การพัฒนา 5 ระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green industry)

0
5 steps for green industry Wallpaper
5 steps for green industry Wallpaper

อุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green industry เป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับ “การผลิตและให้บริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ในรูปแบบที่ยั่งยืนและเกิดผลดีต่อสังคม และแน่นอนว่าในวันนี้การเข้ามาของ Net Zero และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainabilty) ยิ่งทำให้หลายๆธุรกิจและโรงงานจำเป็นต้องปรับตัวตาม โดยอุตสาหกรรมสีเขียวมุ่งเน้นไปที่ “การลดการใช้พลังงาน” และ “การใช้ทรัพยากรที่น้อยลง ลดการปล่อยสารพิษ และขยะต่างๆ” และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นะครับ

อุตสาหกรรมสีเขียวคืออะไร ?

ก่อนอื่นขอมาดูคำนิยามของกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนนะครับ โดย อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) คือ ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดย มุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง และประกอบกิจการด้วย ความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่ อุปทานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

หลักสำคัญของอุตสาหกรรมสีเขียว

อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการมุ่งเน้น 3 เรื่อง ได้แก่

1. การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต

2. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

3. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ (ตลอดห่วงโซ่อุปทาน)

การพัฒนา 5 ระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว

กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำข้อกำหนดอุตสาหกรรม “เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผลประกอบการอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” เพื่อเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวไว้ 5 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment)

ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ การแสดงความมุ่งมั่นในรูปแบบของนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 ต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

ข้อ.2 ต้องมีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ

ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity)

ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดำเนินกิจกรรมตามนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่กำหนดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและสำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้ โดยมีข้อกำหนด คือ

ข้อ.1 กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และการสื่อสารนโยบายด้าน สิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ

ข้อ.2 จัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน การปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาแล้วเสร็จ

ข้อ.3 นำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดผล

ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) 

ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตาม ประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อ.2 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อ.3 นำไปปฏิบัติ

ข้อ.4 ติดตาม ประเมินผล

ข้อ.5 ทบทวน รักษาระบบ

ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) 

วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกร่วมกันในการสงวนและรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีและให้ความร่วมมือร่วมใจในทุกด้านของการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและดำเนินการต่างๆจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระดับที่ 3 ทุกข้อ

ข้อ.2 สร้างวัฒนธรรมองค์กรตามแนวทาง SR (ISO 26000)

ข้อ.3 รายงานเผยแพร่ต่อสาธารณะ

ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network)

เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือ การขยายขอบเขตของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวจากภายในองค์กรเองออกสู่ภายนอก ตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและมีวัฒนธรรมสีเขียวตาม ระดับที่ 4 ทุกข้อ

ข้อ.2 ส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับ supply chain ชุมชน และบริโภค

ข้อ.3 รายงานความสำเร็จเผยแพร่ต่อสาธารณะ

การพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียวด้วยปั้มและวาล์ว

Pump and Valve Facebook Wallpaper EP.1

คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกโรงงานสิ่งที่มีมากที่สุดในกระบวนการผลิตคือ ” ปั้ม และวาล์ว” ซึ่งแผนการพัฒนาอุปกรณ์สองตัวนี้หากพัฒนาให้สามารถ “ลดการใช้พลังงาน” และ “การใช้ทรัพยากรที่น้อยลง” ก็จะสามารถเป็นแผนพัฒนาโรงงานสู่ Green Industry ได้นั่นเองครับ

ซึ่งหากใครมองหา “เทคโนโลยีในการพัฒนาประสิทธิภาพ” และ “ลดการใช้พลังงาน” สำหรับอุปกรณ์ “ปั้ม และวาล์ว” โดยเฉพาะเลย ต้องมางานนี้เลยนะครับ

=======================================================================

เทคโนโลยีปั้มและวาล์วอุตสาหกรรมมีความสำคัญและเป็นหัวใจของการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว หากเพื่อนคนไหนสนใจ ไม่อยากให้พลาดกับงาน PUMPS AND VALVES ASIA 2023 (PVA) ครั้งที่ 24 เป็นงานสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืนผ่านอุตสาหกรรมสีเขียว” เป็นงานแสดงเฉพาะทางหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่รวมเทคโนโลยีด้านปั๊ม วาล์ว ท่อ และอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ จากบริษัทชั้นนำของโลก เป็นโซลูชันสำหรับการประหยัดพลังงาน การลดต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาที่สำคัญของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในหัวข้อ “ยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรมสีเขียวอย่างปลอดภัยและยั่งยืน” และพื้นที่บูธให้คำปรึกษาจากกรมโรงงานฯ เรื่องความปลอดภัยในโรงงานและการขอใบอนุญาตต่างๆ .งานจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน2566 ที่ ฮอลล์ 1-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เปิดลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ววันนี้! เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าชมงาน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pumpsandvalves-asia.com

PV_THW_23_Banner_Barter1450x180 (1)

=======================================================================

Reference : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่