Preventive Maintenance)

4
PM wallpaper
PM wallpaper

จากบทความที่ผ่านมาในเรื่องของ “ชนิดของงานซ่อมบำรุง” ทำให้รู้ว่า เราควรที่จะวางแผนดูแล และมีกระบวนงานซ่อมเครื่องจักรก่อนที่เครื่องจักรจะพัง เพื่อไม่ให้การผลิตในโรงงาน ต้องหยุดจนโรงงานสูญเสียโอกาสในการผลิต ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่สูงกว่า ค่าซ่อมเครื่องจักรมากๆเลยครับ

แต่ว่า….ในการวางแผนงานซ่อมที่ดีนั้น จะต้องคิดถึงในแง่ของต้นทุนงานซ่อมที่เหมาะสมด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน หากเราวางแผนเข้าไปเปลี่ยนถ่ายไม่เหมาะสม

เช่นช้าเกินไปก็อาจจะทำชิ้นส่วนในเครื่องจักรเสียหาย ส่งผลให้เครื่องจักรพังโดยที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าเอาไว้ (Unplanned break down)

แต่ถ้าวางแผนซ่อมเร็วเกินไปน้ำมันยังที่ยังมีคุณภาพที่ดีอยู่ แต่ก็ต้องถูกเปลี่ยนไปซะแล้ว…ส่งผลทำให้ต้นทุนงานซ่อมสูงอีก แล้วจุดไหนละ….ที่จะเหมาะสมที่สุดในการเข้าไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันกันหละ?

วันนี้ทางเพจนายช่างมาแชร์ ขอมามาแชร์ความรู้ในด้านของ “งานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน” หรือ “Preventive Maintenance” (PM) กันนะครับ.

อะไรคือ งานซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance?

งานซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยนิยามแล้ว “เป็นการดูแลชิ้นส่วนของเครื่องจักร ให้มีโอกาสล้มเหลวในการทำหน้าที่ของเค้าให้น้อยที่สุด” ซึ่งเครื่องจักรจะต้องไม่หยุดกระทันหันในขณะที่ทำงาน

โดยงานซ่อมบำรุงรักษาชนิดนี้จะถูกเรียกสั้นๆว่า “PM” ที่ย่อมาจาก Preventive Maintenance

ซึ่งลักษณะของงาน PM จะเป็นลักษณะการวางแผนให้เหมาะสมเพื่อที่จะเข้าไปทำกิจกรรมในงานซ่อมและการบำรุงรักษา

ชนิดของงาน Preventive Maintenance ?

ในการวางแผน PM ในงานซ่อมและการบำรุงรักษา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบหลักๆคือ แบ่งตามระยะเวลา (Time base) และ แบ่งตามปริมาณการใช้งาน (Usage base)

การวัด Vibration Analysis โดยเครื่องมือวัด

1. แผน PM ตามระยะเวลา (Time-based Preventive Maintenance)

ในการกำหนดแผน PM โดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนดเพื่อทำนายสภาพ และคุณสมบัติของเครื่องจักร ซึ่งในกรณีแรก จะใช้ในการเข้าไปทำกิจกรรมกับชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อเครื่องจักรมากๆ ซึ่งชิ้นส่วนตัวนั้นของเครื่องจักรมีผลกระทบรุนแรงต่อเครื่องจักรมากๆ หากชิ้นส่วนนี้เกิดความเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อเครื่องจักร และการผลิตของโรงงานได้ครับ

หรืิอสำหรับโรงงานที่เดินเครื่องจักร ที่มีระยะเวลาที่แน่นอนตลอด ขอยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจนะครับ เช่นสมมุติเรามีปั้ม 1 ตัว ในระยะเวลา 1 ปี ปั้มอาจจะมีการใช้งานตลอด 6,570 ชม (ใช้งาน 3 เดือน หยุด 1 เดือน; ตลอด 24 ชม) ก็สามารถกำหนดช่วงเวลาเข้าไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นทุกๆ 6 เดือน เป็นต้นนะครับ

2. แผน PM ตามปริมาณการใช้งาน (Usage-based Preventive Maintenance)

ในการกำหนดแผน PM ตามลักษณะปริมาณการใช้งานจะ “ชี้ชัดมากกว่า” แบบแผน PM ที่กำหนดตามระยะเวลา เพราะ สภาพ และคุณสมบัติของชิ้นส่วนเครื่องจักร รวมถึงชิ้นส่วนสิ้นเปลืองต่างๆ (Consume part) จะสามารถทำนายได้แม่นยำกว่าครับ

ยกตัวอย่างเช่น เราจะกำหนดเป็นแผนว่า เราจะเข้าไปทำกิจกรรมของเครื่องจักรทุกๆการใช้งาน กี่ ชม ที่ใช้งานเครื่องจักรจริงๆ ,ตามจำนวนครั้ง (Cycle) , หรือ ระยะทางที่ใช้งาน (ในกรณีของยานพาหนะ) เป็นต้นนะครับ

การวางแผนงาน PM (Preventive Maintenance Planning)

การวางแผนงาน PM โดยปราศจากโปรแกรม CMMS หรือโปรแกรมบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง ถือว่าเป็นความท้าทายของโรงงานอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้ไม่ลืมงาน PM….เนื่องจากว่า การวางแผนเข้าไปทำการซ่อม และบำรุงรักษาต้องใช้ทั้ง กำลังคน (Man-hour) สิ่งของต่างๆ (Spare part) และช่วงเวลาที่จะเข้าไปทำ (Planned schedule) ซึ่งข้อมูลพวกนี้มีปริมาณมหาศาล ทีเดียวเลยครับสำหรับโรงงานหนึ่งโรงงาน

Planning กระบวนการวางแผน
Planning กระบวนการวางแผน

“โปรแกรม CMMS คืออะไร คลิกไปอันได้ตรงนี้เลยครับ”

ยกตัวอย่างเช่น เรากำหนดแผนการซ่อมเครื่องจักรทุกๆ 4 ปี ด้วยเวลาตั้ง 4 ปี อาจจะมีคนเก่าลาออก หรือเปลี่ยนแปลงองค์กร ข้อมูลการซ่อมก็สามารถลืมไปได้ง่ายๆแล้วครับ

ตลอดจนปัญหาโลกแตก!! อย่างการทำงานตามแผน PM แต่ช่างหน้างานก็ไม่ได้เข้าไปทำจริง แต่ส่งรีพอทมาว่าทำครบหมดแล้ว….?? ก็ไม่สามรถควบคุมได้ครับ (ถ้าเป็นยุคระบบสมัยใหม่จะมีระบบสแกน QRcode รวมถึงถ่ายรูปเป็น Report และเก็บข้อมูลหน้างานได้ทันทีเลยครับ; ระบบ QRcode ในงานตามแผน PM)

QR-code-scan-system-stone
ระบบ QR Scan ในการทำแผน PM ด้วยระบบ CMMS ยุคใหม่

ดังนั้นการที่เรามีโปรแกรม CMMS ที่ดีจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้มากๆเลยครับ ซึ่งจะสามารถติดตามผลการเข้าไปทำ ว่าแผนทั้งหมดในโรงงานมีอะไรบ้าง เสร็จตามแผนกี่งาน มีข้อมูลต่างๆนำมาวิเคราะห์ และสรุปผล และยังสามารถตั้งเป็น KPI ประจำหน่วยงานได้อีกต่างหากนะครับ

“ความเหมาะสม” และ “ข้อจำกัด” ของงาน Preventive Maintenance

งานที่เหมาะสมสำหรับการทำ PM จะเป็น ลักษณะเครื่องจักรที่

  • ลักษณะของความเสียหายของชิ้นส่วน สามารถป้องกันได้ด้วยการซ่อมและบำรุงรักษาปกติ
  • ลักษณะความเสียหาย แปรผันตรงตาม การใช้งาน
  • ชิ้นส่วนอุปกรณ์มีความสำคัญต่อเครื่องจักรมาก (อารมณ์ประมาณว่า “เปลี่ยนก่อนไปเลย” ครับ)

แต่อย่างไรก็ตาม PM ก็ยังมีข้อจำกัดต่ออุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนบางประเภท

  • เป็นความเสียหายแบบสุ่ม (Random failure mode) ; การพังไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ใช้ๆงานอยู่ไปอาจจะพังได้เลย หรืออาจจะใช้งานได้นาน ซึ่งคาดเดาไม่ได้ เช่น บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นครับ
  • อุปกรณ์ที่ไม่ได้มีความสำคัญ หรือผลกระทบต่อโรงงาน (ประมาณว่า ค่าการบำรุงรักษาในการทำ PM แพงกว่า ซ่อม หรือซื้อใหม่ครับ)

และสุดท้ายนี้ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีจาก Factorium โปรแกรม CMMS อันดับหนึ่งของไทย หากเพื่อนๆกำลังมองหาโปรแกรมจัดการ PM และงานซ่อมบำรุงอื่นๆที่ทันสมัยที่สุด ณ เวลานี้ ลองไปสมัครใช้ฟรีกันได้เลยครับผม (โหลดใช้งานฟรี คลิกที่ภาพเลยครับ)

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์

4 ความคิดเห็น

  1. […] เพื่อนๆสามารถกลับไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้อได้ดังนี้นะครับระบบงานซ่อม และการบำรุงรักษาโดยทั่วไป (Maintenance System) ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุงการวางแผน PM ในงานซ่อมและการบำรุงรัก… […]

  2. […] กลับไปอ่านบทความได้ที่นี้นะครับงาน CM (Corrective Maintenance) – ภัยร้ายในระบบงานซ่อมและการบำรุงรักษาการวางแผน PM ในงานซ่อมและการบำรุงรัก… […]

  3. […] กลับไปอ่านบทความได้ที่นี้นะครับงาน CM (Corrective Maintenance) – ภัยร้ายในระบบงานซ่อมและการบำรุงรักษาการวางแผน PM ในงานซ่อมและการบำรุงรัก… […]

  4. […] เพื่อนๆสามารถกลับไปอ่านบทความที่เกี่ยวข้อได้ดังนี้นะครับระบบงานซ่อม และการบำรุงรักษาโดยทั่วไป (Maintenance System)ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุงการวางแผน PM ในงานซ่อมและการบำรุงรัก… […]

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่