เหล็กเส้น (Steel bars) ในงานก่อสร้างอุตสาหกรรม

0
8
ขอมาแชร์ความรู้ "เหล็กเส้น" ในงานอุตสาหกรรม กันนะครับ ?
ขอมาแชร์ความรู้ "เหล็กเส้น" ในงานอุตสาหกรรม กันนะครับ ?

ขอมาแชร์ความรู้ “เหล็กเส้น” ในงานอุตสาหกรรม กันนะครับ โดยเหล็กเส้น หรือ Steel Bars เป็นวัสดุก่อสร้างชิ้นสำคัญที่ “ช่วยเสริมความแข็งแกร่ง”ให้กับงานคอนกรีตของโครงสร้างบ้าน ทั้งฐานราก เสา คาน พื้นผนัง ทำให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น ทนต่อแรงดึงมากขึ้น

โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar)

เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) – มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ คล้ายอ้อย ตัวย่อ “DB” ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทั่วไปคือ 12-16 มม. ความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 10 และ 12 เมตร เหมาะสำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการ “โครงสร้างที่แข็งแรง” เช่น อาคารสูง ๆ คอนโดมิเนียม สะพาน สนามบิน ที่สามารถรองรับน้ำหนักมากได้

2. เหล็กเส้นกลม (Round Bar)

มีลักษณะผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ตัวย่อ “RB” ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทั่วไปคือ 6-25 มม. ความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 10 และ 12 เมตร ใช้สำหรับงานโครงสร้าง ปลอกเสา ปลอกคาน เช่น งานก่อสร้างขนาดเล็ก และขนาดกลาง

การอ่าน Spec ของเหล็กเส้น

ปล. อันนี้ขอยกตัวอย่างเหล็กข้ออ้อยนะครับ โดยจากในภาพคือ ให้สังเกตที่ตัวอักษรนูนบนเนื้อเหล็กซึ่งจะแสดงซื่อผู้ผลิต หรือยี่ห้อ ชนิด ขนาด อย่างชัดเจน โดยสามารถดูสเปกได้จาก “ประเภท&ขนาด เช่น DB16” และ “ชั้นคุณภาพ เช่น DB40 ที่บอกถึงคุณสมบัติทางกล”

วิธีการตรวจสอบคุณภาพเหล็กเส้นกลมในงานก่อสร้าง

1. การตรวจสอบลักษณะภายนอก (Visual Inspection)

การตรวจสอบลักษณะภายนอก (Visual Inspection) – การตรวจสอบลักษณะภายนอกของเหล็กเส้นกลมเป็นขั้นตอนแรกที่ง่ายและสำคัญ ตรวจสอบว่าผิวของเหล็กเส้นไม่มีรอยสนิม รอยแตก หรือรอยบุบที่อาจเกิดจากการขนส่งหรือการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง

2. การตรวจสอบคุณสมบัติทางกล (Mechanical Properties Testing)

การตรวจสอบคุณสมบัติทางกล (Mechanical Properties Testing) – การตรวจสอบคุณสมบัติทางกลของเหล็กเส้นกลมเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้แน่ใจว่าเหล็กมีความแข็งแรงพอที่จะใช้งานในโครงสร้าง

– การทดสอบแรงดึง (Tensile Test): เป็นการทดสอบเพื่อหาค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) และค่าความยืดหยุ่น (Yield Strength) ของเหล็กเส้น การทดสอบนี้จะบ่งบอกถึงความแข็งแรงของเหล็กและความสามารถในการยืดหยุ่นภายใต้แรงดึง

– การทดสอบความแข็ง (Hardness Test) ทดสอบความแข็งของเหล็กเส้นเพื่อให้แน่ใจว่ามีความแข็งแรงพอสมควรต่อการใช้งานในโครงสร้าง

3. การตรวจสอบทางเคมี (Chemical Composition Analysis)

การตรวจสอบทางเคมี (Chemical Composition Analysis) การตรวจสอบส่วนประกอบทางเคมีของเหล็กเส้นกลมเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าเหล็กมีส่วนประกอบทางเคมีที่เหมาะสม

4. การตรวจสอบมาตรฐานและการรับรอง (Mill Certificate)

การตรวจสอบมาตรฐานและการรับรอง (Mill Certificate) – การตรวจสอบว่าเหล็กเส้นกลมผ่านการรับรองมาตรฐานที่กำหนดเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญนะครับ

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ #เหล็กเส้น #Steelbars #เหล็กข้ออ้อย #เหล็กกลม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่