Coupling [EP.1] – อุปกรณ์ส่งกำลังระหว่างเพลา

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างตัวขับและตัวตาม ไม่ว่าจะเกิดปัญหาที่ฝั่งตัวขับ หรือฝั่งตัวตาม มันก็จะได้รับความเสียหายตลอดเรียกว่าโดนทั้งขึ้นทั้งร่องเลยครับ นั่นคือ คัปปลิง (Coupling) ครับ

Coupling เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งถ่ายกำลัง (Power Transmission) ระหว่าง ตัวขับ (Driver) และ ตัวถูกขับ (Driven) นอกจากนั้นข้อดีอื่นๆคือ สามารถให้เพลารับการเยื้องศูนย์ได้บ้าง, ป้องกันการเสียหายจากเครื่องจักรโดยตรง (ออกแบบให้ Coupling พังก่อน)

ยกตัวอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆนะครับ ตัวขับก็เป็นเครื่องจักรต้นกำลังเช่น มอเตอร์ (Motor), เครื่องยนต์ (Engine) หรือ Steam turbine เป็นต้น หรือ ตัวถูกขับก็เป็นเครื่องจักรที่เราใช้งานเช่น ปั้ม(Pump), คอมเพลสเซอร์ (Compressor), Blower เป็นต้น

motor-with-pump-coupling1
Motor (ตัวขับ Driver)
Pump (ตัวตาม Driven)
ส่งกำลังผ่าน Coupling (สีแดง)

โดยสองฝั่งจะต่อด้วย Coupling โดยมีการตั้งค่าระยะ alignment ที่เที่ยงตรงและยอมรับได้ตามมาตรฐาน หรือ Standard สากล มาในส่วนของ Coupling จะมีมากมายหลายแบบ แต่จะแบ่งออกใหญ่ๆ เป็น

ประเภทของ Coupling

คัปปลิงสามารถแบ่งประเภทออกได้ 2 แบบใหญ่ๆคือ

1) คัปปลิงแข็งเกร็ง (Rigid coupling)

คัปปลิงแข็งเกร็ง (Rigid coupling) ใช้ระยะห่างระหว่างเพลาปลายเพลาคงที่และศูนย์ของเพลาต้องตรงกัน เช่น flange coupling เป็นต้น

คัปปลิงแข็งเกร็ง (Rigid coupling)
ภาพของ Rigid coupling

2) คัปปลิงอ่อนตัว (Flexible coupling)

คัปปลิงอ่อนตัว (Flexible coupling) มีความยืดหยุ่นให้ได้เล็กน้อยประมาณ 1-2 mm และยังช่วยลดแรงสั่นสะเทือน (อันนี้ก็เป็นเหตุผลว่าทำไม misalignment แล้วเราวัดค่า vibration ไม่ขึ้น) ตัวอย่างที่เจอบ่อยๆคือ Gear coupling, flexible disc coupling

disc-coupling-components-by-lovejoy ภาพของ Flexible coupling แบบ disk
ภาพของ Flexible coupling (แบบ disk)

การเรียกชื่อตามมาตราฐาน

โดยการเรียกชื่อตามมาตราฐานคือ เลขมาตราฐาน ตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนอกของหน้าแปลน

” (Hub OD) x ขนาดเส้นศูนย์กลางของเพลา”

และจะวงเล็บด้วยวัสดุนั้น เช่น JIS B1451 140×35 (FC20)

Torque ของ Coupling (การคำนวณ)

ในส่วนของการคำนวณ coupling ส่งโมเม้นต์โดยหลักการจากความเสียดทานระหว่างหน้าแปลนซึ่งเกิดจาก สลีกเกลียวที่ใช้ยึดหน้าแปลนให้สัมผัสกัน

T = Fb x n x f x (Db/2)

โดยที่

Fb คือ แรงกดที่หน้าสัมผัสซึ่งเท่ากับแรงดึงขั้นต้นของสลักเกลียว Fi ; Fb = Fi = 0.8 x σy x As โดยที่ σy คือค่า yeild stress ของสลัก As เป็นพื้นที่รับความเค้นของสลักเกลียวและ As >= Fi/σtd
n คือ จำนวนเกลียว
f คือ สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
Db คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลมพิตซ์ของสลักเกลียว

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์ #Coupling #คัปปลิง #อุปกรณ์ส่งถ่ายกำลัง

นายช่างมาแชร์
นายช่างมาแชร์
ขอมาแชร์ความรู้ "งานช่าง เครื่องจักรกล และงานวิศวกรรม"ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

Related

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

228ผู้ติดตามติดตาม
1,580ผู้ติดตามติดตาม
356ผู้ติดตามติดตาม

Thanks Sponsor

Latest Articles

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ยินยอมใช้ Cookie สำหรับการติดตามการใช้งานเวปไซท์ นายช่างมาแชร์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหาและบริการ

บันทึกการตั้งค่า
×