กลยุทธ์ในการก้าวไปสู่ Proactive Maintenance

0
4
กลยุทธ์ในการก้าวไปสู่ Proactive Maintenance
กลยุทธ์ในการก้าวไปสู่ Proactive Maintenance

เชื่อว่าหลายๆโรงงานอุตสาหกรรมอยากจะขยับกลยุทธ์จากงานซ่อมบำรุงทั่วๆไปอย่าง Reactive/Prevenetive Maintenance ก้าวเข้าไปสู่แบบ Proactive Maintennace ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วย “ลดต้นทุนการผลิต (Cost Saving)” และ “เพิ่มความเสถียร (Reliability)” ในกระบวนการผลิตโดยการเน้นแก้ปัญหาตั้งแต่รากฐาน และส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัทโดยตรงอีกด้วยนะครับ

ความแตกต่างระหว่าง Proactive และ Preventive Maintenance

  1. Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) – การบำรุงรักษาตามรอบเวลา (Time-Based) เช่น การเปลี่ยนอะไหล่ตามกำหนด
  2. Proactive Maintenance: – การเน้นหาสาเหตุรากของปัญหา หรืออาการสุขภาพจริงๆ (Root Cause) ซึ่งจะป้องกันปัญหาที่อาจเกิดในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะดีกว่าแบบแรกนะครับ

ดังนั้นในบทความนี้อาจจะขอแชร์วิธีในการก้าวเข้าสู่กลยุทธ์งานซ่อมแบบ Proactive Maintenance กันครับ

Factorium Banner CMMS

5 กลยุทธ์สู่ Proactive Maintenance

1. การรวบรวมข้อมูลเครื่องจักรแบบ Real-Time Monitoring

a) ติดตั้ง IoT Sensors บนเครื่องจักรเพื่อตรวจจับข้อมูล – หรือสุขภาพของเครื่องจักรที่สำคัญแบบ ณ ช่วงเวลานั้นๆจริง ทำให้เราสามารถทราบ condition ของเครื่องจักรและทำนายอาการเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ IoT กุญแจสำคัญสู่โรงงานอุตสาหกรรม 4.0
เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ IoT กุญแจสำคัญสู่โรงงานอุตสาหกรรม 4.0
  • การติดตั้งเซนเซอร์การสั่นสะเทือน (Vibration Sensor) – เพื่อดูสุขภาพ Condition Monitoring จากแรงสั่นสะเทือนที่เราเก็บค่าไว้ หากเกิดความผิดปกติเราก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้อย่างทันทั่วที
  • การติดตั้งเซนเซอร์อุณหภูมิและความชื้น (Temperature & Humidity Sensor) – สำหรับเซนเซอร์ชนิดนี้อาจจะเหมาะสมกับเครื่องจักร หรือชิ้นส่วนที่มีผลกระทบต่ออุณหภูมิและความชื้น เช่นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น
  • การติดตั้งเซนเซอร์ความดัน (Pressure) – เซนเซอร์ชนิดนี้จะเหมาะในกลุ่มงานขนส่งและลำเลียง เช่น ปั้ม (Pump), คอมเพลสเซอร์ (Compressor), และระบบท่อทาง (Piping System) ต่างๆ เพื่อดูประสิทธิภาพของเครื่องจักรและระบบต่างๆ
  • การติดตั้งเซนเซอร์กระแสไฟฟ้า (Current Transform sensor) – เซนเซอร์ชนิดนี้เป็นตัวบ่งบอกว่าเครื่องจักรในการกินกระแสไฟฟ้าเท่าไหร่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติในระบบได้ หรือสามารถบ่งบอกประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นต้นครับ

b) ใช้ ระบบ CMMS (Computerized Maintenance Management System) – ในการบันทึก ,ติดตามประวัติการทำงาน และบริหารการซ่อมบำรุงอย่างครบวงจร ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญพื้นฐานที่สุดที่ควรมีครับ ซึ่งจะช่วยในทุกส่วนทั้งในระบบซ่อมบำรุงเองและฝั่งผลิตอีกด้วย เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมบำรุง, ลดต้นทุนการซ่อมบำรุง, ปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร, ลดงานเอกสาร, สนับสนุนการตัดสินใจ

CMMS-software-mobile

และยังเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อกับ IoT Sensors เพื่อเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ ตลอดจนการใช้ AI และ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์และพยากรณ์ปัญหาล่วงหน้า

2. ใช้เทคนิคทางวิศวกรรมเพื่อทำการทำนายคาดการณ์ Predictive Maintenance

ใช้เทคนิค Condition Monitoring และ Predictive Maintenance เช่น การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน (Vibration Analysis), การวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น (Oil Analysis), การตรวจจับเสียงผิดปกติ (Ultrasonic Analysis)

ซึ่งสามารถใช้โมเดล AI และ Machine Learning เพื่อทำนายแนวโน้มการเสียหาย (Predictive Maintenance) ให้แม่นยำยิ่งขึ้นได้อีกด้วยครับ

vibration-monitoring

3. การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด (Eliminate Root Cause of Problem)

ในส่วนนี้ถือว่าสำคัญมากๆนะครับ ในการระบุ Root Cause ของปัญหาให้ถูกต้องว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งต้องใช้ความชำนาญและเข้าใจเครื่องจักรอย่างมาก แม้ว่าเราจะมีข้อมูล Big data หรือ ML, AI อย่างครบถ้วนแล้วก็ตาม เช่น ปัญหา Unbalance, ปัญหา Cooling ไม่พอ หรือเป็นเรื่องของ Material เป็นต้นครับ

หลังจากนั่นเราก็ใช้ศาสตรร์ทางวิศวกรรมเข้ามาแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เราก็สามารถยืดอายุของเครื่องได้หลาย 10 ปีเลยทีเดียวครับ

IoT Machine Industry revolution
IoT Machine Industry revolution

4. การอบรมพนักงาน (Staff Training)

สร้างทีมงานให้มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักร และชิ้นส่วนที่ดูแล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและงานซ่อมบำรุงรักษา และอาจจะเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยี เช่น จัดอบรมและสัมนาเพื่ออัปเดตเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล IoT และ Condition Monitoring เป็นต้นครับ

5. ปรับปรุงและบูรณาการกระบวนการ (Reprocess)

– ปรับกระบวนการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาซ้ำ เช่น ใช้เครื่องจักรอย่างเหมาะสม, ลดการทำงานเกินกำลัง และทำงานร่วมกับแผนกอื่น ๆ เช่น ฝ่ายวิศวกรรมและการผลิต เพื่อวางแผนการซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพที่มากขึ้นครับ

Factorium Banner CMMS

ประโยชน์ของ Proactive Maintenance

  • ลดการหยุดชะงักที่ไม่คาดคิด (Unplanned Downtime)
  • เพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักร (Prolog MTBF)
  • ลดต้นทุนการซ่อมบำรุงระยะยาว (Maintenance Cost Saving)
  • ปรับปรุงความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน (More Safety Workplace)
  • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความน่าเชื่อถือ (Reliability & Integity)

=======================================

หากเพื่อนๆกำลังมองหาระบบ CMMS ที่คุณภาพ มีมาตราฐานสากลระดับโลก ที่สำคัญใช้ฟรี ไม่ต้องโหลดโปรแกรม สามารถใช้ได้ในมือถือ ทั้งระบบ android และ iOS

นายช่างมาแชร์ขอแนะนำโปรแกรม Factorium ระบบ CMMS ยุคใหม่ โปรแกรมซ่อมบำรุงบนสมาร์ทโฟน สำหรับโรงงานยุค 4.0 ครับผม ( www.systemstone.com )

โปรแกรม Factorium โปรแกรมบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงบนสมาร์ทโฟน สำหรับโรงงานยุค 4.0

=======================================

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่