เทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture, Utilization and Storage) เปลี่ยนโลกพลังงานในอนาคต

0
Carbon Capture Utilization Storage Wallpaper
Carbon Capture Utilization Storage Wallpaper

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดเรื่องหนึ่งที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ และการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมานั้น เป็นสิ่งจำเป็นต่อการแก้ผลกระทบที่เกิดจากเรื่องนี้ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ให้เป็นทางออกที่จะช่วยขจัดคาร์บอนจากอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานเข้มข้นมากที่สุดของโลก ณ เวลานี้ ในช่วงที่กระแส Net Zero และ Carbon Credited มาแรงที่สุดเลยครับ

เทคโนโลยี CCUS หรือ Carbon Capture, Utilization and Storage คืออะไร?

เทคโนโลยีการดักจับ, การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS  เป็นเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และนำมากักเก็บภายใต้พื้นดินหรือใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย โดยหลักการเทคโนโลยีถูกนำมาประยุกต์ใช้ครั้งแรกในด้านการผลิตน้ำมันในขั้นตอนที่เรียกว่า “การสูบน้ำมันแบบก้าวหน้า” (Enhanced oil recovery : EOR) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970

แต่ทว่าเนื่องจากระบบ CCUS เป็นเทคโนโลยีที่มี “ราคาสูง” สำหรับการนำไปใช้ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม การลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา แต่ถึงอย่างไรก็ตาม “CCUS ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการลดคาร์บอน” และเริ่มได้รับการสนใจเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๗ จากการวางเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ และแรงจูงใจด้านการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากทั่วโลก อีกทั้ง CCUS ยังถือเป็นหนึ่งใน 5 วิธีการหลักในการเปลี่ยนถ่ายสู่พลังงานสะอาดสำหรับประเทศจีนอีกด้วย

4 ขั้นตอนของระบบ CCUS Credited IOGP.com

นอกจากนี้เพื่อการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เทคโนโลยี CCUS สามารถตอบสนองได้ด้วยคุณค่าด้านกลยุทธ์ที่โดดเด่นอันประกอบด้วย

  1. โรงงานผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งสามารถปล่อย CO2 8 พันล้านตัน ในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ สามารถทำการติดตั้ง CCUS ได้
  2. CCUS สามารถประยุกต์ใช้ได้ในภาคการผลิตที่หลากหลาย ขณะที่เทคโนโลยีอื่นๆ มีความจำกัด
  3. CCUS สามารถนำไปสู่การผลิตก๊าซไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำที่ต้นทุนต่ำที่สุด
  4. CCUS สามารถกำจัด CO2 จากบรรยากาศด้วยการทำงานร่วมกับการใช้พลังงานชีวภาพหรือการดักจับอากาศโดยตรงเพื่อสร้างสมดุลการปล่อย

ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการลดการปล่อย CO2 และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในกระบวนการอุตสาหกรรมที่หลากหลายซึ่งกำลังปล่อย CO2 ปริมาณมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศ

หลักการทำงานของ Carbon Capture

การใช้เทคโนโลยี CCUS ในประเทศไทย

ในส่วนของประเทศไทยเทคโนโลยีนี้ยังเป็นเพียงส่วนของการดักจับและกักเก็บคาร์บอน – Carbon Capture and Storage หรือ CCS เท่านั้น ยังไม่มีส่วนที่นำ CO2 มาใช้ประโยชน์ หรือ Utilization

โดย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ได้นำองค์ความรู้ และประสบการณ์ทางด้านธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมของการสำรวจและผลิต (E&P) มาต่อยอดในการพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม โดยจะนำคาร์บอนที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียมอัดกลับไปในหลุมผลิตปิโตรเลียมเดิมที่ไม่ได้ผลิตแล้ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศอื่นๆประเมินว่า เป็นเทคโนโลยีหลักในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ในปริมาณ “มากกว่าเทคโนโลยีแบบอื่น”

PTTEP อยู่ในขั้นตอนระหว่างการทดลองการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) โดยใช้หลุมผลิตปิโตรเลียมเดิมในแหล่งอาทิตย์ที่บริษัทเป็นเจ้าของสัมปทาน มาใช้กักเก็บคาร์บอนเบื้องต้นประมาณ 4-5 หลุม โดยตั้งเป้าในเฟสแรกว่าจะสามารถกักเก็บ คาร์บอนในแหล่งอาทิตย์ได้ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้น หรือ Pre-FEED Study โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มใช้เทคโนโลยี CCS ที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอาทิตย์ได้ในปี 2569 ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียมได้ในปริมาณมาก

นอกจากนี้ PTTEP อยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS ที่แหล่งลัง เลอบาห์ ในโครงการมาเลเซีย เอสเค 410บี ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ที่บริษัทค้นพบในประเทศมาเลเซียด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม โครงการ CCS ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านนโยบาย ด้านกฎหมาย และปัจจัยส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและองค์กรหลาย ๆ ฝ่ายในการผลักดันและส่งเสริมการนำเทคโนโลยี CCS มาใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมาย

ซึ่งหากใครมองหา “เทคโนโลยีดีๆ ในการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม , NetZero , Green Industry หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ขอแนะนำ….

=======================================================================

เทคโนโลยีปั้มและวาล์วอุตสาหกรรมมีความสำคัญและเป็นหัวใจของการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว หากเพื่อนคนไหนสนใจ ไม่อยากให้พลาดกับงาน PUMPS AND VALVES ASIA 2023 (PVA) ครั้งที่ 24 เป็นงานสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืนผ่านอุตสาหกรรมสีเขียว” เป็นงานแสดงเฉพาะทางหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่รวมเทคโนโลยีด้านปั๊ม วาล์ว ท่อ และอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ จากบริษัทชั้นนำของโลก เป็นโซลูชันสำหรับการประหยัดพลังงาน การลดต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาที่สำคัญของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในหัวข้อ “ยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรมสีเขียวอย่างปลอดภัยและยั่งยืน” และพื้นที่บูธให้คำปรึกษาจากกรมโรงงานฯ เรื่องความปลอดภัยในโรงงานและการขอใบอนุญาตต่างๆ .งานจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน2566 ที่ ฮอลล์ 1-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เปิดลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ววันนี้! เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าชมงาน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pumpsandvalves-asia.com

PV_THW_23_Banner_Barter1450x180 (1)

=======================================================================

Reference : PostTODAY , tgo.or.th, NSTDA.or.th

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่