การตั้งค่าความตึงของสายพานส่งกำลัง (Belt Tension)

อีกหนึ่งงานที่มีความสำคัญแต่หลายๆคนอาจจะยังมีความผิดพลาดกันอยู่ นั่นคือ “การตั้งค่าความตึงของสายพานส่งกำลัง (Belt Tensioning)” ให้ถูกต้อง ซึ่งจริงๆแล้วมันมีเทคนิคหลายๆอย่างที่เราไม่รู้อยู่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการติดตั้งและดูแลระบบส่งกำลังด้วยสายพานในเครื่องจักรที่ใช้สายพานในการส่งกำล้ง ไม่ว่าจะเป็น V-belt, Flat belt, หรือ Timing belt ในเครื่องจักร Blower, Fan (Air-Cooled Heat Exchanger) เป็นต้นนะครับ

เพราะความตึงที่ “พอดี” จะทำให้ระบบทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ยืดอายุการใช้งานของทั้งสายพานและพูลเลย์ และลดความสูญเสียพลังงานจากการลื่นไถล (slip) ส่วนจะมีอะไรบ้างตามไปดูในบทความได้เลยนะครับ

ความหมายของการตั้งค่าความตึงสายพาน “ให้เหมาะสม”

การตั้งค่าความตึงสายพาน “ให้เหมาะสม” หมายถึง การปรับระดับความแน่น หรือ “แรงตึงสายพาน (Belt Tension)” ของของสายพานให้อยู่ในช่วงที่ “เหมาะสม” ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพื่อให้สายพานมีแรงกดสัมผัสที่พอดีกับร่องพูลเลย์ทั้งด้านขับ (Driver) และด้านตาม (Driven) โดยการปรับแรงดึงด้วยการเพิ่มระยะห่างของ pulley นั่นเองครับ (อารมณ์คล้ายๆกับดึงหนังยางให้ยืดแล้วตึงนั่นเองครับผม)

สิ่งที่ได้รับเมื่อสายพานมีความตึงให้เหมาะสม

  • ป้องกันการลื่นไถล (Belt Slip )
  • รักษาความสัมพันธ์ของอัตราทดรอบให้คงที่ (Speed ratio)
  • ลดการสั่นสะเทือน (Less vibration)
  • ยืดอายุการใช้งานของสายพานและพูลเลย์ (Increase MTBF)
  • ส่งถ่ายพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Power Transfer efficency)

ถ้าตึงเกินไป / หย่อนเกินไป เกิดอะไร?

ความตึงผลกระทบ
ตึงเกินไป (Too tension force)– ลูกปืน (bearing) และพูลเลย์รับโหลดมาก → สึกหรอเร็ว- สายพานฉีกหรือขาดง่าย- เครื่องจักรเสียงดังและรับภาระเยอะ
หย่อนเกินไป (Less tension force)– สายพานลื่น (slip) – เกิดการสั่นหรือดีด- สายพานหลุดร่องพูลเลย์- กินพลังงานมากขึ้น

วิธีการตั้งค่าความตึงสายพาน

1. วิธีมือ (Manual Tensioning) – เหมาะกับงานเบา / ใช้ทั่วไป

เป็นวิธีพื้นฐานที่ใช้การกดสายพานด้วยมือแล้ววัดการยุบตัว (deflection) ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของช่วงสายพานระหว่างพูลเลย์สองตัว

ขั้นตอน:

  • ใช้นิ้วหรือเครื่องมือกดสายพานลง ณ จุดกึ่งกลาง
  • วัดระยะ “การยุบตัว” ของสายพาน (deflection)
  • ค่าโดยทั่วไป: 1/64 นิ้ว ต่อความยาวสายพาน 1 นิ้ว
    – เช่น ระยะพูลเลย์ 32 นิ้ว → ยุบตัวได้ 0.5 นิ้ว

NOTE: วิธีนี้ต้องใช้ความชำนาญพอสมควร จึงจะได้ความตึงที่เหมาะสม

2. ใช้เครื่องมือวัดแรงตึง (Belt Tension Gauge) – แม่นยำสูง

เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความแม่นยำ เช่น เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือระบบสายพานที่สำคัญ

ประเภทของเกจ:

  • Spring-type gauge: วัดแรงที่ใช้กดและการยุบของสายพาน
  • Frequency-type gauge: ใช้หลักการคล้ายการจูนสายดนตรี (สายพานจะสั่นเป็นความถี่) แล้วคำนวณเป็นแรงตึง
  • Ultrasonic tension meter: ใช้คลื่นเสียงวัดแรงตึงสายพานแบบไม่ต้องสัมผัส

วิธีใช้:

  1. ติดตั้งสายพานเข้ากับพูลเลย์เรียบร้อย
  2. ใช้เกจวัดที่จุดกึ่งกลางช่วงสายพาน
  3. เปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่าที่ผู้ผลิตสายพานแนะนำ (ค่าหน่วยเป็น N หรือ lbf)

3. Auto-tensioner / Self-adjusting tensioner

ในระบบเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรบางรุ่นจะมี ตัวปรับความตึงอัตโนมัติ ซึ่งจะกดสายพานให้อยู่ในแรงตึงที่เหมาะสมตลอดเวลา

ข้อดี:

  • ลดปัญหาการตั้งค่าไม่ถูกต้อง
  • ยืดอายุสายพาน
  • บำรุงรักษาง่าย

คำแนะนำเพิ่มเติม:

  • อ่านคู่มือผู้ผลิตสายพานหรือผู้ผลิตเครื่องจักรเสมอ เพราะค่าความตึง “พอดี” แตกต่างกันไปตามชนิดของสายพาน
  • วัดความตึงหลังการติดตั้งใหม่ทุกครั้ง โดยเฉพาะในช่วง 24 ชม.แรก เพราะสายพานจะ “ยืดตัว” เล็กน้อย
  • ตรวจสอบความตึงทุก ๆ 500 – 1,000 ชม.การทำงาน หรือบ่อยกว่านั้นถ้าใช้งานหนัก

สูตรคำนวณแรงตึงสายพาน (Belt Tension Formula) ; แบบ Deflection Method

สัญลักษณ์ความหมาย
Fแรงที่ใช้กดเพื่อให้สายพานยุบ (deflection force) [N หรือ lbf]
δค่าการยุบตัวของสายพานเมื่อกด [mm หรือ inch]
Lระยะห่างระหว่างศูนย์กลางพูลเลย์สองตัว (Span length) [mm หรือ inch]
kค่าคงที่ที่ขึ้นกับชนิดของสายพาน (ดูจากตารางของผู้ผลิต เช่น Gates, Bando, Mitsuboshi)

โดยทั่วไป ค่าการยุบตัว (deflection) มักใช้ประมาณ 1/64 นิ้วต่อความยาวสายพาน 1 นิ้ว

สูตรแรงตึงในสายพานขณะทำงาน (Dynamic Belt Tension)

สัญลักษณ์ความหมาย
T1แรงตึงด้านขับ (tight side tension) [N]
T2แรงตึงด้านหย่อน (slack side tension) [N]
Pกำลังส่งผ่านสายพาน [Watt หรือ HP]
vความเร็วสายพาน (belt speed) [m/s]
μค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างสายพานกับพูลเลย์ (โดยทั่วไป V-belt = 0.2 – 0.4)
θมุมสัมผัส (angle of contact) ระหว่างสายพานกับพูลเลย์ [rad] → มักใช้ 180° หรือ π rad

สรุป

“การตั้งค่าความตึงของสายพานเป็นเหมือนการปรับสายดนตรี – หากตึงเกินไป เสียงจะเพี้ยน และสายอาจขาด หากหย่อนเกินไป เสียงจะไม่ออก และสายจะสั่นไร้พลัง เช่นเดียวกัน สายพานที่ถูกตั้งตึงอย่างเหมาะสม จะถ่ายทอดพลังจากต้นกำลังไปยังเครื่องจักรอย่างนุ่มนวล ประหยัดพลังงาน และยืดอายุการใช้งานทั้งระบบให้ยาวนาน” นะครับทุกคน 🙂

************************************

สำหรับบทความนี้ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีจากทาง “บริษัท ไทยเลียว บราเดอร์ส จำกัด”

ผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ บริษัท เกทส์ ยูนิตะ จำกัด (ประเทศไทย) มายาวนานมากกว่า 50 ปี ด้วยเหตุนี้เราจึงเป็นผู้แทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สายพานเพื่องานอุตสาหกรรมหรือสายพานสำหรับยานยนต์ 

เราเป็นผู้นำของตลาดอยู่ตลอดเวลา โดยสามารถสนับสนุนลูกค้าด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงต่างๆที่ได้รับ การถ่ายทอดมาจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการทำ Drive Design หรือ การทำ Converter Design ล้วนแล้วแต่ช่วย เอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าสามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานได้ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้งาน กับสายพานของเกทส์โดยเฉพาะนั้นช่วยให้การปรับแต่งต่างๆมีความละเอียดสูงและมีความถูกต้องแม่นยำเป็นอย่างมาก

เรามีการเก็บสินค้าในทุกๆรายการให้อยู่ในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการไว้บริการลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ที่สำคัญเราคำนึงถึงการบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าที่ใช้

Tel. 02-116-6000

email : [email protected]

website : www.thaileo.com

Line : @thaileo

************************************

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/@naichangmashare
TikTok :  https://www.tiktok.com/@naichangmashare

#นายช่างมาแชร์ 

นายช่างมาแชร์
นายช่างมาแชร์
ขอมาแชร์ความรู้ "งานช่าง เครื่องจักรกล และงานวิศวกรรม"ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

Related

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

228ผู้ติดตามติดตาม
1,580ผู้ติดตามติดตาม
356ผู้ติดตามติดตาม

Thanks Sponsor

Latest Articles

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ยินยอมใช้ Cookie สำหรับการติดตามการใช้งานเวปไซท์ นายช่างมาแชร์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหาและบริการ

บันทึกการตั้งค่า
×