ต้องยอมรับว่าในปีนี้ แนวโน้มอุตสาหกรรมที่มารุนแรงมากที่สุด คือ “Net Zero” แต่หลายๆอุตสาหกรรมอาจจะได้ยินคำนี้บ่อยๆ แล้วก็พยายามหาโครงการมาทำเพื่อบรรลุเป้าหมายกัน แต่จริงๆแล้ว Net Zero คืออะไร ? มีความหมายอย่างไร ? มันส่งผลกระทบอะไรกับสิ่งแวดล้อมของเรา แล้วที่สำคัญที่สุดคือ..ทำไมเราต้องปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ Net Zero กันด้วยหละ ? บทความนี้นายช่างมาแชร์พาไปรับข้อมูลกันครับ
หลายคนคงเริ่มเห็นข่าวต่างๆ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบันที่ค่อนข้างส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้น เช่น อากาศที่ร้อนกว่าปรกติ (ประเทศไทยปีนี้ก็ร้อนทั้งปี), ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล น้ำท่วม หรือสภาพอากาศแปรปวนรุนแรงบ่อยขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักๆมาจากปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) จำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศนั่นเองครับ
ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและมีการร่วมกันตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อที่จะชะลอหรือหยุดปรากฏการณ์โลกร้อนในการประชุมสมัชชาประเทศว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ผู้แทนจากกว่า 200 ประเทศได้เข้าร่วมเพื่อสร้างพันธสัญญาในการวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยมีการตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสและให้พยายามตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยก็ได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะบรรลุเป้า “Carbon neutrality” ภายในปี 2050 และ บรรลุเป้า “Net zero emissions” ภายในปี 2065 นั่นเองครับ
แล้วนิยามของ Carbon Neutrality คืออะไร ?
“Carbon neutrality” หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมา ด้วยวิธีการดูดซับผ่านป่า หรือการดักคาร์บอนด้วยวิธีการอื่น
แล้วนิยามของ Net Zero คืออะไร ?
“Net Zero” หมายถึง เป้าหมายใน “การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเหลือศูนย์”* ซึ่งคำว่าศูนย์ในสมการนี้คือ “ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ที่ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ” หักออก หรือลบด้วย “ปริมาณก๊าซที่ถูกดูดกลับหรือถูกกำจัด (Removed or Offset) ออกจากชั้นบรรยากาศ” จะเท่ากับศูนย์ หรือพูดง่ายๆคือ ปล่อยออกจะต้องเท่ากับดูดกลับ นั่นเองครับ
*บางครั้งจะถูกเรียกว่า “สมดุลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งนี้ net zero emissions คล้ายกับ carbon neutrality แต่เป็นมิติที่กว้างกว่าแค่การปล่อยคาร์บอน คือ พิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น (สามตัวหลัก ได้แก่ CO2 CH4 และ N2O) จึงเห็นได้ว่าความเป็นกลางทางคาร์บอนเป็นเป้าหมายเริ่มต้นสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นอกจากนี้ โดยมาก net zero emissions เป็นเป้าหมายที่ตั้งในระดับประเทศ หรือหากเป็นเป้าหมายระดับองค์กรตามคำนิยามที่เห็นพ้องกันต้องมีการปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตทั้งต้นน้ำปลายน้ำ จึงเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายกว่าความเป็นกลางทางคาร์บอน
ทำไมเราถึงต้องปรับตัวเข้าสู่ “Carbon neutrality” และ “Net Zero” ด้วยหละ
การบรรลุเป้าหมาย Net zero emissions นั้นเป็นเป้าหมายระดับประเทศ โดยแผนกลยุทธทางโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องพยายาม “ลด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอน ผ่านมาตรการต่างๆทางวิศวกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าการปล่อยสุทธิเป็นศูนย์จะใช้มาตรการ “กำจัด” ก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศในระยะยาว
วิธีการบรรลุ Net Zero ในภาคอุตสาหกรรมอาจรวมถึง
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน: ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต โดยการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้
- การใช้พลังงานหมุนเวียน: เปลี่ยนจากการใช้พลังงานฟอสซิล (เช่น น้ำมันและถ่านหิน) ไปสู่พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือพลังงานน้ำ
- การพัฒนาเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage, CCS): ใช้เทคโนโลยีเพื่อดักจับและกักเก็บคาร์บอนที่เกิดจากการผลิต ไม่ให้ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ
- การเปลี่ยนสารทำความเย็น : ให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง
- การรีไซเคิลและใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน: การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วัตถุดิบรีไซเคิล เพื่อลดการผลิตใหม่และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
- การลดของเสียและการกำจัดขยะ: ลดการสร้างของเสียและหาทางนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ
หลายอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ และการขนส่ง เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก การปรับตัวสู่ Net Zero ในภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญ แต่ก็เป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Reference : https://www.pier.or.th/blog/2022/0301/ , https://www.greenpeace.org/thailand/ , https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/
==================================
หาเพื่อนๆกำลังหาวิธีการลด Emission เพื่อก้าวสู่ “Carbon neutrality” และ “Net Zero”
สามารถมาดูในงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ Bangkok RHVAC 2024 and Bangkok E&E 2024
สุดยอดงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่รวมรวบเทคโนโลยี และนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำความเย็น,ระบบระบายอากาศ, เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ จากบริษัทชั้นนำ
.
จากความสำเร็จของงานในครั้งก่อนสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายภายในงานมากถึง 8,500 ล้านบาท
จากการจัดแสดงสินค้า 114 บูธ และมีผู้เข้าร่วมชมมากกว่า 6,500 คน จาก 50 ประเทศ
.
สำหรับงาน Bangkok RHVAC 2024 ครั้งที่ 14 และงาน Bangkok E&E ครั้งที่ 10 นี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 4-7 กันยายน 2567 ภายใต้แนวคิด One Stop Solution for Net Zero Future
.
ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ ภาคเอกชน โดยมีจุดประสงค์ส่งเสริมให้เกิดการเจรจาคู่ค้า ขยายฐานธุรกิจ และส่งออกสินค้าสู่นานาประเทศ
.
พบกันที่ ไบเทค บางนา
วันเจรจาธุรกิจ (Trade Day) : 4-6 กันยายน 2567
สำหรับผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการ ผู้จัดจำหน่าย ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมฯ
วันจำหน่ายปลีก (Public Day) : 7 กันยายน 2567
สำหรับนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป
—————————————–
รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม
Website : https://www.bangkok-rhvac.com/
Inbox : m.me/bangkokrhvac
Email : [email protected]
==================================