ในทุกๆอุปกรณ์ ในการป้องกันการรั่วซึมแล้ว จะมีชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งเป็นตัวกันรั่วไม่เห็นของด้านในออกมาได้ หรือออกมาได้น้อยที่สุด นั้นคือ ปะเก็น หรือ Gasket ครับ
โดยตามหลักการ ปะเก็น คือชิ้นส่วนที่ถูกออกแบบให้มีการยุบตัวได้ โดยจะติดกับเนื้อชิ้นงานที่มีการประกบกัน โดยเนื้อปะเก็นเมื่อถูกกดอัด จะทำให้เนื้อของปะเก็นราบไปกับวัสดุ ทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสแนบสนิท จนทำให้ของด้านใน
เช่น ของเหลว ก๊าซ ฝุ่นละอองต่างๆ เป็นต้น ไม่สามารถไหลออกมาได้ครับ หรือกันรั่วได้นั้นเองครับ (ซึ่งตามทฤษฏีต้องบอกไหลออกมาในปริมาณที่น้อยที่สุดครับ เช่น 1 หยดต่อเดือนเป็นต้นครับซึ่งน้อยมากๆเลยครับ).
ชนิดของปะเก็น
โดยชนิดของปะเก็นบนโลกใบนี้ต้องบอกว่ามีจำนวนมากมายจริงๆครับ ซึ่งจริงๆการออกแบบจะขึ้นอยู่กับรูปร่าง และชิ้นส่วนบางชิ้นก็ต้องสั่งจาก OEM (Original Equipment Manufacturer) อย่างเดียว เช่นพวกประเก็นฝาสูบ ประเก็นเสื้อปั้ม เป็นต้น บางแบบก็ตัดใช้งานได้ครับ เช่นประเก็นตามหน้าแปลน ประเก็นยางต่างๆ ดังนั้นขอแบ่งชนิดการใช้งานโดยของแบ่งตามวัสดุ และประเภทใช้งานนะครับ
1. ปะเก็นแบบอโลหะ (Non-metallic gasket)
ปะเก็นแบบอโลหะ (Non-metallic gasket) ประเก็นชนิดนี้จะทำจากวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ จะเป็นวัสดุจำพวก ยาง (Rubber), Teflon, Compress Non-asbestos Fiber (CNAF) มีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนได้ดี แต่ทนอุณหภูมิกับความดันสูงไม่ค่อยดีนัก และที่สำคัญราคาไม่แพงครับ
2. ปะเก็นโลหะ (Metallic gasket)
ปะเก็นโลหะ (Metallic gasket) ทำจากวัสดุที่เป็นโลหะที่มีความอ่อนตัว เมื่อถูกกดด้วยแรงบีบค่านึงจะมีการยุบตัว วัสดุจำพวก Soft iron, low carbon steel, monel, inconel จำพวก RTJ หรือ Ring gasket โดยคุณสมบัติมีความแข็งแรงสูง แต่ละวังเรื่องการกัดกร่อน ใช้ในอุณหภูมิสูง และความดันสูงได้ดี แต่ราคาค่อนข้างแรงนะครับ
3. ปะเก็นแบบผสม (Composite gasket)
ปะเก็นแบบผสม (Composite gasket) จะเป็นปะเก็นที่มีการประกอบกันระหว่าง ปะเก็นโลหะ และอโลหะ ยกตัวอย่างเช่น ปะเก็นฝาสูบ, ปะเก็น Spiral would, ปะเก็น Metal jacket, ปะเก็น Kammprofile เป็นต้น ซึ่งพวกนี้จะถูกออกแบบตามการใช้งานต่างๆ เช่น ตามหน้าแปลน, ตามฝาถังภาชนะรับแรงดัน หรืออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนต่างๆ
4. ปะเก็นเหลว (Liquid gasket)
ปะเก็นเหลว (Liquid gasket) เป็นประเก็นที่มีลักษณะเหมือนกาวยาง เมื่อถูกทาเข้าไปจะเข้าไปซีล และป้องกันรอยรั่วซึม จะนิยมใช้ในงานเครื่องจักรกล และท่อประปาต่างๆ แต่ต้องเก็บดีๆนะครับ หากเก็บไม่ดีจะแห้งและใช้งานไม่ได้
วิธีการเลือกใช้ปะเก็น
ด้วยวัสดุและคุณสมบัติของสารที่อยู่ด้านใน รวมถึงความดัน และอุณหภูมิใช้งาน การเลือกปะเก็นให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยดูจากหลักๆดังนี้ครับ
1.ความทนทานต่อสารเคมีที่ปะเก็นสัมผัส
2.ความหนา-บางของปะเก็นเหมาะสมกับชิ้นงานหรือไม่
3.ความทนทานของปะเก็นต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงของชิ้นงาน
4.ความทนทานของปะเก็นต่อแรงกดดันในชิ้นงาน
5.ความสามารถในการสกัดกั้นของเหลวหรือแก๊สไม่ให้ไหลซึมผ่านได้
แล้วพบกับสาระดีๆทางงานช่าง และงานวิศวกรรมได้ที่เพจนายช่างมาแชร์นะครับ แล้วพบกันตอนต่อไปนะครับ
Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
#นายช่างมาแชร์ #ปะเก็น #Gasket
อยากทราบราคาประเก็นD22 ความหนา5มิล