“เมทานอล” ในเหล้าเถื่อน อันตรายแค่ไหน?

0
สารเมธิลแอลกอฮอล์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมทานอล จัดเป็นสารเคมีอันตราย
สารเมธิลแอลกอฮอล์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมทานอล จัดเป็นสารเคมีอันตราย

หลังจากที่มีข่าวพบผู้ป่วย “เมทานอล” หรือ “เมทธิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol ; Methanol)” เป็นพิษ 21 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย หลังซื้อ “เหล้าเถื่อน” ไปดื่ม สันนิฐานว่าเกิดจากพิษเมทานอล สำหรับวันนี้ทางนายช่างมาแชร์จะขอมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับแอลกอฮอลชนิดนี้กันนะครับว่าคืออะไร? อันตรายยังไง? แล้วทำไมถึงไปอยู่ในเหล้าได้ ในบทความนี้ไปดูกันครับ

สาร “เมทานอล” (Methanol) คืออะไร?

สารเมทานอล (Methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol) ถือเป็นแอลกอฮอลชนิดหนึ่ง มีสูตรโครงสร้างแบบย่อ CH3OH เป็นลักษณะของเหลวใส ระเหยง่าย มีความเป็นพิษ!! ห้ามกินนะครับ นิยมใช้เป็นสารตัวทำละลาย (Solvent) และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ เมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์จากการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งเมทานอลจะระเหยออกสู่อากาศภายนอก แล้วสลายตัวได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ หากเราเผาเมทานอลกับอากาศ จะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ดังสมการด้านล่างนี้

2CH3OH + 3 O2 → 2 CO2 + 4 H2O

SDS : https://www.rcilabscan.com/

การใช้สาร “เมทานอล” ในทางที่ผิด

ใน “การทำเหล้าเถื่อน” มักมีการนำเอาสารเมทิลแอลกอฮอล์นี้ผสมลงไป ด้วยเพราะราคาถูก!! ทั้งนี้ทั้งนั้น…เหล้าที่ต้มเองซึ่งมักมีส่วนผสมของเมทานอลมักเป็นที่นิยมในหมู่คนยากจนในต่างประเทศเนื่องจากมีราคาถูกกว่า หรือ อาจจะเกิดจากปฏิกิริยาเคมีแล้วเกิดขึ้นก็เป็นไปได้ครับ ซึ่งเมทานอลมีความเป็นพิษสูง แม้รับประทานไปจำนวนไม่มากก็ทำให้เสียชีวิตภายหลังจากการดื่มนั่นเองครับ

กลไกการเป็นพิษของ “เมทธานอล” 

ปริมาณที่เมทธานอลเริ่มเป็นพิษอยู่ที่ประมาณ 100 mg/kg ขนาดที่เป็นพิษรุนแรงจนผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตจะมีค่ามักมากกว่า 60 ml ของ 40% เมทานอล โดยสามารถดูดซึมอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ประมาณ 95% จะถูกกำจัดที่ตับ ซึ่งโดยทั่วไปร่างกายสามารถกำจัด เอทานอล ได้ดีกว่า เมทธานอล 10 เท่า 

ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมง จนไปถึง 3 วัน ถ้าหากมีการดื่ม เมทานอล (Methanol) ร่วมกับ เอทานอล (Ethanol) จะทำให้อาการเริ่มแรกช้าลงไปอีก ผู้ป่วยอาจมีอาการของทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง อาการที่ค่อนข้างจำเพาะได้แก่ พิษทางตา ผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่า ตามัว แพ้แสง เห็นภาพขาวจ้าไปหมด ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และในรายที่เป็นมากอาจมี อาการโคมาและชัก

Methanol

ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม

เมทานอลส่วนใหญ่ นำไปเป็นสารฟอร์มาลดีไฮด์ เพื่อผลิตพลาสติก ไม้อัด สี วัตถุระเบิด และการจัดกลีบผ้าถาวรสารแปรรูปของเมทานอลถูกนำไปผสมกับ LPG เพื่อใช้ในครัวเรือน หรือผสมกับน้ำมันดีเซล ทำเป็นไบโอดีเซล

Factory

Reference : Wikipedia / PPTVHD36

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่