Bigdata และ AI คืออะไร ? และนำไปใช้ประโยชน์อะไรในอุตสาหกรรม

0
Robotics AI Technology wallpaper
Robotics AI Technology wallpaper

หากพูดถึงสุดยอดเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มาแรงที่สุด และมีการนำมาประยุกต์ใช้ในทุกๆวงการทำงานนั้นคือ “เทคโนโลยี Bigdata และ AI” ซึ่งทางนายช่างเชื่อว่าเพื่อนๆหลายๆคนคงได้รู้จักและมีส่วนร่วมในการใช้งานหลายๆโปรแกรมที่ใช้ AI และ Bigdata ที่ได้สร้างความประหลาดใจถึงประสิทธิภาพและความแม่นยำของระบบนี้ และผมก็ยังเชื่ออีกว่า เพื่อนๆหลายๆคนอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบนี้เช่นกัน

ดังนั้นวันนี้ทางนายช่างมาแชร์ จะขอมาแชร์เรื่อง Bigdata และ AI แบบฉบับเข้าใจง่ายและเห็นภาพกันว่า มันคืออะไร? และเอาไปใช้อะไรได้บ้าง และที่สำคัญ ณ วันนี้โลกโรงงานอุตสาหกรรมของเรา…ได้พัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้กับงานอะไรกันบ้างแล้วครับผม

Bigdata และ AI ก็แค่วิชาสถิติและคณิตศาสตร์ ?

ก่อนอื่นของพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักกับ Bigdata หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ และ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ พอฟังสองคำนี้แล้วรู้สึกเหมือนกับว่ามันดันเป็นสิ่งที่ไกลตัวพวกเรามากๆเลยใช่มั้ยครับ…แต่จริงๆแล้ว Big data และ AI เป็นแค่เพียง “วิชาสถิติ และคณิตศาสตร์” แค่นั้นเองหรอ ?

ใช่ครับเพื่อนๆจริงๆแล้วเทคโนโลยีการคาดการณ์สุดแม่นยำ หรือ โปรแกรมการคำนวนที่แม่นยำที่สามารถสั่งหุ่นยนต์ให้มีความฉลาดล้ำโลกสุดๆ (แบบที่ไม่ต้องไปสั่งหุ่นยนต์ให้ทำงานเลย และหุ่นยนต์ก็สามารถเรียนรู้เองและเก่งขึ้นเรื่อยๆได้อีกด้วย) มาจากแก่นแท้ว่า….”ข้อมูลจริงและแม่นยำแค่ไหน?” เพราะหากคิดดีๆแล้ว หุ่นยนต์เวลาทำงาน จริงๆก็เป็นแค่ “หุ่น” เฉยๆเองครับ แต่สิ่งที่สามารถทำให้เค้าฉลาดได้ก็มาจาก “ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปนั่นเอง”

แต่ทว่า “ข้อมูล (Data)” ที่ป้อนเข้าไปนั้น มันจะไม่ใช่การป้อนข้อมูลเข้าและให้หุ่นยนต์ทำงานตามการป้อนข้อมูลเข้าไปเหมือนแต่เดิมครับ ขอยกตัวอย่างการทำงานแบบคลาสิคก่อนนะครับ เช่น เราสั่ง “หุ่นยนต์ส่งของ” ให้เดินไปด้านหน้า 3 เมตร และเลี้ยวขวา 5 เมตร จากนั้นพอหุ่นยนต์ถึงที่กำหนดไว้ก็จะให้วางของลง โดยเราอาจจะกดเลข 3,5 เพื่อให้หุ่นยนต์ทำตามที่เราสั่งเข้าไปครับ ซึ่งหุ่นยนต์แบบคลาสสิคก็จะทำงานตามที่เราป้อนข้อมูลไป อันนี้ในมุมคณิตศาสตร์เรียกว่า การทำงานตามฟังก์ชั่นการทำงานด้วยโมเดล หรือสมการที่กำหนดไว้ y = f(x)

ความสัมพันธระหว่าง “สมการทางคณิตศาสตร์” กับ “Bigdata, AI”

แต่ทว่าโลกของคณิตศาสตร์ และสถิติ ตามทฤษฎีพื้นฐาน (ซึ่งไม่ใช่ พื้นฐานของใครหลายๆคน TT) เราสามารถสร้าง “สมการ หรือ โมเดล (Model) จากข้อมูลที่รับมาได้ด้วย ชุดข้อมูล (Data)” ซึ่งหมายความว่า “เครื่องจักรสามารถสร้างรูปแบบการทำงานใหม่ได้ตลอดเวลาและแม่นยำยิ่งขึ้นภายใต้ชุดข้อมูลที่มีขนาดมากพอและได้คุณภาพ” โดยคำว่าการสร้างโมเดลสมการ และการสร้างความแม่นยำของสมการจากชุดข้อมูล ตรงนี้แหละครับ คือ AI หรือ Artificial Intelligent

กลับมาในมุมคณิตศาสตร์นิดนึงนะครับ เช่น เรามีฟังก์ชั่น x ที่ y = f (x) = Ax^3 + Bx^2 + Cx +D ซึ่งสมมุติว่าเป็นชุดการทำงานของหุ่นยนต์ แต่เรายังไม่รู้ตัวแปรสัมประสิทธิ A,B,C,D ซึ่งเราสามารถหาได้จากการสุ่มค่า x, y ไปเรื่อยๆและแทนค่ากลับ (Trial and error) มาในสมการและดูว่าความแม่นยำ (Accurracy) ใกล้เคียงรึยัง ?

AI Robot Machine Learning Wallpaper

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า…จริงๆหลักการนี้มันก็แค่หลักการพื้นฐานเอง แล้วทำไม Big data และ AI ถึงยังไม่เกิดซักทีหละ ??

คำตอบนั้นคือ Hardware ทางคอมพิวเตอร์สมัยนี้มีความทรงพลัง รวดเร็ว และประมวลผลข้อมูลเยอะๆ ได้ !! แต่เมื่อก่อนทำไม่ได้ เพราะว่า สมการคณิตศาสตร์ในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่ตัวแปรเดียว และมิติเดียว แต่เป็นตัวแปรและมิติที่มีจำนวนมาก ซึ่งจะต้องสร้างสมการพวกนี้ จากข้อมูลมหาศาล หรือ Bigdata นั้นเอง

ขอย้อนกลับไปที่หุ่นยนต์ส่งของแบบเดิมนะครับ แต่เดิมหุ่นยนต์เดินไป 3 เมตร 5 เมตรและวางของ แต่คำถามคือ มันคือวิธีที่ดีที่สุดหรือยัง? เพราะเราจำกัดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ไว้แล้ว แต่จริงๆแล้วหากเราใช้ AI มาประยุกต์ใช้ เราอาจจะทดสอบให้หุ่นยนต์ทำงานหลายๆแบบ หรือเป็นการสร้างข้อมูลหลายๆแบบให้กับหุ่นยนต์ หลังจากนั้นด้วยระบบ AI เค้าจะคิดหาวิธีที่ดีกว่า แม่นยำกว่า และสร้างประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ได้ดีกว่าเดิมในรูปแบบที่เราต้องคอยสั่งเรื่อยๆครับ

ปล. จากผู้เขียนนะครับ อันนี้อาจจะเป็นการยกตัวอย่างภาพรวมของ Bigdata , AI กับหลักการเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ แต่จริงๆแล้วหลักการ big data และ AI จะแบ่งได้หลากหลายหมวดหมู่และหลายแบบมากๆนะครับ หากสนใจอาจจะลองไปศึกษาเพิ่มเติมกันนะครับ

การนำมาประยุกต์ใช้ของ Bigdata และ AI ในอุตสาหกรรม

หลังจากที่เราเข้าใจหลักการคร่าวๆ ของ Bigdata และ AI ว่ามันคืออะไรแล้ว ? เราลองไปดูกันครับว่าในปัจจุบันมีการนำระบบเหล่านี้มาประยุกต์ใช้อะไรแล้วบ้าง ? (ซึ่งจริงๆก็วงการนี้ไปกันไกลมากๆเลยครับ) ยกตัวอย่างจากในชีวิตประจำวัน เช่น โปรแกรมแต่งภาพ เปลี่ยนภาพคนเป็นการ์ตูนที่คล้ายกันมากๆ ที่เราเจอใน TikTok , หรือ Recommend Model ที่คอยเลือกเพลง หรือ หนัง ที่คิดว่าเราจะชอบได้อย่างตรงใจใน Spotifiy หรือ Netflix,

ส่วนในวงการอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น การสร้าง Predictive Model ที่สามารถทำนายความเสียหายของเครื่องจักรในอนาคตได้อย่างแม่นยำ (กว่าการใช้ Standard และ ISO-10XXX ต่างๆ) , การทำนายราคาสินค้าและบอกจุดคุ้มทุนที่ดีที่สุด ต้นทุน-ราคาขาย , สินค้าคงคลัง , กำลังการผลิต ที่ทางโรงงานจะต้องตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ, ในภาคการผลิตและเครื่องจักรกล เช่น หุ่นยนต์ที่มีความฉลาดมากกว่าเดิม สามารถประกอบ ผลิตงานชิ้นส่วนได้ไวขึ้นและข้ามขีดจำกัดทำงานแบบเดิมๆไปได้ หรือ การต่อระบบ IoT ที่เชื่อมโยงเครื่องจักร ระบบการบริหาร ต้นทุน-ราคาเข้าด้วยกัน ถ้าให้เห็นภาพ คือ เช่นราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการปรับราคาสูงขึ้น วาล์วและปั้มในโรงงานก็จะเปิดและทำงานได้มากขึ้นเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานและแจ้งไปทางคนควบคุมและผู้บริหารว่า กำไรที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่ ; อาจจะดูเวอร์แต่ว่ามันเกิดขึ้นจริง หลายๆที่แล้วนะครับ

เทคโนโลยี VR AR XR ในอุตสาหกรรม

บทสรุป

สุดท้ายนี้อาจจะมีหลายๆคนกลัวการเข้ามาของ Big data และ AI จะทำให้หลายๆคนตกงาน และบางธุรกิจปรับตัวไม่ทันอาจจะสามารถเจ๊งได้เลย อันนี้ในมุมมองผู้เขียนนะครับ อาจจะต้องบอกว่า “จริง” แต่ด้วยระบบและกฏหมายเรื่องตกงานอาจจะทำได้ยากกว่าการปรับตัว Reskill เพิ่มศักยภาพการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ และได้ค่าแรงมากขึ้นกว่าเดิมด้วยครับ เพราะยังไงโรงงานก็จะต้องขยายตัวตามการเข้ามาของเทคโนโลยี

แต่ในแง่ของบริษัท หรือโรงงานถ้าหากไม่ปรับตัวอันนี้มีสิทธิ์ที่จะปิดกิจการสูงเลยครับ เพราะถ้าคู่แข่งสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาได้ประสิทธิภาพทางการผลิตจดเพิ่มขึ้น และสินค้าราคาของเค้าจะถูกลง ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันสูงขึ้นนั้นเองครับ

ซึ่งถ้าหากใครสนใจอยากปรับตัว หรือหาเทคโนโลยีเครื่องจักรที่นำระบบ Bigdata และ AI เข้ามาประยุกต์ใช้แล้วละก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมงาน Mira and Subcon EEC 2023 งานแสดงเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ด้านการบำรุงรักษา ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต ในวันที่ 6-8 กันยายน 2566 ที่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา จังหวัดชลบุรี

WebBanner_MiRA-SCT-1450x180

สนใจสอบถามการจองพื้นที่ : https://mira-event.com/2023/en/Exhibit_RequestForm.asp

รายละเอียดเพิ่มเติม:
Website: mira-event.com
Line: @miraevent

#นายช่างมาแชร์ #IoT #Technology #MIRA #SUBCON

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่